NEXT GEN

เกษตรแม่นยำ คือหัวใจของเกษตรกรไทย

13 มีนาคม 2562…สวทช.และสถาบันวิจัยไอบีเอ็มจับมือนำ AI พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล คาดโครงการวิจัยที่ใช้ AI อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์การสำรวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และข้อมูลพยากรณ์อากาศแบบเจาะจงพื้นที่ ช่วยเพิ่มผลผลิตไร่อ้อย

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต Head of Innovation and Research Development Institute กลุ่มมิตรผล และปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีนและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ประกาศความร่วมมือในงานวิจัยระยะเวลาสองปีร่วมกับไอบีเอ็มเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทยโดยสวทช. และไอบีเอ็มร่วมด้วยกลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกและรายใหญ่ที่สุดในเอเชียที่ให้การสนับสนุนความรู้เฉพาะทางในการวิจัยครั้งนี้

โดยจะนำร่องพัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะ และแอพพลิเคชันบนมือถือเพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืชการคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) โดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอชั้นนำของโลกและข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยำที่สุดในโลกจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี(The Weather Company)รวมถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์และอนาไลติกส์

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลและพลังงานชีวภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีบทบาทสำคัญในการป้อนน้ำตาลสู่ตลาดโลกโดยมีส่วนแบ่งตลาด 9.4% ในปี 2560 [1] มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ 14.1 ล้านเมตริกตันในช่วงปี 2561-2562 โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา [2]

การผสานรวมข้อมูลความสัมพันธ์เชิงเวลาและพื้นที่

ปัจจุบันนักวิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนา“อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์”(Agronomic Insights Assistant)ซึ่งใช้แพลตฟอร์มไอบีเอ็มวัตสันดีซิชันสำหรับการเกษตร (IBM Watson DecisionPlatform for Agriculture)ร่วมกับระบบไอบีเอ็มแพร์สจีโอสโคป(IBM PAIRS Geoscope)ซึ่งเป็นการผสานรวมข้อมูลความสัมพันธ์เชิงเวลาและพื้นที่(เช่น ภาพถ่ายพืชผลจากกล้องหลายช่วงคลื่นที่เก็บภาพมาจากดาวเทียมหลายตัว ข้อมูลดิน ข้อมูลแบบจำลองความสูงของภูมิประเทศในรูปแบบดิจิทัล) ร่วมกับข้อมูลทางการเกษตร (เช่น สุขภาพของอ้อย ระดับความชื้นของดิน พยากรณ์ความเสี่ยงโรคและศัตรูพืช ปริมาณผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย) โดยใช้โมเดลการพยากรณ์ที่แม่นยำจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี

จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการสำรวจเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับการปรับและพัฒนาให้เหมาะกับการทำไร่อ้อยในประเทศไทยโดยสวทช.และความรู้เฉพาะทางด้านการเกษตรจากกลุ่มมิตรผลเพื่อกลั่นกรองเป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาวะการขาดน้ำและอาหารที่ส่งผลต่อการเติบโตของอ้อยความเสี่ยงของโรคและศัตรูพืช ตลอดจนปริมาณผลผลิตทางการเกษตรและดัชนีคุณภาพของอ้อย

การร่วมมือครั้งสำคัญเพื่อมุ่งสู่ เกษตรแม่นยำ ของชาวไร่อ้อย

ชาวไร่อ้อยได้อะไรจากการเป็นเกษตรกรแม่นยำ

การนำร่องใช้อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์ในช่วงกลางปีนี้บนไร่อ้อยขนาดไม่เกินหนึ่งล้านตารางเมตรจำนวน 3 ไร่ โดยเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์คาดว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะช่วยประเมินและจัดการความเสี่ยงต่างๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่พยากรณ์ล่วงหน้าได้สูงสุดสองสัปดาห์ร่วมด้วยการแจ้งเตือนเกี่ยวกับโรคและศัตรูพืชอย่างหนอนเจาะลำต้นข้าวและความเสี่ยงที่จะเกิดโรคใบขาว และการพยากรณ์อากาศระยะสั้นตามฤดูกาลแบบเจาะจงพื้นที่ คาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้อย่างเจาะจงไม่ว่าจะเป็นการทดน้ำและระบายน้ำการใส่ปุ๋ย และการกำจัดศัตรูพืช เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่อาจนำไปสู่การสูญเสียผลผลิต

“การร่วมมือกับสวทช. รวมถึงการนำเทคโนโลยี AI การสำรวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และระบบพยากรณ์อากาศขั้นสูงของไอบีเอ็มมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำไร่อ้อย จึงนับว่าเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการทำเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการปรับเปลี่ยนให้เกษตรกรไทยก้าวสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ หรือ Modern Farming ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังสร้างประโยชน์ให้กับภาคเกษตรกรรมของไทยอย่างยั่งยืน”
จากเกษตรยังชีพแม่นยำ ก้าวสู่เกษตรธุรกิจ

การผนึกจุดแข็งของสวทช. และไอบีเอ็มในด้านการวิจัยและเทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้บิ๊กดาต้า อนาไลติกส์ เอไอ และอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์เข้ากับความรู้เชิงลึกด้านการเกษตรของกลุ่มมิตรผลเป็นการพลิกโฉมแนวปฏิบัติของหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เก่าแก่ที่สุด และแสดงให้เห็นถึงก้าวย่างใหม่ของเกษตรกรรมอัจฉริยะในประเทศไทย

“ปัจจัยต่างๆ อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศประชากรที่เพิ่มขึ้นและความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหารล้วนเป็นตัวผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐต้องแสวงหาโมเดลการทำงานร่วมกันรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของข้อมูลและนวัตกรรมใหม่ๆ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในลักษณะเดียวกันนี้เพิ่มเติมในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก” แคทรีน กวารินี รองประธานฝ่ายวิจัยอุตสาหกรรมสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม กล่าวในท้ายที่สุด
การทำเกษตรในยุคใหม่จะเปลี่ยนไปจากเดิมด้วยเกษตรแม่นยำ เกษตรกรต้องใช้เทคโนโลยีสู้กับภาวะดินเสื่อม ปัญหาน้ำ และภาวะโลกร้อน หากจะทำเกษตรให้ได้กำไรต้องเปลี่ยนจากเกษตรยังชีพมาเป็นเกษตรธุรกิจ ใช้ Agritech ยกระดับอาหารที่ดีขึ้นสู่ผู้บริโภค และแปรรูปเพื่อหาตลาดที่ต้องการให้ได้ราคาที่ดีที่สุด [3]

 

ข้อมูลอ้างอิง:
[1] การส่งออกน้ำตาลตามประเทศโดย World’s Top Export
[2] Thailand Sugar Annual 2018 โดย Global Agricultural Information Network, USDA Foreign Agricultural Service
[3] Good Monday EP.9 ดร.ทักษิณ ชินวัตร

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

You Might Also Like