NEXT GEN

CEO เอไอเอส พร้อม ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา เยี่ยมชมฐานปฏิบัติการเพื่อสุขภาพคนไทย ให้กำลังใจ อสม.นำแอปฯอสม.ออนไลน์เฝ้าระวังความเสี่ยงโควิด-19 ระบาด รอบ 2

1 มิถุนายน 2563…โควิด-19 โรคระบาดใหม่ของโลก มีด่านหน้าในภาพใหญ่นักรบเสื้อขาว บุคลากรทางการแพทย์ และเฉพาะประเทศไทย เสริมทัพในพื้นที่ทุกตารางนิ้วด้วย อสม.นักรบเสื้อเทา นำแอปฯอสม.ออนไลน์ ที่เอไอเอสนำเทคโนโลยีดิจิทัล เพิ่มฟีเจอร์ คัดกรองและติดตามโควิด-19 บนแอปฯ มาเสริมการทำงาน พิชิตการแพร่ระบาดในพื้นที พร้อมเฝ้าระวังความเสี่ยงโควิด-19 ระบาด รอบ 2

วิถีของอสม.เชื่อมต่อกับรพ.สต.อย่าง Real Time ด้วยแอปฯอสม.ออนไลน์

ช่วงเวลาประมาณ 10 โมงเช้าของวันนี้ ก็ไม่แตกต่างจากวันอื่น ๆ หลังจากทำงานประจำดูแลบ่อกุ้งซึ่งเป็นอาชีพหลักของตัวเองแล้ว ฉวีวรรณ พุ่มพวง เริ่มทำหน้าที่ของตัวเองอีกหน้าที่หนึ่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมาคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เสม็ดใต้ ขึ้นตรงกับ รพ.สต.เสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

การทำหน้าที่อสม.ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาแตกต่างจากช่วงแรก เพราะปัจจุบันมีเครื่องมือสำคัญอยู่ในโทรศัพท์ส่วนตัวคือ แอปพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ช่วยการทำงานในพื้นที่ที่ดูแลจะอยู่ในละแวกบ้าน 15 ครัวเรือน ซึ่งจะมีทุกกลุ่มวัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ จะต้องดูแลเรื่องของโรคต่าง ๆ เบาหวาน ความดัน หรือผู้ป่วยติดเตียง แม่แรกคลอด ติดตามลูกน้ำยุงลายที่มีตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีเรื่องการใช้สารเคมีเข้ามาด้วย ซึ่งผู้ป่วยสามารถติดต่อผ่านไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ล่าสุดตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา จะแนะนำเรื่องโรคระบาดโควิด-19 การป้องกันตัวต่าง ๆ ซึ่งทุกข้อมูลที่อัปเดตจะอยู่บนแอปฯอสม.ออนไลน์ และอสม.ก็จะนำไปแจ้งแก่ผู้ป่วยให้ปฏิบัติตาม เช่นการเยี่ยมบ้านวันนี้

นักรบเสื้อเทาอสม. งานอาสาสมัคร แต่ทำงานด้านสาธารณสุขพื้นฐาน 7 วัน มีเครื่องมือสำคัญคือ แอปฯอสม.ออนไลน์ ช่วยทำงานได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาดประเภทใดก็ตาม ส่วนช่วงโควิด-19 ก็ต้องพกอุปกรณ์ป้องกันตัวคือหน้ากาก เจลล้างมือ พร้อมทั้งต้องแนะนำเรื่องการป้องกันตัวให้กับแต่ละครัวเรือนด้วย หากมีข้อสงสัยก็สามารถเปิดเช็คข้อมูลทางการจากแอปฯอสม.ออนไลน์ได้ทันที ซึ่งผู้ป่วย หรือญาติผู้ป่วยจะเชื่อในข้อมูลที่เห็น ทำให้อสม.ทำงานเฝ้าระวังได้ง่ายขึ้น

“บ้านหลังนี้ เจ้าของบ้านพี่ผู้หญิงเดินทางกลับมาจากชลบุรี ก็จะมีการคัดกรองข้อมูลบนแอปฯ  อสม.ออนไลน์ พบว่ามีอาการไข้ ไอ ซึ่งอยู่ในช่วงเฝ้าระวังอาการ เราก็จะมาสอบถามทุกวัน และเน้นเรื่องการล้างมือ สวมหน้ากากเป็นประจำ”

