NEXT GEN

มีเวลาให้เกษตรกรรายย่อย กุ๊กกิ๊กได้ ! เพราะบริการ “ฟาร์มแม่นยำ”

12 ตุลาคม 2561…จริงๆ แล้ว ความต้องการพื้นฐานเกษตรกรรายย่อย เลยจากจุดพยากรณ์อากาศทั่วไปของกรมอุตุฯ เพราะอยากรู้ “พยากรณ์อากาศเฉพาะพื้นที่ของตัวเอง” ขอรู้แค่นี้ ! และต้องการ “ตรวจสุขภาพพืช&วางแผนเพาะปลูก” ซึ่งดีแทคได้ตอบโจทย์นี้ในลักษณะ CSV หรือ Creative Share Value แล้ว


ถ้าใครมีโอกาสติดตามการทำงานของ Operator มือถือกับเกษตรกรรายย่อยที่จับต้องได้ และใช้ได้จริงตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว ดีแทคและเกษตรกรรายย่อยได้ผ่านจากยุค SMS สู่ MMS ตามมาด้วยการตลาดออนไลน์ เข้าสู่ IoT และความต้องการพื้นฐานที่แท้จริงของเกษตรกรวัย 20 กว่าๆ ถึง 40 ปีหน่อยๆ ที่กลายเป็นแรงสำคัญจำนวนมากขึ้นๆ ในทุกภูมิภาค

นิธิภัทร์ ทองอ่อน หรือโอ๋ วัย 30 ต้นๆ ลาออกจากงานประจำกลับบ้านมาได้ 6 ปีแล้ว ทำหน้าที่เป็นทายาทรุ่นที่2แห่งสวนทุเรียนลุงแกละ จังหวัดระยอง เขารู้ว่าสิ่งจำเป็นมากสำหรับวิถีเกษตรกรคือ ต้องการรู้จริงๆ ว่า สภาพภูมิอากาศพื้นที่สวนของตัวเองจะเป็นอย่างไร เพราะที่ผ่านมาพอใส่ปุ๋ยตอนเช้า บ่ายฝนตกหนักก็เสียหาย เพราะฝนก็ชะปุ๋ยไปหมด ซึ่งต้องรู้ว่าฝนจะตกปริมาณไหน ถ้าไม่มากเราก็ใส่ปุ๋ยได้

ปัญหาของโอ๋ไม่แตกต่างจากเกษตรกรรายย่อยคนอื่นๆ ในประเทศไทย หรือบางจุดของพื้นที่จัดว่าเริ่มแล้งแล้ว แต่เกษตรไม่รู้มาก่อน มารู้อีกทีดินก็เสียหายไปมาก เพราะขาดน้ำ ฯลฯ

ข้อมูลเหล่านี้ อุกฤษ อุณหเลขกะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท รีคัลท์ (ประเทศไทย) จำกัด (ricult) หรือเอิร์น วัย 29 ปีสตาร์ตอัพจาก MIT ในโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท ได้รับรู้เองโดยตรงจากการลงพื้นที่พูดคุยถึงปัญหา ความต้องการของเกษตรกร ซึ่งข้อมูลทั้งหมดกลายเป็นสิ่งคอนเฟิร์มในการตัดสินใจเดินหน้าเต็มที่กับรีคัลท์ในประเทศไทยพร้อมกับ “ดีแทค”และ “รักบ้านเกิด” ร่วมพัฒนาบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ผ่านแอปFarmer Info ช่วยเกษตรกรทำเกษตรแม่นยำ ชู 3 บริการหลัก “พยากรณ์อากาศเฉพาะพื้นที่-ตรวจสุขภาพพืช-วางแผนเพาะปลูก” เพีอเจาะกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ชูจุดแข็งความแม่นยำระดับรายแปลงมากที่สุดในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม-บิ๊กดาต้า
“รีคัลท์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและระบบ Machine Learning ประมวลและแปรผล ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสภาพอากาศและสุขภาพพืช เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำข้อมูลมาจัดการและวางแผนการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนอย่างไร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งนี่เป็นแนวคิดหลักของรีคัลท์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ Those who feed us, need us”

บรรยากาศความร่วมมือเอกชน ภาครัฐ สตาร์ทอัพ เกษตรกรรายย่อยสำหรับบริการ ฟาร์มแม่นยำซึ่ง dtac ใช้ CSV อย่างเต็มรูปแบบ

บรรยากาศความร่วมมือเอกชน ภาครัฐ สตาร์ทอัพ เกษตรกรรายย่อยสำหรับบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ซึ่ง dtac ใช้ CSV อย่างเต็มรูปแบบ

โอ๋ ได้เล่าต่อถึงผลการเพิ่งลองใช้ “ฟาร์มแม่นยำ” 2 เดือนคือสิงหาคมและกันยายน เห็นได้ชัดเลยว่า ทุเรียนออกดอกแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน ปกติจะออกเดือนตุลาคม นั่นหมายถึงว่า ทุเรียนสวนลุงแกละออกดอกก่อน(ในขณะที่สวนอื่นๆ ยังไม่ออกดอกทุเรียน) จะสามารถกินทุเรียนได้ปลายมกราคมเลยทีเดียว นั่นหมายถึงโอกาสในการขายที่มีก่อนสวนอื่นๆ

