TALK

ดั่งใจถวิล อนันตชัย “จากผลสำรวจ เราจะ Redefine อะไรก็ตาม แต่ละคนมองเป็นเรื่องของตัวเอง ไม่มีภารกิจร่วม ดังนั้น สิ่งที่มองจะ Re อะไรก็ตามแต่ สิ่งสำคัญคือตัว R และตัว E”

2 ตุลาคม 2561…ภารกิจร่วม the Good Lifeจะต้องมี RE โดย Relationshipต้องรู้สึก Inclusive เป็นวาระทำร่วมกัน  ส่วน Empowerผู้นำต้องเห็นภาพใหญ่ รู้ว่าใครเก่งเรื่องใดให้เป็นเจ้าภาพ เพื่อเป้าหมายเดียวกัน

ดั่งใจถวิล อนันตชัย COO & MD, INTAGE Thailand  เป็นหนึ่งในSpeaker ที่จะแลกเปลี่ยนมุมมองบนเวที SB’18 BKK   ในหัวข้อ How Thai Define Good  ของวันที่ 12 ตุลาคม2561  ซึ่งเป็นงานสำรวจความคิดเห็นต่อเนื่องจากปีที่แล้ว

 

จาก Redefine the Good Life เมื่อปีที่แล้วในงาน SB’17Bangkok ได้มีการสำรวจความคิดเห็นต่อเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดี รายงานผลการสำรวจหัวข้อ What does  Good Life mean for Thais?  ซึ่งกรุงเทพธุรกิจเคยรายงานเรื่องนี้ว่า จากการศึกษาความคาดหวัง และความหมายของการมีชีวิตที่ดีของคนไทยอายุ 15-65 จำนวน 2,000 ตัวอย่างทั่วประเทศ ในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2560 คนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่า การที่จะใช้ชีวิตที่ดีได้ต้องประกอบไปทั้งสุขทางวัตถุ และสุขทางใจ  วิเคราะห์จากคำตอบที่ว่า ชีวิตตนจะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อ

 

-การที่ชีวิตมีสุขภาพที่ดี 37%

-การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย 28%

-การประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน 22%

-การมีครอบครัวที่ดี 21%

-การมีบ้านเป็นของตัวเอง 21%

-การใช้ชีวิตสายกลาง 19%

 

ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า การมีชีวิตที่ดีต้องมาจากการใช้ชีวิตของตัวเอง แต่ก็ยังเชื่อว่าสินค้าและบริการที่มีอยู่รอบๆ ตัวเช่น อุตสาหกรรมอาหาร  เทคโนโลยี อุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง การท่องเที่ยวและสันทนาการ จะช่วยทำให้ชีวิตตนดีขึ้นได้ แต่มีคนถึง 68%ที่ยังไม่เห็นสินค้าหรือบริการใดในตลาดที่ช่วยตอบโจทย์การมีชีวิตที่ดีของพวกเขา ในขณะที่ 87% ของคนไทยเชื่อในพลังของตนว่าจะมีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการของผู้ประกอบการได้

 

“ในปีแรกที่เราถามมีเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย สิ่งที่พบคือผู้ถูกสำรวจสึกว่ามีหลักการ ไกด์ไลน์ และรู้สึกว่าหากทำตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ ก็จะมีชีวิตที่อยากเป็นคือ Balanceที่คนไทยมอง คือ Balance ในสิ่งที่จำเป็นในชีวิตคือปัจจัย 4 และ Balance สเต็ปถัดมาคือ มีสุขภาพที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิต มีครอบครัว และมีเพื่อนที่ดี นั่นคือปี 2560”

 

ดั่งใจถวิลเล่าให้ฟังต่อว่า มาถึงปี 2561 ไม่น่าเชื่อว่าคะแนนจะเหมือนกันเป๊ะ!  คือ ไม่ได้รู้สึกว่าสุขขึ้น หรือสุขน้อยลง ถ้ามองในแง่ดี เราสุขมากแล้วคิดว่าคุณภาพชีวิตแบบนี้เรายอมรับได้แล้ว   และปี 2561 มีคำถามเรื่อง #SDGsของ UN ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวไหม?…พบว่า…ไม่รู้ว่า SDGsของ UN คืออะไร

 

“นั่นหมายถึงว่าภาคใหญ่ของประเทศ  ถ้ามองประเทศเป็นแบรนด์ ทั่วโลกบอกว่า Sustainable Branding ต้องเริ่มจาก 3 P People, Planet, Profit  ซึ่ง SDGs 17 เรื่องต้องมีเป้าหมายอะไรร่วมกัน  จากผลสำรวจ เราจะ Redefine อะไรก็ตาม แต่ละคนมองเป็นเรื่องของตัวเอง รัฐก็มองเป็นนโยบายของรัฐ  เอกชนรายใหญ่ก็ทำเป็นประเด็นของตัวเองทั้งสิ้น ไม่มีภารกิจร่วม  ดังนั้น สิ่งที่มองจะ Reอะไรก็ตามแต่ ที่สำคัญคือตัว R และตัว E”

 

R = Relationship  ไม่เห็น Relationship แต่ละภาคส่วน ไม่มีคนบอกว่านี่เป็นวาระแห่งชาติต้องทำร่วมกัน  เมื่อคนไม่รู้สึก Inclusive หรือ Collaboration ตรงนี้  ต่างคนก็ต่างทำ เมื่อเปลี่ยนนายกฯ เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ วาระก็เปลี่ยนไป…จึงต้องมีคนปักหมุดจริงๆว่า ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนอย่างนี้  ประเทศไทยเราจะไปตรงไหนได้