ฉวีวรรณ เดินนำมาที่บ้านอีกหลัง ที่จะต้องมีการคัดกรอง ซึ่งคำถามต่าง ๆ จะอยู่บนแอปฯ อสม.ออนไลน์ทั้งสิ้นเช่น ไปต่างพื้นที่ที่ใดมาบ้าง ไปที่มีความเสี่ยงหรือไม่ วัดไข้มีอุณหภูมิเท่าไหร่ อาหารการกินสุกไหมคะ ใช้ช้อนกลางไหมคะ ล้างมือประจำไหมคะ ไปที่อื่นสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งไหมคะ ฯลฯ เมื่อคัดกรองจบข้อมูลจะถูกส่งแบบเรียลไทม์ไปยังรพ.สต.เสม็ดใต้ทันที

“ข้อมูลจากอสม.ที่ส่งผ่านแอปฯอสม.ออนไลน์เข้ามาที่รพ.สต.ทันทีเหมือนกัน เราจะมีแอดมินดูว่า อสม.ท่านใดส่งข้อมูลมา ข้อมูลครบถ้วนไหม อย่างเคสบ้านแรก เราได้รับรายงานจากอสม. ซึ่งใช้แอปฯอสม.ออนไลน์ เราจะทราบพิกัดว่าบ้านอยู่ตรงไหน แล้ววันรุ่งขึ้นเราก็ทาง รพ.สต.และอสม.ก็มาที่บ้านตามพิกัดที่แจ้งไว้ ทำรายงานออกเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรค ซึ่งหัวหน้ารพ.สต.เป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคโดยคำสั่ง สั่งให้ผู้เดินทางเข้ามา หรือผู้มีความเสี่ยงกักตัว 14 วัน ห้ามเดินทางออกจากบริเวณที่พักอาศัย และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเช่นสวมหน้ากาก ล้างมือ ไม่อยู่ใกล้กับผู้มีโอกาสเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ หรือเด็ก นี่คือสิ่งที่เราดำเนินการทันที หลังจากนั้น อสม.จะคอยติดตามระวังว่า จะมีการเดินทางออกไปนอกพื้นที่หรือไม่ ไปตลาดนัดหรือไม่ หรือไปพบกับผู้คนภายนอกหรือไม่ เป็นการเฝ้าระวังอีกต่อหนึ่ง โดยอสม.จะเข้าระวังทุกวัน”

นฤพนธ์ จินดาวัลย์ ผู้อำนวยการ รพ.สต.เสม็ดใต้ เล่าถึงกระบวนการทำงานที่ะจะต้องประสานกับอสม.อย่างรวดเร็ว โดยใช้เครื่องมือแอปฯอสม.ออนไลน์ ซึ่งทำให้เห็นข้อมูลดังต่อไปนี้อย่างทันที่ที่อสม.ได้พบในพื้นที่เสม็ดใต้คือ

กลุ่มเสี่ยงติดโควิด-19 จากพฤติกรรมเดินทางข้ามประเทศ เดินทางข้ามจังหวัด หรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยง และต้องกักตัว 14 วัน รวม 22 คน โดยในจำนวน 22 คนดังกล่าว ประกอบด้วย

-คนที่เดินทางมาจากต่างประเทศทั้งหมด 6 ราย เดินทางมาจากประเทศญี่ปุ่น 3 ราย เยอรมนี 2 ราย และนอร์เวย์ 1 ราย ครบกำหนดกักตัวล่าสุดวันที่ 8 เมษายน 2563
-คนที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด จำนวน 16 ราย เพิ่งครบกำหนดกักตัวล่าสุดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2563

อสม. เสม็ดใต้ กว่า 90 คน นับได้ว่าเป็น อสม. อีกหนึ่งกลุ่ม ที่ทุ่มเททั้งแรงกาย และแรงใจ ออกปฏิบัติงานเชิงรุกเพื่อทำให้สุขภาพของคนในชุมชนเสม็ดใต้ที่มีอยู่กว่า 1 พันครัวเรือน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปลอดภัยจากการโควิด-19 ด้วยความตั้งใจในการปฏิบัติงานอย่างแรงกล้า มีเครื่องมือแอปฯ อสม. ออนไลน์ ทุกคน ทำให้ อสม. และ รพ.สต. เสม็ดใต้ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างใกล้ชิด ไร้รอยต่อ และรวดเร็วทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในรอบวัน

กำลังใจ และเอไอเอสหนุนเทคโนโลยีเพื่อสาธารณสุขไทยอย่างยั่งยืน

ช่วงเวลาการทำงานของอสม.ตั้งแต่ 10 โมงเช้าทุกวันดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นสิ่งที่สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส และ ระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้เห็นระบบการทำงานของอสม. และการใช้อสม.ออนไลน์ พร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 เช่นนี้

CEO เอไอเอส และ ผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา เยี่ยมชมการทำงานประจำของอสม.ในพื้นที่ ซึ่ง นฤพนธ์ รพ.สต.เสม็ดใต้ ได้ร่วมเช็คข้อมูลในแอปฯอสม.ออนไลน์ พร้อมกับอสม.ด้วย

