TALK

ศิรษา บุญมา “Redesign the Good Life ด้านการท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี”

5 ตุลาคม 2561… Local Alike และไค นาคายามะ จะร่วมทำงานกับชุมชนบางกะเจ้า โดยคุณไค รับผิดชอบในการทำกิจกรรม Design Thinking ในขณะที่ Local Alike จะใช้เครื่องมือดังกล่าวทำให้ชุมชนเข้าใจศักยภาพตัวเอง และเข้าใจหัวใจของนักท่องเที่ยว

ศิรษา บุญมา ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารประสบการณ์ลูกค้า Local Alikeเป็นหนึ่ง ใน Speaker ที่จะแลกเปลี่ยนมุมมองบนเวที SB’18 BKK ในหัวข้อ How to Design Good Tourism for Bangkachao ของวันที่ 12 ตุลาคม 2561

การท่องเที่ยวกับ Redesign the Good Life มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น หลัง Startup อย่าง Local Alike ลุกขึ้นมาสร้างการตระหนักด้านการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน จนประสบความสำเร็จ และได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นแล้วว่า วิธีคิด Redesign the Good Life นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงการท่องเที่ยวในหลายๆ ด้าน ทั้งการพัฒนาชุมชน ยกระดับคุณภาพชุมชน เพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ลึกซึ้งมากขึ้น พร้อมๆ ไปกับการสร้างการตระหนักรู้ต่อการรักสิ่งแวดล้อม

ศิรษา พูดถึง Redesign the Good Life ด้านการท่องเที่ยวในมุมมองของ Local Alike ว่า มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงด้วยกัน 3 ฝ่าย นั่นคือ ชุมชน Local Alikeที่ทำงานร่วมกันในลักษณะ Co-Creationและนักท่องเที่ยว

“โดยหลักๆ แล้วเราจะทำงานร่วมกับชุมชนเยอะมาก โดยที่เราไม่ได้บอกว่าชุมชนต้องทำยังไง แต่ด้วยบริบทของการพัฒนาชุมชน เราใช้ CBT หรือ Community Based Tourism มาเป็นพื้นฐานเพื่อนำปรับใช้ในการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างเรากับชุมชนและให้ชุมชนได้เข้าใจตัวเอง ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเข้าใจนักท่องเที่ยว และนำเอาความต้องการของนักท่องเที่ยวมาปรับปรุงบริการ และเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับเขา”

ศิรษา อธิบายหลักการของ CBT ที่สามารถ Redesign the Good Life ให้กับการท่องเที่ยวว่า ยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เพราะทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เพื่อให้เขาสามารถจัดการกับชุมชนตัวเองได้ด้วยการพัฒนาการท่องเที่ยว นำมาซึ่งรายได้ที่จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

“พูดง่ายๆ ว่าเราใช้ CBT มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน โดย Local Alike เริ่มจากกระบวนการที่เราเข้าไปรู้จัก หรือทำงานร่วมกันกับชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันก่อนว่า การท่องเที่ยวมีกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เมื่อชุมชนเข้าใจแล้ว เขาก็จะเลือกว่าจะ Redesign การท่องเที่ยวของตัวเองในแบบไหน”

ในกรณีการท่องเที่ยวบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ Local Alike ถูกรับเชิญมาพร้อมกับไค นาคายามะ เพื่อร่วมทำงานกับชุมชนบางกะเจ้า โดยไค รับผิดชอบในการทำกิจกรรม Design Thinking ในขณะที่ Local Alike จะใช้เครื่องมือดังกล่าวทำให้ชุมชนเข้าใจศักยภาพตัวเอง และเข้าใจหัวใจของนักท่องเที่ยว

“เพราะ Ideal ของหลักการ Design Thinking คือ การคิดถึงคนใช้งานก่อนการตัดสินใจออกแบบ ดังนั้นการที่เราดึงชุมชนบางกะเจ้าเข้ามา ซึ่งชุมชนทำการท่องเที่ยวเองอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ร่วมมือกันทั้งชุมชน แต่เรามองว่า Design Thinking จะดึงทุกภาคส่วนของชุมชนมาทำความเข้าใจร่วมกันว่าพวกเขามีศักยภาพมากพอที่จะออกแบบการท่องเที่ยวของตัวเองหรือออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวยังไงดี เมื่อตกผลึกเพื่อเข้าใจตัวเองแล้ว ก็มามองพิจารณาในมุมนักท่องเที่ยวว่า ใครเป็นเป้าหมายแล้วเขามองหา หรือมีเป้าหมายในการมาเที่ยวยังไง ซึ่งถ้ามองในเชิงคอนซูเมอร์มันเป็นฐานนักท่องเที่ยวที่กว้างมาก แต่ละคนต้องการไม่เหมือนกันฉะนั้นเราควรโฟกัสเฉพาะนักท่องเที่ยวที่คิดว่าเหมาะสมกับชุมชนว่าเป็นใครเขาต้องการอะไร มีเป้าหมายอะไรในการมาบางกะเจ้า เพื่อใช้ในการออกแบบกิจกรรม และเส้นทางการท่องเที่ยว ผ่านอัตลักษณ์ชุมชน และ Storytelling”  

