NEXT GEN

เด็กเก่ง Online อาจมีอันตราย เพราะ “ไร้เดียงสา” คุณช่วยลูกคุณได้

25 กันยายน 2562…ถึงแม้ว่าเด็กและเยาวชนจะเป็นช่วงวัยที่มีความสามารถอย่างเหลือล้นในการใช้สื่อไอทีได้อย่างคล่องแคล่วมากกว่ารุ่นพ่อแม่ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะมีความรู้ ทักษะที่จะใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม  ปลอดภัยสำหรับตัวเองในปัจจุบันและอนาคต

หรือแม้แต่พ่อแม่ผู้ปกครองเอง จะแน่ใจได้อย่างไรว่า

-ข้อมูลบนออนไลน์ในปัจจุบันน่าเชื่อถือได้มากแค่ไหน?
-ควรยินยอมให้ผู้อื่นโพสต์ภาพลูกของตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่?
-เข้าใจความแตกต่างระหว่างการพูดหยอกล้อและการพูดทำร้ายจิตใจหรือเปล่า?
-จะแน่ใจได้อย่างไรว่า บุคคลที่สามารถพึ่งพาได้เมื่อลูกมีปัญหาไม่สบายใจคือตัวพ่อแม่ผู้ปกครองเอง?

ดังนั้น ความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ของเด็กและเยาวชน จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เพราะจากผลสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 ของศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ (COPAT) โดยกลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 9-18 ปีจากทั่วประเทศไทย พบว่า

-68.07 % เด็กๆ เผชิญกับความเสี่ยงทางออนไลน์ ทั้งเคยพบเห็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
-46.11% เคยถูกกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์
-15.97% เคยนัดพบกับเพื่อนออนไลน์

คุณรู้จักลูกคุณดีแค่ไหน?…คำตอบคุณเหมือน หรือแตกต่างจากคลิปนี้อย่างไร?

The Corporate Citizen

ที่กล่าวข้างต้น คือโอกาสของ Digital Resilience หรือภูมิคุ้มกันจากภัยร้ายในโลกออนไลน์ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่

1. Safe “ปลอดภัย” – เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย รู้จักปกป้องตนเอง ในขณะเดียวกันก็ไม่สร้างความเสี่ยงและภัยร้ายแก่ผู้อื่น

2. Savvy “สร้างสรรค์” – เด็กและเยาวชนจะต้องรู้วิธีแยกแยะโอกาสและความเสี่ยง มีความสามารถในการวิเคราะห์ ตัดสินใจเลือกใช้ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตของตนเอง

3. Social “สร้างมิตร” – เด็กและเยาวชนจะต้องสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมืออย่างไม่สิ้นสุด รวมไปถึงเรียนรู้ที่จะมีความเคารพต่อผู้อื่นในฐานะที่เป็นพลเมืองโลกอินเทอร์เน็ตร่วมกัน

ในฐานะ Corporate Citizen ในเมืองไทย “ดีแทค” ภายใต้ความร่วมมือกับเทเลนอร์ กรุ๊ป และ Parent Zone ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวจากประเทศอังกฤษ จึงพัฒนา SafeInternetForKid.com เป็นแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่คุณครูและพ่อแม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสอนเด็กและเยาวชน ให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกัน ก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อปกป้องกันตนเองจากความเสี่ยงในโลกออนไลน์

อเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า SafeInternetForKid.com ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างทักษะให้เยาวชนสามารถปรับตัวและมีภูมิคุ้มกันบนโลกออนไลน์ (Digital Resilience) เพื่อให้เยาวชนสามารถแยกแยะความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ได้ , รู้วิธีการขอความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม, สามารถใช้ประโยชน์และสร้างโอกาสจากการใช้อินเตอร์เน็ตได้ และสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม หากตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นเหยื่อในโลกออนไลน์

ในโอกาสนี้ ดีแทค ยังได้สร้างเครือข่ายโดยจับมือกับภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ SafeInternetForKid.com เกิดขึ้นในวงกว้าง โดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ในการแนะนำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และการจัดทำค่ายเยาวชน เพื่อสนับสนุนให้เด็กมีทักษะความเข้าใจในการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) พร้อมกับการมีภูมิคุ้มกันต่อภัยออนไลน์ต่างๆ ที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผ่านกลไก Digital Manpower Fund

 

The Partnerships

อเล็กซานดรา ไรช์ ขยายความต่อถึง SafeInternetForKid เป็นความร่วมมือระหว่างดีแทค ภายใต้เทเลนอร์ กรุ๊ป และ DEPA ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ถูกนำไปใช้ในหลายประเทศ รวมในเทเลนอร์ ฮังการี

“ดิฉันเคยเป็นซีอีโออยู่ที่ฮังการี เพราะเราตระหนักดีว่าเป็นความรับผิดชอบของบริษัทในการบริการด้านอินเทอร์เน็ต ที่จำเป็นต้องให้ความรู้กับน้อง ๆ ในการช่วยเหลือ และป้องกันความเสี่ยงในโลกออนไลน์ควบคู่ไปกับ Digital Literacy ซึ่งเราทุกคนก็รู้ว่าเด็กและเยาวชน ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน เพราะฉะนั้นเขาต้องมีภูมิคุ้มกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งเราจะทำเรื่องนี้อย่างเป็นระบบมากขึ้น”

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า ความร่วมมือแบบนี้ ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมภาครัฐ พยายามหาพาร์ทเนอร์เอกชนที่มีแพลทฟอร์มอยู่แล้ว ประยุกต์ใช้ในเมืองไทย เพื่อให้เกิด Impactในสังคม