สมชัยกล่าวขอบคุณอสม.ในฐานะนักรบเสื้อเทาทุกคน ที่เป็นปราการด่านหลัง เป็นกลุ่มคนที่จะช่วยไม่ให้เกิดการระบาดระลอก 2

“ในฐานะผู้บริหาร พนักงานเอไอเอส ขอขอบคุณอสม.ทุกคนเป็นผู้เสียสละอย่างแท้จริง”

ระพี กล่าวถึงการทำงานในสถานการณ์โควิด-19 เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายร่วมกันทำงาน ไม่มีการแยกส่วน

“การที่เอไอเอสได้เข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม. ผ่านการพัฒนาแอปฯอสม. ออนไลน์ ถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และช่วยยกระดับงานสาธารณสุขเป็นอย่างมาก เพราะการที่เรามีบุคลากรที่ขยันขันแข็ง ประกอบเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย จะช่วยทำให้การปฏิบัติราบรื่นมากยิ่งขึ้น ในสถานการณ์นี้ ฮีโร่ตัวจริงคืออสม. และเอไอเอส”

สมชัยขยายความต่อเนื่องถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับสาธารณสุขไทย มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา เอไอเอส ได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับ อสม. ทุกพื้นที่ เพื่อจะทำให้การทำงานอาสาสมัครมีความสะดวก สบาย รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์เสมอ จึงเกิดเป็นแอปพลิเคชัน อสม. ออนไลน์ ขึ้น ที่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจากรูปแบบกระดาษมาเป็นออนไลน์ 100% ทั้งการสนทนา การส่งรายงานประจำเดือน ก็สามารถทำผ่านแอปฯ ได้ทันที รวมถึงในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ ก็มีอัปเดตฟีเจอร์ “รายงานคัดกรองและติดตาม COVID-19” เพิ่มขึ้นมา

“หลังจากนี้เมื่อข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพร้อมแล้ว เอไอเอสใช้เวลาทำงาน 2-3 วัน ก็จะสามารถเปิดตัวฟีเจอร์ รายงานการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต เพื่อช่วยติดตาม ผู้ที่มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตจากสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งแสดงคำแนะนำที่เหมาะสม เพื่อให้ อสม. ได้แนะนำความรู้ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเบื้องต้น รวมทั้งเป็นเครื่องมือเชิงรุกในการค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อนำเข้าสู่ระบบการรักษาได้อย่างทันท่วงที่ โดยจะเปิดให้บริการฟีเจอร์นี้ภายในเร็ว ๆ นี้”

สมชัยกล่าวต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำเครือข่ายและบริการดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศ ที่ได้ประกาศเดินหน้านำนวัตกรรมดิจิทัล พร้อมด้วยขีดความสามารถของเครือข่าย 5G เข้าเสริมประสิทธิภาพงานด้านสาธารณสุขไทย เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19ภายใต้โครงการ “เอไอเอส 5G สู้ภัยโควิด-19” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม และมีส่วนช่วยให้การปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล อสม. สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างไม่สะดุด ทั้งการติดตั้งเครือข่าย 5G ในโรงพยาบาลที่รับตรวจและรักษาผู้ป่วย โควิด-19 ทั่วประเทศ, ตั้งศูนย์ AIS Robotic Lab by AIS NEXT เพื่อร่วมผลักดันนวัตกรรมการแพทย์, การพัฒนาหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ 5G ROBOT FOR CARE เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์

“สิ่งที่อสม.ได้ใช้เครื่องมือแอปฯอสม.ออนไลน์ทำงานจริงในพื้นที่ เสมือนการติดปีกดิจิทัลให้กับ อสม. นักรบเสื้อเทาแล้ว เอไอเอสยังมอบ ซิมฮีโร่ เป็นซิมแพ็กเกจพิเศษ และประกันโควิด-19 เสริมประสิทธิภาพและสร้างความอุ่นใจในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น” สมชัยกล่าวถึงแรงหนุนจากเอไอเอส ช่วยในการทำงานของอสม.

ที่โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา

ในโอกาสนี้ เอไอเอส ได้สนับสนุนห้องผู้ป่วยความดันลบ (Negative Pressure Room) เป็นอุปกรณ์เสริมพิเศษ ที่ติดตั้งในห้องพักผู้ป่วยแยกโรคที่มีการติดเชื้อแบบ Airborne เช่น โควิด-19 วัณโรค ซาร์ส อีโบล่า ไข้หวัดใหญ่ และหัดเยอรมัน เพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทราให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย

 

 

You Might Also Like