TALK

ศรีภัทรา จันทร์แสงสุก “เพียงคนในครอบครัวนัดกันอาทิตย์ละ 1 มื้อ ล้อมวงกินข้าวมีแกงจืด ผัด ของทอด น้ำพริกและผักจิ้ม ก็เกิดRedesign the Good Life”

6 ตุลาคม 2561…ความสุขที่กลับไปหา The Good Old Day ด้วยอาหารไทย สขภาพดี กินตามฤดูกาล ถึงเวลาแล้วรึยังที่เราต้องกลับมา Redesign the Good Life ให้กับเรื่องอาหารการกินกันบ้าง ?

ศรีภัทรา จันทร์แสงสุก คนบางกะเจ้าโดยกำเนิด และเป็นเชฟอยู่ในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นผู้นำเสนออาหารท้องถิ่นบางกะเจ้า สำหรับผู้ร่วมงาน SB’18 BKK ระหว่า 12-13 ตุลาคม 2561

ด้วยโครงสร้างสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นครอบครัวเดี่ยว ชีวิตคนรุ่นใหม่ที่มักเลือกอาศัยอยู่ตามตึกสูง ร้านสะดวกซื้อที่ดกยิ่งกว่าดอกเห็ด กับวิถีชีวิตที่เร่งด่วน ทำให้หลายคนเลือกที่จะกินเมนูอาหารจานเดี่ยว เพราะทั้งง่าย สะดวก และประหยัด จนละเลยในการให้ความสำคัญกับคุณภาพการกินที่สมดุล

ศรีภัทรา เข้าใจว่าโลกเราไม่เหมือนเดิม ตามการเปลี่ยนแปลงในระบบโลกทุนนิยม ทุกคนมีชีวิตที่เร่งรีบ และมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป คนส่วนใหญ่ย่อมหันไปกินอาหารจานเดี่ยวตามวิถีฝรั่ง

แต่ใช่ว่าเราจะออกแบบชีวิต หรือ Redesign the Good Life ในด้านอาหารไม่ได้ !

อาจจะไม่ต้องขนาดว่าเปลี่ยนมากินอาหารไทยที่มีลักษณะการกินเป็นสำรับทุกมื้อ แต่กินแค่เพียงสัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้งก็ยังดี

“เพราะอาหารไทยเป็นอาหารที่ถูกดีไซน์มาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เราแค่ Redesign ชีวิตของเราด้วยการกินอาหารเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้ หรือ Back to Basic เท่านั้นเอง”

ศรีภรัทรา ขยายความว่า ความจริงแล้วเราควรตระหนักได้ว่า เราโชคดีแค่ไหนที่ได้เกิดมาในดินแดนสุวรรณภูมิ ค่าที่ว่าผืนแผ่นดินนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร บ้านเรามีทั้งอาหารท้องถิ่น และอาหารตามฤดูกาลในทุกภาคทุกจังหวัดมีคุณภาพดีอยู่แล้ว ภาพของคนในครอบครัวนั่งล้อมวงกันกินข้าวที่ปรุงขึ้นเป็นสำรับอันประกอบไปด้วยแกงกะทิ แกงจืด ผัดเผ็ด ของทอด น้ำพริกและผักจิ้ม วัตถุดิบที่มีความเป็นยา และเมนูทุกอย่างล้วนถูกออกแบบมาแล้วว่าทั้งครบรส และคุณค่าทางโภชนาการในหนึ่งสำรับ

นอกจากนี้แล้ววิถีของการกินอาหารไทยในอดีต ยังแฝงไปด้วยภูมิปัญญา คนไทยมีชีวิตในวิถีแห่งการเกษตรมีเวลาที่แน่นอน ไม่ต้องเผชิญกับรถติด จึงกินอาหารเป็นมื้อๆ ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม บวกกับเวลามันบังคับให้กินอาหารก่อนที่จะมืด ไม่มีร้านสะดวกซื้อให้ไปหาซื้อขนมกินเล่น ดังนั้นพอเช้ามาก็กินข้าวสร้างพลังงานก่อนไปทำนาทำสวน แล้วการนั่งล้อมวงกินข้าวบนพื้นยังทำให้กินอาหารได้น้อย ประกอบกับการที่ไม่กินมันมาก คนสมัยก่อนจึงไม่เป็น“กรดไหลย้อน”