“เมื่อแพลตฟอร์มนี้เกิดแล้ว จะต้องถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยคุณครู เป็น Key Factor ที่สำคัญ ดีป้าทำงานสอนกับครูหลาย ๆ เรื่อง เราจะใช้เครือข่าย ทางตรงจากดีป้าเอง นอกจากนี้เป็นเครือข่ายพันธมิตรใหม่ ๆ ทั้งมูลนิธิ สมาคม หรือล่าสุดที่จะมีการจัดประชุมกับสมาคมครูแห่งประเทศไทย เมื่อเขาทราบและรู้จะไปใช้ต่อกับเด็ก ๆ เหล่านั้น คาดว่าการขยายผลการทำงาน จะต้องเป็นในเชิง Social Impact มากกว่า”

ขณะเดียวกัน ดีแทคยังได้จับมือกับบริษัท อินสครู จำกัด (Inskru) สตาร์ทอัพที่มุ่งศักยภาพคุณครู ในการเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ SafeInternetForKid ผ่านการอบรมครูและนักเรียนจาก 400 โรงเรียนทั่วประเทศ คาดว่าจะมีเด็กกว่า 50,000 คนที่ได้รับประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ดังกล่าวในปีนี้

– ครูส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจ หรือคำนิยามเกี่ยวกับความเสี่ยงในโลกออนไลน์ร่วมกัน ครูแต่ละคนจะใช้ค่านิยมส่วนตัวหรือ
ประสบการณ์ในการตัดสินว่าพฤติกรรมในโลกออนไลน์หนึ่ง ๆ ของนักเรียนถือเป็นความเสี่ยงหรือไม่
– ครูและสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีรูปแบบหรือหลักปฏิบัติมาตรฐาน เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงจากการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไม่เหมาะสม
– พฤติกรรมความเสี่ยงในโลกออนไลน์ของเด็กนักเรียนที่ครูพบมากที่สุดคือ การใช้คำหยาบคายในโซเชียลมีเดีย (100%) ตามด้วยการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (68%) และการหลงเชื่อและแชร์ข่างปลอม (50%)
– ครูกว่า 90% เชื่อว่าการสอนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและภัยร้ายในโลกออนไลน์เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของครู
– แต่มีครูเพียง 57% เท่านั้น ที่มีความมั่นใจว่าตนมีทักษะและความรู้เพียงพอที่จะสอนเรื่องดังกล่าว
– 95% ของครูที่ตอบแบบสอบถามต้องการการสื่อสารและการเข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มทักษะในการสอนเรื่อง Digital Resilience
– 90% ของครูที่ตอบแบบสอบถามต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สามารถสอนเรื่อง Digital Resilienceอย่างมีประสิทธิภาพ
– 80% ของครูต้องมีแรงจูงใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางอาชีพ

อย่างไรก็ดี ดีแทคได้วางเป้าหมายเพื่อเข้าถึงเด็กและเยาวชนมากกว่า 4 ล้านคนเพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยในปี 2564 ผ่านโครงการ Young Safe Internet Leader Camp เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ดีแทค สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และมูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ในการพัฒนา Young Safe Internet Leader Camp ให้เป็นแพลตฟอร์มสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างกลไกรับมือความเสี่ยงออนไลน์ เหมาะสำหรับมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงวัย 12-15 ปี) เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองสู่การเป็นแกนนำเยาวชนที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็น สามารถนำไปต่อยอดในการจัดการกับความเสี่ยงในการใช้อินเทอร์เน็ตประจำวัน และยังให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นได้

เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมในแพลตฟอร์มนี้ จะมีโอกาสทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อสร้างแผนกิจกรรมและโครงการจัดการปัญหาอันเนื่องมาจากความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ที่ส่งผลกระทบในโรงเรียนและชุมชนของตนเอง

นอกจากนี้ Young Safe Internet Leader Camp ยังมีจุดประสงค์เพื่อสร้างทัศนคติและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสำคัญของทักษะเกี่ยวกับการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (Data-Driven mindset) ซึ่งเป็นทักษะดิจิทัลจำเป็นที่คนทำงานในอนาคตต้องมี โดยเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเพื่อการแสดงผลด้วยภาพ (Data Visualization) และการใช้ข้อมูลเล่าเรื่อง (Data Storytelling) โดยค่ายจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2562 ณ dtac house อาคารจัตุรัสจามจุรี

อเล็กซานดรา ไรช์ กล่าวในตอนท้ายว่า ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” ปี 2563 และอีกไม่ถึง 20 ปี ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยสูงสุด” ในขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์รวมอยู่ที่1.48 ต่ำกว่าระดับทดแทนมาตรฐานถึง 0.6 นั่นหมายความว่าเด็ก และเยาวชนในปัจจุบันจะกลายเป็นกลุ่มแรงงานที่มาพร้อมกับภาระอันใหญ่หลวง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เติบโต ทัดเทียมกับต่างประเทศ และตามสถิติ จะสามารถคาดการณ์ได้ว่า เยาวชน 2 คนจะต้องทำงานเพื่อเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 1 คน เปรียบเทียบกับปัจจุบันที่เยาวชน 5 คนทำงานเพื่อดูแลผู้สูงอายุ 1 คน

“ดังนั้นเราจึงต้องสร้างศักยภาพให้แก่เด็กและเยาวชนอย่างเร่งด่วนนับจากวันนี้ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอสำหรับการทำงานในอนาคต”

 

You Might Also Like

No Comments

Leave a Reply