NEXT GEN

Chatbot ต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง เริ่ม Private Beta วางเป้าสู่ SE

1 เมษายน 2562…เป็นครั้งแรกๆ ของประเทศ ที่เกิด Chatbot แล้วเป็นไปตามเป้าหมาย SDGs ข้อ 5 “ความเท่าเทียมทางเพศ”(Gender Equality) โดยมาจากฐานเริ่มต้น “โปลิศน้อย” ในเวที #ดีแทคพลิกไทย ปีที่แล้ว

จากประสบการณ์ของ พ.ต.ท.หญิงเพรียบพร้อม เมฆิยานนท์ อาจารย์จากสถาบันส่งเสริมงานสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้พัฒนาโครงการโปลิศน้อย ซึ่งเคยได้เป็นพนักงานสอบสวนด้วยพบว่า ผู้เสียหายส่วนใหญ่เลือกที่จะเก็บเงียบ ไม่ประสงค์จะแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพราะมองว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัว หากแจ้งความก็ยอมรับว่ากระบวนการตำรวจมองเรื่องนี้เป็นการทะเลาะเบาะแวง

จากการมองเห็นปัญหาดังกล่าว จึงเริ่มต้น “โปลิศน้อย” เพื่อการช่วยเหลือ และเข้าสู่เวที #ดีแทคพลิกไทย เกิดความร่วมมือมากมายเห็นได้จาก “การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลครั้งแรกในประเทศไทย: กรณีศึกษาความรุนแรงในครอบครัว” จัดโดยโครงการดีแทคพลิกไทย แพลทฟอร์มออนไลน์สำหรับโครงการเพื่อสังคม โดยบริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค โดยนักเคลื่อนไหวทางสังคม ตำรวจและนักเทคโนโลยี

“คน จะคุยปัญหาแบบนี้กับ Chatbot แทนที่จะคุยกับคน จริงหรือ?”

ทั้งหมด เห็นพ้อง “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” ช่วยเปิดพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการให้คำปรึกษา หวัง “โปลิศน้อย” ช่วยลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ขณะที่ดีแทคดึงผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์จากเทเลนอร์ร่วมพัฒนาโครงการเพื่อสังคม พร้อมเชิญชวนป้อนข้อมูลในหุ่นยนต์ผ่านเฟซบุ๊ก PoliceNoi โปลิศน้อย

ดร.วินน์ วรวุฒิคุณชัย นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลประจำเทเลนอร์ เอเชียเข้ามาช่วยพัฒนาหุ่นยต์โปลิศน้อย ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่ใช้อย่างแพร่หลายในเชิงธุรกิจแล้ว เทคโนโลยีล้ำสมัยเหล่านี้ยังสามารถนำมาปรับใช้กับการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างนานัปการ ซึ่งมีข้อดีคือการให้ข้อมูล 24 ชั่วโมง ตอบโต้ทันที และได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ

จากประสบการณ์ในการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการสื่อสารที่ชื่อว่า “บอทน้อย” (Botnoi) ซึ่งมีผู้ใช้บริการกว่า 1 ล้านรายบนแอปพลิเคชั่นไลน์ พบว่าหุ่นยนต์สามารถเป็นเพื่อนคุยกับมนุษย์ได้ดี โดยเฉพาะการทำหน้าที่ “รับฟัง” สามารถช่วยยับยั้งการตัดสินใจในการฆ่าตัวตายได้ สอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง Humanity in the Machine โดยเอเจนซี่โฆษณามายด์แชร์ สหราชอาณาจักร, มหาวิทยาลัยโกลด์สมิธ และไอบีเอ็มวัตสัน ระบุว่า 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่ามนุษย์มีความสะดวกใจที่จะให้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหวกับหุ่นยนต์มากกว่ามนุษย์ เนื่องจากมีความไว้เนื้อเชื่อใจว่าจะไม่ถูกตัดสินจากผู้รับข้อมูลที่เป็นมนุษย์

วันนี้ สิ่งที่ทำมาเกิดแล้ว สุนิตย์ เชรษฐา ผู้ก่อตั้งองค์กร Change Fusion และผู้ก่อตั้งบริษัท Change Ventures ได้โพสต์เฟสบุก Chatbot ต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงที่หลายคนหลายองค์กรช่วยกันทำมาเริ่ม Private Beta แล้ว เป็นพื้นที่ปลอดภัยเพื่อตอบปัญหาและเชื่อมโยงความช่วยเหลือ กรณีโดนทำร้าย ข่มขืน ท้องจากโดนกระทำ และ Sexual harassment ใครอยากมาเป็น Tester บอกได้  แต่อยากได้แบบ Test แล้ว Feedback จริงจัง

อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวในท้ายที่สุดว่า มีความตั้งใจที่จะผลักดันให้ โครงการนี้เป็น Social Enterprise อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งยังต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการทำงานต่อไป

เครดิตภาพเปิดเรื่อง

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

You Might Also Like