TALK

แนะนำศัพท์ใหม่ Clean Molecules พลังงานสะอาดใช้ได้จริงก่อน Green Hydrogen

28 พฤศจิกายน 2566…ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึง Clean Molecules เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Regenerative Fuels ตอบโจทย์ขับเคลื่อนโลกยั่งยืน

คลิกภาพ ขยาย

“จุดเด่นของงานวันนี้ แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมาที่มักจะเป็นสตาร์ทอัพ แต่วันนี้เป็นเทคโนโลยีที่ผลิตได้จริงและใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์ โดยมีหลายบริษัท มาช่วยกันทำให้บางจากฯ วันนี้ทำจริง เริ่มจากโครงการทอดไม่ทิ้ง ซื้อน้ำมันที่ใช้แล้วเพื่อ ผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน Sustainable Aviation Fuel หรือ SAF โรงงานจะแล้วเสร็จปลายปี 2567 เริ่มผลิตไต้นปี 2568 ก็น่าจะเป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย และเรามีกำลังผลิตใหญ่มากในภูมิภาคนี้ นี่คือ Clean Molecules”

ชัยวัฒน์ขยายความเพิ่มเติมว่า Clean Molecules ก็คือสิ่งที่มาจาก Bio Based ที่เรามีอยู่ทุกวันเช่นไม้ ผัก หญ้า ส่วนที่บางจากฯทำคือ นำแหล่งพลังงานมาจากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว โดยเปอร์เซ็นต์คาร์บอนที่อยู่ในน้ำมันทอดแล้วไม่ทิ้ง เพื่อนำไปผลิตเป็น SAF มี Carbon Emission น้อยลง 80% ซึ่งคาร์บอนจะเหลืออยู่ค่อนข้างต่ำมากแล้ว

คลิกภาพ ขยาย

นับเป็นการใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Regenerative Fuels ซึ่งเป็นโมเลกุลสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญคือ การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะช่วยบริหารจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage – CCUS) เพื่อให้โลกอยู่กับเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สะอาดและยั่งยืนขึ้น

ชัยวัฒน์กล่าวในท้ายที่สุดว่า บางจากฯ ยังเดินหน้าเรื่องโลกของเราให้เขียวขึ้นด้วย Clean Molecules ท่ามกลางความต้องการใช้เชื้อเพลิงของโลกที่อยู่ในระดับสูงถึง 220 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับการใช้น้ำเท่ากับ 35,000 ล้านลิตร/วัน ประชากรโลกมี 8 พันล้านคน เท่ากับ 1 คนใช้น้ำมัน 4.4 ลิตร/วัน มากกว่าน้ำที่เราดื่ม เราดื่มน้ำแค่วันละ 2 ลิตร แต่การใช้น้ำมัน 2 เท่าของน้ำที่ดื่ม

คลิกภาพ ขยาย

 

ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากงานสัมมนาครั้งใหญ่แห่งปี 2566 Bangchak Group Greenovative Forum ครั้งที่ 13 ในหัวข้อ “Regenerative Fuels: Sustainable Mobility” นำเสนอประเด็นเชื้อเพลิงอนาคตที่จะตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืน โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับโลกและระดับประเทศร่วมสะท้อนมุมมองภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมที่อาคารเอ็มทาวเวอร์ เกือบ 300 คน และผ่านช่องทางออนไลน์ประมาณ 2,700 คน และได้รับเกียรติจากมิสซิส แอสทริด เอมิเลีย เฮลเลอ เอกอัครราชทูต แห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ ประจำประเทศไทย ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และสไกร คงธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมรับฟัง

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

You Might Also Like