“หากคุณอยู่ในเมืองคนเดียว ก็แค่หาเวลาอาทิตย์ละครั้งกลับบ้านไปหาพ่อแม่เพื่อกินข้าวด้วยกัน หรือหากคนที่ทำอาหารไม่เป็น ไม่เป็นไร เราก็เชื่อมโยงวัฒนธรรมสากล อาจจะนัดกับเพื่อนๆ หาอาหารมากินร่วมกัน คนหนึ่งหาน้ำพริก อีกคนหาของทอด อีกคนทำแกง หรือยำ แต่ละคนร่วมกันดีไซน์ก่อนมาร่วมกันกินข้าว ดิฉันว่ามันได้ทั้งความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของคนในครอบครัว พี่น้อง และสังคม มันเป็นความสุขอย่างหนึ่ง”

ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการ Redesign the Good Life ด้วยการกินอาหารไทย ยังเป็นการเรียนรู้เรื่องสังคมด้วยว่าแต่ละฤดูเราควรกินอาหารอะไร ที่ผ่านมาคนโบราณกินอาหารด้วยความฉลาด ฤดูฝนก็กินผักกะเฉด สายบัว ผักอวบน้ำ กินปลา พอฤดูหนาวก็จะกินของดอก เช่น สะเดา ขี้เหล็ก ดอกแค หัวปลี ส่วนฤดูแล้ง อยู่ในช่วงทำนาทำสวน คนไทยจึงทำข้าวแช่ที่ให้ธาตุเย็น เมื่อก่อนข้ามแช่ ไม่ได้หรูเหมือนความเข้าใจในตอนนี้ว่าต้องเป็นอาหารชาววัง เมื่อก่อนมักทำหมูแห้ง ปลาเค็ม หรือเนื้อแห้งเอามาผัดกับน้ำตาลทุกอย่าง เป็นเสบียงกลางที่อยู่ในทุกครอบครัว

“จริงๆ คนไทยมีดีไซน์ในการทานอาหารอยู่แล้ว เพราะบ้านเราอุดมสมบูรณ์ แต่ Redesign ก็คือการกลับไปหาสิ่งที่เราเคยมีอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์จนตัวเองลำบากขนาดต้องหิ้วปิ่นโตทุกวัน เพียงแค่ใช้เวลากินข้าวด้วยกันมื้อหนึ่ง ทุกอย่างมันเป็นคุณภาพหมด ทั้งอาหาร การจัดจาน คุณค่าทางอาหาร และครบรสกว่า สุดท้ายแล้ว Redesign the Good Life ด้วยการกินอาหารไทย มันคือความสุขในการกลับไปหา The Good Old Day”

ในฐานะเชฟ และคนบางกะเจ้า ศรีภัทรา อยากให้การท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้ากลับไปค้นหาเสน่ห์ของบางกะเจ้าในยุค 30 ปีก่อน ที่นี่เป็นพื้นที่สีเขียวด้วยเกษตรกรรมชั้นเลิศ และด้วยความที่เป็นเขตเดลต้าปากน้ำ ดินจึงมีลักษณะทั้งจืดและค็มปนกัน ทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ เช่น กล้วยน้ำหว้า และมะม่วงน้ำดอกไม้เขียวที่ให้รสชาติหวานสนิท หรือต้นยอที่มีใบไม่ขมเหมือนที่อื่น เป็นต้น

“อยากเห็นวันวานที่เป็นเสน่ห์ของบางกะเจ้ากลับคืนมา หรืออาจจะมีสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญหาท้องถิ่นคนบางกระเจ้า เป็นต้น อย่างสมัยก่อนที่นี่มีใบบัว ใบบอน ใบสาเกที่มีขนาดใหญ่ใส่ของกินได้ หากนำของท้องถิ่นมาใช้ จะทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกว่ามาถึงที่จริงๆ ดังนั้นคุณต้องสะท้อนตัวตนของชุมชนที่เกิดมาแบบนั้น หาเอกลักษณ์ตัวตนให้เจอ แล้วเอามาเป็นกิมมิคที่สร้างคุณค่าให้กับการท่องเที่ยวบางกระเจ้า”

เรื่องเกี่ยวข้อง

ศิรษา บุญมา “Redesign the Good Life ด้านการท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี”

ดั่งใจถวิล อนันตชัย “จากผลสำรวจ เราจะ Redefine อะไรก็ตาม แต่ละคนมองเป็นเรื่องของตัวเอง ไม่มีภารกิจร่วม ดังนั้น สิ่งที่มองจ ะRe อะไรก็ตามแต่ สิ่งสำคัญคือตัว R และตัว E”

อเล็กซ์ เรนเดล “ความยั่งยืนไม่ได้เกิดจากทิ้งขยะให้เป็นที่ แต่เป็น Lifestyle ต้อง Redesign สิ่งใหม่ๆให้กับโลกนี้”

คำตอบระดับโลก Redesign the Good Life @ SB’18 Bangkok บางกะเจ้า

 

You Might Also Like