 

“เกาหลีเขาปักหมุดง่ายมาก  ต้องเก่งกว่าญี่ปุ่น เมื่อทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน ก็พัฒนาไปเพื่อเป้าหมายนั้น ไม่ว่าจะเป็นรถ เครื่องใช้ไฟฟ้า เรื่องเอนเตอร์เทนเมนท์ วงดนตรี ต่างๆ ทุกภาคส่วนจริงๆ รวมการเรียน การศึกษา   คนปักหมุดก็ต้องเป็นปักหมุดที่ ทุกคนทำร่วมกันได้ เพราะหากเป็นภาพใหญ่เกินไป ทุกคนบอกเอาไงล่ะ  ต้องบอกว่าถ้าเราไม่ทำแบบนี้เราจะเหลืออะไร ที่เราบอกเราเป็น Good Life แต่เราอยู่กับที่ ประเทศอื่นๆ เดินไปข้างหน้าหมดแล้ว    สิ่งที่เห็นมาจากการทำสำรวจ 2 ปีคือเรา Contented มีความพึงพอใจ แต่เราไม่ได้มองไปข้างหน้า  การจะไปข้างหน้าต้องมีผู้นำ ผู้นำจะต้องปักหมุดคือตัวR ตัวแรก”

 

E= Empowerต้องมองตั้งแต่ข้างบนลงมา ผู้นำต้องเห็นเลยว่า เรื่องนี้ใครจะเป็นเจ้าภาพ ก็ต้องมองต่อเลยว่า หากเอกชนใดเก่งเรื่องนี้ต้องทำ  ประเทศไทยเป็นรูปแบบ กฎ กติกาคุมไว้ตลอด ทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ ซึ่งการมี Empower ต้องเชื่อใจกัน  แต่ละภาคส่วน เก่งไม่เหมือนกัน เมื่อเขามา   ต่างคนต่างทำหน้าที่แบ่งหน้าที่การทำเลย เรื่องนี้มีตัวอย่างเรื่องถ้ำหลวง จะช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น

 

“เมื่อใดที่เป็น Empower  คนอยากเข้าไปมีส่วนร่วม  เพราะทุกคนเป็น Ownership แต่ถ้าไม่มี Empower  เหมือนมีการขีดเส้น เช่นผู้ใหญ่ลงไปแล้วบอกว่าทำอย่างนี้ไม่ได้นะ นี่คือการขีดเส้นดึงอำนาจกลับมาที่ตัวเอง เมื่อขีดเส้นคนก็ถอย”

 

มาถึงบรรทัดนี้ เลยต้องถามต่อเนื่องถึงการที่จะทุ่มกับเรื่อง SDGs ทั้งๆ ที่ภารกิจอีกมากมายน่าจะสำคัญมากกว่า ดั่งใจถวิลเห็นว่า SDGs สำคัญมาก ตั้งแต่ข้อแรก ขจัดความยากจน ปากท้องต้องอิ่ม ข้อนี้ต้องทำให้ได้มิฉะนั้นก็ทำอย่างอื่นไม่ได้ โดยต้องค่อยๆ ไล่ทำก็ได้ ไม่สามารถทำได้หลายๆ ข้อพร้อมกัน แต่ข้อแรกสำคัญมากชัดเจนที่สุด

 

 RE จึงเป็นตัวอักษรสำคัญมากในการทำเรื่องthe Good Life และตัวอย่างก็เกิดขึ้นที่บางกะเจ้า

 

ชุมชนบางกะเจ้า ร่วม R E design the Good Life บนศาลา วัดจากแดง เขตพระประแดง สมุทรปราการ

 

 

“การที่ไปบางกะเจ้า ผู้จัดงานบอกว่า   ไม่ได้ไปแค่ใช้พื้นที่จัดงาน แต่คือการ Redesign the Good Life   ก่อนหน้าวันวันที่ 12-13 นี้ มีการลงพื้นที่มากทำงานกับชุมชน Empowerชุมชนว่า สิ่งที่มีชุมชนทำได้ ทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ที่เก่งแต่ละด้าน การที่เราเห็นลูกจากจากต้นจากเยอะ เราไม่ได้กระตุกให้ชาวบ้านทำโน่นนี่ นั่นเป็นวันเวย์  แต่สิ่งที่ทำคือเมื่อเราเห็นว่าเราทำอะไรได้ ก็ลงไปทำด้วยกันเลย  คือEmpower เอสบีบางกะเจ้าจึงไม่ใช่การสัมมนา แต่เพื่อกระตุ้นความคิดของคน เพราะการกระตุ้นความคิดคือการลงมือทำ และทำเองไม่ได้ต้องEmpower ทุกภาคส่วน  ต้อง Collaborate กัน”

 

ดั่งใจถวิลกล่าวในท้ายที่สุดว่า จากการทำงานสำรวจความเห็นต่อเนื่อง SB Bangkok ตั้งแต่ Redefine the Good Life กระตุกต่อมความคิด  ส่วนปีนี้ Redesign the Good Life ทำให้เชื่อว่าคุณทำได้จงลงมือ ส่วนปีหน้า Redelivery the Good Life แสดงให้ว่าทำได้และลงมือทำแล้ว ซึ่งบางกะเจ้าจะเป็นโมเดลที่ดี สร้างความยั่งยืน ซึ่งต้องเปลี่ยนพฤติกรรม ทำแล้วเชื่อว่าชีวิตดีขึ้น ทำให้รายได้และสุขภาพดีขึ้น

 

เรื่องเกี่ยวข้อง

You Might Also Like