“ใช้แล้วถือเป็นเครื่องมือที่มีความแม่นยำ และเพิ่มผลผลิตทุเรียนได้ ไม่คิดว่าจะเป็นแปลงของเราเองได้ทั้งแปลงแบบนี้ เวลาที่แอฟบอกว่าขอบพื้นแปลงเราแล้งก็แล้งจริง ซึ่ง 2 เดือนที่ใช้บริการฟาร์มแม่นยำ ชีวิตโอ๋เปลี่ยนเพราะเรามีเวลาว่างมากขึ้น ได้ไปทำงานอย่างอื่นได้มากขึ้น”

สิ่งที่โอ๋เห็นความเปลี่ยนแปลงในเวลา 2 เดือน ไม่แตกต่างจากเกษตรกรไร่ข้าวโพดรายหนึ่งที่ใช้บริการ “ฟาร์มแม่นยำ” มาก่อน ซึ่งไม่เพียงแต่เธอจะได้มีเวลากุ๊กกิ๊กในครอบครัวมากขึ้นเท่านั้น แต่รายได้จากผลผลิตข้าวโพดก็เพิ่มขึ้นถึง 30% ต่อปี !

บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บริษัท รักบ้านเกิด จำกัด เล่าถึง ฟาร์มแม่นยำ เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันในแอปFarmer Info ที่ช่วยให้เกษตรกรทราบถึงสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันในพื้นที่ของตนเอง ตลอดจนการวิเคราะห์สภาพการเพาะปลูกในแปลง เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ซึ่งเชื่อว่านวัตกรรมดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเสริมศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรกรรมไทย

ความร่วมมือดังกล่าว ดีแทคและบริษัท รักบ้านเกิดอาศัยจุดเเข็งทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายเกษตรกรที่มีอยู่ทั่วประเทศในการทำการตลาด ขณะที่รีคัลท์รับผิดชอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยอาศัยจุดเเข็งด้านองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลสถานีฐานจากทั่วโลก ทำการวิเคราะห์และแปรผลโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย MIT สหรัฐอเมริกา นับเป็นนิมิตหมายสำคัญในการติดอาวุธให้เกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีจำนวนกว่า 12 ล้านคนในประเทศไทย ซึ่งคาดหวังว่าจะเปลี่ยนภูมิทัศน์และการรับรู้ของเกษตรกรไทยให้ทันสมัย หลุดพ้นจากปัญหาความยากจน

ทั้งนี้ การบริการฟาร์มแม่นยำนี้ ถือเป็นก้าวแรกของดีแทคในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมไปด้วยกัน ตามแนวทาง Creating Shared Value (CSV) โดยดาวน์โหลดแอปFarmer Info ผ่าน App Store และ Google Play และเข้าไปที่บริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ใช้บริการฟรี 60 วัน และเก็บค่าบริการเริ่มต้น 30 บาทต่อเดือน

แอปฟาร์มแม่นยำให้บริการ 3 ฟีเจอร์สำคัญ ประกอบด้วย

1. พยากรณ์อากาศเฉพาะพื้นที่
แอปฯ สามารถแสดงผลเจาะจงในพื้นที่ที่ต้องการรายชั่วโมง ทั้งอุณหภูมิ โอกาสในการเกิดฝน และปริมาณฝนในพื้นที่ที่ต้องการด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ ยังสามารถพยากรณ์อากาศได้ล่วงหน้า 7 วัน โดยมีความแม่นยำระดับรายแปลงมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องด้วยการใช้ข้อมูลแบบ Microclimate weather ร่วมกับข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีฐานทั่วโลก เช่น GFS, Met Office, ECMWF และ Environment Canada และการใช้แบบจำลองสภาพด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจวางแผนเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

 

 

 

 

2. ภาพถ่ายดาวเทียม
ภาพถ่ายดาวเทียม ช่วยให้เกษตรกรมองเห็นพื้นที่เพาะปลูกของตัวเองแบบภาพรวมจากอากาศ เพื่อช่วยหาความผิดปกติและปัญหาสุขภาพของพืชได้ โดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียม EU-Sentinel และ NASA-Landsetช่วยให้เกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาพื

 

 

 

 

 

 

 

 

3. ผู้ช่วยส่วนตัว
แอปฟาร์มแม่นยำ ยังให้ช่วยเกษตรกรวางแผนการเพาะปลูกในแต่ละรอบการเก็บเกี่ยว โดยนำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟิกที่เข้าใจง่าย ตามข้อมูลทางวิชาการจากอาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจและมีการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบัน สามารถครอบคลุมพืชถึง 7ชนิด ได้แก่ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และทุเรียน

 

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

You Might Also Like