ที่ผ่านมา Local Alike ใช้Design Thinking เป็นพื้นฐานเวิร์คช้อป โดยใช้เวลาในการทำงานร่วมกับชุมชนไม่ต่ำกว่า 4-6 เดือน

“ที่เราต้องใช้เวลานานมากขนาดนั้น หลักๆ แล้วหมดไปกับกระบวนการแรกที่เรียกว่า ชุมชนสัมพันธ์ ด้วยความที่เราเน้นแนวคิด CBT มันคือการพัฒนาซึ่งการพัฒนาในที่นี้หมายถึงเราวางตัวเราเป็น Facilitatorให้กับชุมชน ถ้าชุมชนอยากทำท่องเที่ยว เราต้องสร้างความเข้าใจเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเชิงลบเชิงบวกกันก่อน หลังจากนั้นมาดู Stake Holder ในการทำท่องเที่ยวว่าเป็นใครบ้าง แล้วจึงทำ Design Thinking ,Business Model Canvas และ Storytelling สิ่งต่างๆ เหล่านี้มันค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปเป็นสเต็ป ในมุมของชุมชนมันเป็นวิธีการที่ทำให้เขาเข้าใจตัวเองมากขึ้น เมื่อเข้าใจแล้วก็สามารถตีโจทย์ออกมาเป็นโปรดักท์ แล้วพัฒนาโปรดักท์ของตัวเองขึ้นมาเรื่อยๆ จึงมีขั้นบันไดที่ต้องใช้เวลานานอยู่เหมือนกันในการมองทุกอย่างรอบด้าน เพราะอย่าลืมว่า เวลานักท่องเที่ยวไปหนึ่งครั้ง ย่อมมีหลายองค์ประกอบทั้งอาหาร ที่พัก การขนส่ง และไกด์นำทางท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละส่วนต้องอาศัยความร่วมมือในชุมชนค่อนข้างสูง สิ่งที่เราทำไปเราหวังว่าชุมชนได้มีการพูดคุยกัน และทำให้ชุมชนแข็งแรงมากขึ้นด้วย”

ศิรษา มีความเชื่อว่า Sustainable Lifestyle สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ด้วยวิธีง่ายๆ คือ เริ่มจากตัวเอง

“เวลาที่ทุกคนไปท่องเที่ยว ต้องเข้าใจก่อนว่า เราไปในฐานะนักท่องเที่ยว เรามีเป้าหมายอะไร โอเคส่วนใหญ่ไปเพื่อพักผ่อน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมว่าเรามีส่วนในการสร้างผลกระทบ เช่น ขยะ และพลาสติก ซึ่งเราสามารถแก้ปัญหานี้ด้วยตัวเองเช่น ใช้กระติกน้ำ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ Eco Friendly เพื่อให้การท่องเที่ยวเกิดความยั่งยืน เพราะการท่องเที่ยวเวลาเราไป ไม่ใช่แค่กิน หรืออยู่กับชุมชน แต่เรายังไปใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเขาด้วย เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าเราใช้ทรัพยากรอะไรไปบ้าง แล้วมีผลเสียยังไง เราก็จะรู้วิธีที่จะรักษา เพื่อให้สถานที่ที่เราไปเที่ยวให้คงอยู่สภาพสมบูรณ์ต่อไป”

กิจกรรมท่องเที่ยวบางส่วนของ Local Alike

สุดท้ายนี้ ศิรษา มี Tips ดีๆ สำหรับชุมชนใหม่ๆ ที่ต้องการพัฒนาชุมชนด้วยการท่องเที่ยวว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่าการพักผ่อน เพราะทำให้นักท่องเที่ยวมีประสบการณ์อย่างลึกซึ้ง เพราะได้คุยกับชุมชน ในขณะเดียวกันชุมชนก็ได้รู้จักศักยภาพชุมชนของตัวเอง และ Represent ในสิ่งที่ชุมชนเป็น

“มันเป็นเครื่องมือทั้งในแง่การอนุรักษ์การเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องกับชุมชนนั้น ๆ ทำให้ชุมชน และนักท่องเที่ยวรู้จักกัน ซึ่ง Tips ของการทำท่องเที่ยวในลักษณะนี้ง่ายมาก คือเปิดใจกว้างๆ แล้วฟังกันทั้ง 2 ฝั่ง”

เรื่องเกี่ยวข้อง

ดั่งใจถวิล อนันตชัย “จากผลสำรวจ เราจะ Redefine อะไรก็ตาม แต่ละคนมองเป็นเรื่องของตัวเอง ไม่มีภารกิจร่วม ดังนั้น สิ่งที่มองจ ะRe อะไรก็ตามแต่ สิ่งสำคัญคือตัว R และตัว E”

อเล็กซ์ เรนเดล “ความยั่งยืนไม่ได้เกิดจากทิ้งขยะให้เป็นที่ แต่เป็น Lifestyle ต้อง Redesign สิ่งใหม่ๆให้กับโลกนี้”

คำตอบระดับโลก Redesign the Good Life @ SB’18 Bangkok บางกะเจ้า 

You Might Also Like