12 มีนาคม 2562…หนึ่งในกิจกรรมแฟนเพจเอสซีจี คือการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา นั่งรถไฟไทยจากสถานีบางซื่อไปลงสถานีลำปาง เรียนรู้การซ่อม,สร้างฝายชะลอน้ำ พักโฮมสเตย์ของชุมชนในพื้นที่ใกล้ปูนลำปาง และเลือกซื้อพืชผักของแปรรูปชุมชนในพื้นที่เดียวกัน
ถ้าหากจะกล่าวถึงการทำ CSR Strategy ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง คงต้องกล่าวถึงกรณีศึกษาของเอสซีจีที่ทำงานเรื่อง “น้ำ” มาโดยตลอดโดยเฉพาะการซ่อม,สร้างฝายชะลอน้ำ ส่งผลให้ระบบนิเวศน์ของพื้นที่รอบโรงงานยังยั่งยืนตามธรรมชาติ และจากเรื่องนี้เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วได้ต่อยอดมาสู่ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” ในปัจจุบัน ส่งผลให้กิจกรรมเรื่อง “น้ำ” ในแต่ละพื้นที่ที่เอสซีจีไปทำงาน เป็น “ความฝัน” ของเยาวชนนิสิตนักศึกษาไม่น้อยที่อยากไปร่วมกิจกรรมนี้
เพราะได้ยินชื่อกิจกรรมเพื่อสังคมนี้มาตั้งแต่เด็กๆ
เพราะอยากไปลงมือช่วยสิ่งแวดล้อม
เพราะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ
เพราะได้เดินทางด้วยรถไฟตู้นอน
เพราะได้ไปพักโฮมสเตย์ของชุมชน
“จากที่ได้ไปเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้การฟื้นฟูเหมืองปูนซิเมนต์ไทย ที่จังหวัดลำปาง สิ่งที่ได้คือความรู้ใหม่ๆ โดยเฉพาะวิธีการทำเหมืองแบบ Semi Open Cut ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีการทำเหมืองประเภทนี้อยู่ ได้เห็นถึงแนวทางการนำหินแร่มาใช้ประโยชน์ โดยไม่ให้พื้นที่ป่าหรือระบบนิเวศบริเวณนั้นถูกทำลายไปจนหมด การทำเหมืองแบบนี้ยังทำให้มีป่าเป็นแนวป้องกัน (Buffer Zone) การรบกวนของกระบวนการทำเหมืองที่จะส่งผลต่อชาวบ้านหรือคนในพื้นที่ให้น้อยที่สุด โดยที่คนในพื้นที่ก็ยังใช้ประโยชน์จากป่าได้อยู่”
กนกพิชญ์ ไชยสิริรัตนกุล นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในแฟนเพจเอสซีจี ที่ได้ร่วมเดินทางไปซ่อม,สร้างฝายลำปาง เล่าต่อเนื่องว่า นอกจากได้รู้จักวิธีการทำเหมืองรูปแบบใหม่แล้ว ยังได้เห็นว่ามีการคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น เพื่อนำไปปลูกหลังจากการทำเหมืองอีกด้วย น้ำจากการทำเหมืองก็ถูกกักเก็บไว้ไม่ปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ
“ทำให้เห็นถึงความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมของเอสซีจี ที่นอกจากจะคิดถึงสิ่งแวดล้อมตรงนั้น ยังคิดถึงคนในท้องถิ่น สร้างความยั่งยืนให้กับน้ำ ป่า และชุมชนบริเวณนั้น”
บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ในธุรกิจซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ก่อตั้งขึ้นในปี 2537 ด้วยแนวคิด “โรงงานอยู่ที่ไหน ป่าต้องเขียวที่นั่น” โดยได้นำแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอสซีจี และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ในกระบวนการจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐาน ISO 14001:2015 เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การเป็นเหมืองสีเขียว
การออกแบบการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เอสซีจี ได้พัฒนานวัตกรรมการออกแบบการทำเหมืองรูปแบบใหม่ เรียกว่า “Semi Open Cut” ที่ผสมผสานเทคนิคการทำเหมืองแบบ Open Cut (การตัดยอด) และ Open Pit (การขุดตัก) โดยจะเว้นพื้นที่ขอบเพื่อให้เป็นพื้นที่สีเขียว หรือ Buffer zone ตลอดแนวขอบเหมือง เพื่อคงไว้ซึ่งทัศนียภาพของขอบแนวเขาตามธรรมชาติ ที่ยังคงสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์
ขั้นตอนการทำเหมือง
เอสซีจี ได้นำประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยเข้ามาพิจารณาการทำเหมืองทุกขั้นตอน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อทั้ง ธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยมีขั้นตอนดังนี้
- การวางแผนการทำเหมือง (Mine Planning)โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ เพื่อวางแผนการทำเหมืองทั้งในระยะยาวและระยะสั้นเพื่อให้สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
- การระเบิด (Blasting)ศึกษาปรับปรุงรูปแบบและเทคนิคการทำเหมืองที่จะช่วยลดผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะ ด้านเสียงและแรงสั่นสะเทือน โดยพยายามปรับรูปแบบการระเบิดให้สอดคล้องกับลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาเพื่อให้การระเบิดมีประสิทธิภาพสูงสุดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งนี้ได้มีการกำหนดเวลาทำการทำเหมือง และสื่อสารให้กับชุมชนโดยรอบได้รับทราบอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งส่งพนักงานเข้าไปสังเกตการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นบริเวณชุมชนรอบเหมืองทุกครั้ง
