TALK

เม็ดเงินใน “โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่า” ได้อะไรที่มากกว่า Carbon Offset

4-5 ธันวาคม 2566…“โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” นับเป็นคำที่ได้ยินบ่อยมากสำหรับบริษัทที่ต้องการ “ตัวเลขคาร์บอนเครดิตในป่า” เพื่อนำไปเป็นส่วนร่วมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แต่ละองค์กรปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ โดยมีป่าไม้เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ ซึ่ง“ป่าชุมชน” ของเครือข่ายป่าชุมชน ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนต้นแบบการอนุรักษ์ผืนป่าที่ประสบความสำเร็จของภาคเหนือ โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์


ที่สำคัญ หลักการทำงานของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และการมีส่วนร่วมของชุมชน(พาทำ) ส่งผลให้เงินลงทุนจากหลายบริษัทไม่ได้เพียง “ตัวเลขคาร์บอนเครดิตในป่า” แต่ได้ช่วย Ecosystem ของป่าชุมชนนั้น ๆ ซึ่งนอกจากทรัพยากรในป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ แล้ว ยังมีเครื่องไม้เครื่องมือการดูแลไฟป่าโดยชุมชน ส่งเสริมความมั่นคงให้กับชุมชน

“ภาคธุรกิจที่เข้ามาร่วมโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในแง่คาร์บอนเครดิตน่าจะเป็นปัจจัยที่สอง ปัจจัยหลักน่าจะเป็นมิติที่ส่งเสริมความมั่นคงให้กับชุมชน พยายามสร้างความแข็งแรงให้กับประเทศ และเอกชนจะได้คาร์บอนเครดิตตามมาที่หลัง ด้วยราคา 2,700 บาท/ไร่ ดังนั้นหากมาเพียงเรื่องคาร์บอนเครดิตอย่างเดียวอาจจะไม่คุ้มทุน การเข้ามาตรงนี้ต้องมีมิติการสนับสนุนชุมชน การสร้างความเข้มแข็ง การตอบโจทย์ SDGs และ ESG”

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึง “โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ นำความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ “ปลูกป่า ปลูกคน” เกือบ 40 ปีในการฟื้นฟูป่าอนุรักษ์ที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย มาปรับใช้กับป่าชุมชนปี 2563

หม่อมหลวงดิศปนัดดา พร้อมทีมมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และชุมชน ในพื้นที่ทำงานแปลงคาร์บอนเครดิต ของเครือข่ายป่าชุมชน ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

นับเป็นร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนริเริ่ม “โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) ภาคป่าไม้ ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) โดยเชื่อว่าคาร์บอนเครดิตเป็นกลไกที่ตอบโจทย์ให้ชุมชนดูแลป่าและดูแลตัวเองได้พร้อม ๆ กัน ช่วยลดการสูญเสียพื้นที่ป่า ลดอัตราการเกิดไฟป่าให้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ลดปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 จากไฟป่า รวมทั้งมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาคนว่างงาน และหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยภาคเอกชนในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจได้ด้วย

“ที่เครือข่ายป่าชุมชน แห่งนี้เป็นป่าชุมชนแรกที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯทำเรื่องคาร์บอนเครดิตสำเร็จ ตามมาตรฐานอบก.ภาคสมัครใจ และเมื่อมีการตรวจวัด ได้ดาต้าแรกออกมาจะเป็นฐานข้อมูลออกมาเช่น พื้นที่ป่าแบบนี้ค่าเฉลี่ยการเก็บอยู่ที่กี่ตันต่อไ่ร่ ปีต่อไปจะมีดาต้าอีกชุดหนึ่ง ซึ่งแต่ละปีดาต้าที่เกิดขึ้นจะมีมาตรฐาน การประเมินจะมีความแม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเทคโนโลยีจะประมวลผลได้แม่นยำมากขึ้น”

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ขยายความต่อเนื่อง เมื่อมีภาคเอกชนมาสนับสนุน ทำให้การทำงานแบบนี้จะเป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้จริง พื้นที่นี่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ นำร่องเมื่อ 3 ปีที่แล้ว พื้นที่ประมาณ 14,000 ไร่ มีการวัดคาร์บอนเครดิต เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จชุมชนจะนำคาร์บอนเครดิตที่เกิดขึ้นส่งมอบให้ภาคเอกชน เอกชนก็สามารถนำไปใช้เป็นส่วนร่วมชดเชยคาร์บอน หรือ Carbon Offset ในอนาคตได้

ตัวอย่างเครือข่ายป่าชุมชน ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

“นอกจากภาคเอกชนแล้ว สิ่งสำคัญคือชุมชน ชุมชนที่สนใจโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนตามกฎกระทรวงให้เรียบร้อยก่อน ส่วนความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของชุมชน เพราะฉะนั้นหากชุมชนจะเข้ามาร่วมมือกันมิตินี้สำคัญมากที่สุด หากทำไปแล้วงเกิดความไม่สบายใจ่อกัน จะทำให้วกกลับมาที่ความน่าเชื่อถือของโครงการที่พยายามขับเคลื่อนให้ชุมชนดูแลธรรมชาติเชื่อมโยงกับภาคเอชนสะดุดขึ้นมา ดังนั้นชุมชนที่จะเข้ามาร่วมต้องมีความเข้มแข็งจริงๆ และต้องพิสูจน์ได้”

หม่อมหลวงดิศปนัดดากล่าวในท้ายที่สุดในการเริ่มต้นนำชม “ผลที่คาดว่าจะได้รับ” จาก “โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่า”ทั้งปริมาณคาร์บอน และรายได้ชุมชนในระยะพัฒนาระบบ (ปี 2564-2565) จาก 10 บริษัท และระยะขยายผล (ปี2566) 14 บริษัท

ติดตามในบทความถัดไป

 

You Might Also Like