TALK

อุกฤษฏ์ วงษ์ทองสาลี “ของที่มีพอหรือเปล่า ถ้าพร่องต้องเติม ถ้าเกินต้องปัน ถ้าพอก็ต้องรู้จักหยุด”

7 ตุลาคม 2561… “ความพอเพียง” เป็นประโยคที่เราคุ้นหู และได้ยินกันเป็นประจำ แต่ “พอแล้วดี The Creator”เป็นกลุ่มคนที่นำประโยคดังกล่าวมาปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า เมื่อเราเข้าใจคำว่า “พอ” แล้วต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์จะสามารถสร้างคุณค่าที่ “ดี” ให้กับตนเองและสังคมได้

อุกฤษฏ์ วงษ์ทองสาลี ผู้จัดการโครงการ พอแล้วดี The Creator นำทีม พอแล้วดี The Creator ทั้ง 3 รุ่น แลกเปลี่ยนมุมมองบนเวที SB’18 BKK ในช่วง Special Session on Porlaewdee ของวันที่ 12 ตุลาคม 2561

อุกฤษฏ์ เล่าถึงโครงการ พอแล้วดี The Creator ก้าวสู่รุ่นที่ 3 แล้ว และมีความหลากหลายมากขึ้น จากรุ่นแรกๆ ที่ยังเป็นรุ่นแห่งการเรียนรู้ และทดลอง รุ่นต่อมาเริ่มเกิดพลังความร่วมมือมากขึ้น จนมาถึงตอนนี้เข้าสู่รุ่นที่ 3 แล้ว มีกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการมาจากสาขาอาชีพต่างๆ เช่น งานศิลปหัตถกรรม ผู้ผลิตทางการเกษตร ที่พัก โรงแรม โฮสเทลฟาร์มสเตย์จนไปถึง Agriculture Retail

“เราได้จัดทำศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นจุดให้ได้เผยแพร่องค์ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปด้วย เพราะเป็น Touch Point ที่ดี ทำให้เกิดความหลากหลายในเชิงกลุ่มธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันเราได้มีการจัดแบ่งกลุ่มอาชีพตาม Category ”

ล่าสุด “พอแล้วดี The Creator” ได้มีส่วนเข้าไป Redesign the Good Life ในชุมชนบางกระเจ้า ตามโจทย์ที่ต้องการทำให้ชุมชนนี้เป็น Sustainable Brand (SB) ด้วยการตั้งโจทย์ที่จะเป็น SB เพื่อทำให้เกิดแบรนด์บางกระเจ้า จะทำอย่างไรช่วยให้ชุมชนเห็นคุณค่าในแง่มุมอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น เหมือน Redesign Thinking the Good Life ในบางกระเจ้า บวกกับวัตถุประสงค์ของพอแล้วดี The Creator ต้องการให้คนท้องถิ่นกลับมาบำรุงพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง

ปีนี้ พอแล้วดี The Creator ทำเวิร์คช้อป “พอแล้วดีที่บางกระเจ้า” โดยเชิญชวนคนบางกระเจ้า ทั้งคนที่อยากกลับมา หรือคนที่อยู่ที่นั่นอยู่แล้วแต่อยากพัฒนาบ้านเกิดตัวเอง ผ่านเวิร์คช้อป 3 เรื่องด้วยกัน โดยทั้งหมดถูกเชื่อมโยงให้เข้ากับการท่องเที่ยว

เวิร์คช้อปแรกเกี่ยวกับที่พักอาศัย (Accommodations)โดยเข้าไปสอนให้คนบางกระเจ้ารู้จักกับการทำ Segmentation ซึ่งในที่นี้หมายถึงการวางกลุ่มเป้าหมายในจริตของคนบางกระเจ้า ผู้ประกอบการ และสิ่งแวดล้อม

“เราคงไม่สามารถออกแบบที่พักอาศัยให้เหมาะกับนักท่องเที่ยวทุกคนที่มาที่นี่ แต่เราควรวางกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่เหมาะกับไลฟ์ไตล์ และสิ่งแวดล้อมของบางกระเจ้า เพื่อออกแบบที่พัก และเส้นทางการท่องเที่ยวให้เหมาะสมสำหรับคนบางกลุ่ม เวิร์คช้อปนี้จะทำให้คนในชุมชน และผู้ประกอบการเกิดมุมมองใหม่ๆ ผ่านกระบวนการ Redesign Thinking”

เวิร์คช้อปต่อมาอยู่ในหัวข้อ “จากบ้านสู่บ้าน” จะเป็นการอบรมให้คนในชุมชนรู้จักการต่อยอด โดยนำเอาของที่มีอยู่ในบางกระเจ้าหยิบขึ้นมาพัฒนาให้เป็นสินค้าที่น่าสนใจ เวิร์คช้อปนี้จึงเท่ากับการ Redesign Ingredient ของวัตถุดิบต่างๆ ในท้องถิ่นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้จะมีกลุ่ม พอแล้วดี The Creator รุ่นต่างๆ ที่ผลิตและพัฒนาสินค้าอยู่แล้ว เช่น ทำศิลปหัตถกรรม และบรรจุภัณฑ์ มาร่วมกันทำเวิร์คช้อปร่วมกับชุมชนด้วย