- การบดย่อย (Crushing)ใช้เทคโนโลยีป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง โดยได้ออกแบบกระบวนการบดย่อยเป็นระบบปิดทั้งหมด ทั้งปากอ่าง เครื่องย่อย ระบบลำเลียง จุดเปลี่ยนผ่าน และกองสต๊อคอีกทั้งยังมีระบบสเปรย์น้ำและระบบกรองฝุ่น(Bag Filter) เพื่อดักจับฝุ่นไม่ให้ฟุ้งกระจายสู่ภายนอก
- การขนส่ง (Hauling) ได้มีออกแบบผิวถนนบนเหมืองให้เกิดฝุ่นน้อยที่สุด และติดตั้งระบบสเปรย์น้ำอัตโนมัติและรถบรรทุกน้ำเพื่อฉีดพรมเส้นทางขนส่ง และควบคุมความเร็วของรถทุกชนิดให้มีความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตร / ชั่วโมง
นอกจากนี้ การใช้น้ำในเหมืองใช้จากแหล่งกักเก็บน้ำฝนในโรงงาน จึงไม่มีการดึงน้ำจากแหล่งทรัพยากรน้ำจากภายนอกโรงงานมาใช้ในกระบวนการ เช่น การรดถนน สเปรย์น้ำ และรดน้ำในแปลงฟื้นฟูอีกทั้ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำเหมืองยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้อีก เช่น หินปูนที่ใช้สำหรับผลิตปูนเม็ด หินปูนสำหรับผสมในการบดซีเมนต์ และหินปูนสำหรับผลิตหินก่อสร้าง นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ดินมาใช้ในการฟื้นฟูเหมือง และยังนำมาสร้างกำแพงดินที่ศูนย์เรียนรู้ฟื้นฟูเหมืองลำปาง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
การฟื้นฟูเหมืองและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง)มุ่งมั่นจะเป็นต้นแบบที่ดีของการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และเปิดกว้างให้หน่วยงานต่างๆได้เข้ามาศึกษาดูงานและนำองค์ความรู้ไปปรับใช้เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้ดำเนินการดังนี้
1. กำหนดกรอบแผนงานฟื้นฟูเหมือง ใช้หลักการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ด้วยหลักวนวัฒน์วิทยา การคัดเลือกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น หลักการพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ผสานกับเทคโนโลยีวิศวกรรมเหมืองแร่
2. กำหนดแผนงานด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
- ระยะที่ 1การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity Baseline Data)ที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่เป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดกรอบงาน
- ระยะที่ 2การศึกษาข้อมูลเชิงลึกของพันธุ์ไม้ท้องถิ่น เพื่อจัดทำรายละเอียดของแผนการดำเนินงานเพื่อจัดเตรียมกล้าไม้ท้องถิ่นสำหรับการฟื้นฟูเหมืองพร้อมกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญในการวัดผลสำเร็จของโครงการ
- ระยะที่ 3 การศึกษาความสัมพันธ์ของสังคมพืชและสัตว์เพื่อนำข้อมูลมาใช้กำหนดแผนงานฟื้นฟูเหมืองให้คืนสู่ระบบนิเวศป่าไม้อย่างครบวงจรห่วงโซ่อาหาร(Biodiversity Management Plan)
การจัดทำหนังสือการฟื้นฟูเหมืองหินปูน คณะทำงานฟื้นฟูเหมืองและความหลากหลายทางชีวภาพ เอสซีจี ได้ทำงานด้านการฟื้นฟูเหมืองมาอย่างยาวนาน โดยการศึกษาวิจัยและทดลองเทคนิควิธีการต่างๆรวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานด้านวิชาการหลายองค์กร เพื่อฟื้นฟูเหมืองอย่างเป็นระบบ พร้อมกับฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้รวบรวมองค์ความรู้ด้านการฟื้นฟูเหมืองจัดทำเป็นหนังสือ“การฟื้นฟูเหมืองหินปูน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้ของงานฟื้นฟูเหมืองและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งปัจจัยของความสำเร็จและจุดเรียนรู้สำคัญ เพื่อเผยแพร่แก่หน่วยงานและผู้ที่สนใจ
นอกจากนี้ ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง)ได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยการฟื้นฟูป่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และสรุปชนิดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่ใช้ในงานฟื้นฟูเหมืองลำปาง เช่น รัง งิ้วป่า ยมหิน อ้อยช้าง ประดู่ป่า เป็นต้น รวมทั้งได้ริเริ่มโครงการร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์กรมหาชน) หรือ BEDO มูลนิธิสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO Foundation) และ Global Nature Fund (GNF) จัดทำโครงการตรวจประเมินธุรกิจ รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Business & Biodiversity Check) ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยเน้นการสำรวจชนิดพันธุ์นก ซึ่งพบว่าในพื้นที่เหมืองลำปางมีชนิดนก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงสภาพธรรมชาติที่กลับคืนมามีระบบนิเวศเหมาะสมแก่การดำรงชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ
จากการทำเหมืองที่ให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนทำให้เหมืองหินปูนของ ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง)ได้รับรางวัลดังนี้