อีกทั้งจากการไปทำการบ้านมาก่อนหน้านี้ อุกฤษฏ์ เล็งเห็นว่า “ลูกจาก และใบจาก” ที่มีอยู่ดาษดื่นในบางกระเจ้าเป็นวัตถุดิบที่มีคุณค่า และสามารถทำให้โดดเด่นได้

“สาเหตุที่เราต้องหาคุณค่าจากท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้า เพราะเราต้องการให้ชุมชนสามารถสะท้อนตัวตน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับการท่องเที่ยว ไม่อย่างนั้น ของที่ขายที่นี่ก็จะมาจากสำเพ็ง หรือจตุจักรที่นำวางขายที่บางกระเจ้า ดังนั้นผมคิดว่า ต้องหาวิธี Redesign ให้คนในชุมชนมองเห็นคุณค่าของที่มันมีอยู่เดิม แล้วทำให้มันเกิดเป็นมูลค่าได้”

เวิร์คช้อปสุดท้ายจะถูกเชื่อมโยงกับ “อาหาร” โดยนำ “ลูกจาก และใบจาก” มาเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกัน
เพราะเป็นของพื้นบ้านที่มีอยู่แล้ว และมักขึ้นตามน้ำกร่อย นอกจากนี้ลูกจากยังมีคุณสมบัติอื่นที่ไม่ใช่แค่ผลิตผลอย่างเดียว แต่ยังเต็มไปด้วย Story เกี่ยวกับการดำรงอยู่ ช่วยในเรื่องการกัดเซาะตลิ่งด้วย

อุกฤษฏ์ ย้ำเวิร์คช้อปต่างๆ เป็นการนำเอา พอแล้วดี The Creator ทุกๆ รุ่นมาแชร์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนชุมชนด้วยกัน และคงไม่หยุดอยู่แค่นี้ เพราะยังมีแพลนที่จะให้น้องๆ พอแล้วดี The Creator รุ่นถัดไปลงมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

“ผมคิดว่าวิธีการนี้จะทำให้เกิด Sustainable Lifestyle ,Sustainable Brand และ Sustainable Society เพราะทำให้ทุกคน Rethinking Process โดย Tools ที่สำคัญคือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเดียง และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy ที่ถูกนำใช้ในการพัฒนาสินค้าตัวเองให้โดดเด่น ทั้ง 2 เรื่องนี้เปรียบเสมือนพาหนะให้เราไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริงได้”

เหนือสิ่งอื่นใด เชื่อว่าทุกคนจะได้เห็น Sustainability ในมิติอื่นๆ เพิ่มขึ้น เพราะหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือศาสตร์พระราชา และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ไม่เพียงให้บริษัท หรือผู้ประกอบการร้านค้ายั่งยืนอย่างเดียว แต่ยังสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมด้วย

“การเติบโตแบบยั่งยืน ไม่ใช่การเติบโตแบบรวยไม่เลิก แต่สิ่งที่เราควรทำคือ ต้องทำให้พาร์ทเนอร์ที่เป็น Stakeholder ของเรายั่งยืนด้วย นี่คือ แก่นสำคัญของ Sustainable Lifestyle แต่ความสำเร็จดังกล่าว ต้องเริ่มต้นทางที่ดีด้วยการรู้จักตัวเองก่อน วิเคราะห์ธุรกิจของตัวเอง โดยอาจจะเข้าไปหาความรู้ได้ที่ porlaewdeethecreator.com หรืออาจจะอ่านหนังสือ “สร้างแบรนด์อย่างพอแล้วดี” ที่กำลังจะเปิดตัวในวันนี้ 12 ตุลาคมนี้มาเป็นไบเบิ้ลในการเดินหน้าธุรกิจของเขาได้เลย”

อุกฤษ์ ย้ำในตอนท้ายว่า หากเขาต้องรู้ว่าของที่เขามีมันพอหรือเปล่า ถ้าพร่องต้องเติม ถ้าเกินต้องปัน ถ้าพอก็ต้องรู้จักหยุด แล้วจะรู้ว่า Redesign thinking the good life ของตัวเองนั้น ต้องใช้ทิศไหนในการเดินทาง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ศรีภัทรา จันทร์แสงสุก “เพียงคนในครอบครัวนัดกันอาทิตย์ละ 1 มื้อ ล้อมวงกินข้าวมีแกงจืด ผัด ของทอด น้ำพริกและผักจิ้ม ก็เกิดRedesign the Good Life”รู้ว่า Redesign thinking the good life ของตัวเองนั้น ต้องใช้ทิศไหนในการเดินทาง 

ศิรษา บุญมา “Redesign the Good Life ด้านการท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี”

ดั่งใจถวิล อนันตชัย “จากผลสำรวจ เราจะ Redefine อะไรก็ตาม แต่ละคนมองเป็นเรื่องของตัวเอง ไม่มีภารกิจร่วม ดังนั้น สิ่งที่มองจ ะRe อะไรก็ตามแต่ สิ่งสำคัญคือตัว R และตัว E”

อเล็กซ์ เรนเดล “ความยั่งยืนไม่ได้เกิดจากทิ้งขยะให้เป็นที่ แต่เป็น Lifestyle ต้อง Redesign สิ่งใหม่ๆให้กับโลกนี้”

คำตอบระดับโลก Redesign the Good Life @ SB’18 Bangkok บางกะเจ้า 

You Might Also Like