NEXT GEN

การเงินเกี่ยวกับ SDGs ภายใต้ New Normal

8 มิถุนายน 2563…นับเป็นความท้าทายและตอบสนองต่อการระบาดของ Covid – 19 ซึ่งปี 2020 เป็นประวัติการณ์ของการสูญเสียหลายอย่างของมนุษย์จำนวนมาก

เราได้เห็นการล่มสลายของเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อนในชีวิต แน่นอนว่า นี่เป็นเรื่องไม่ดีเลย หากคิดถึงว่า โลกตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ซึ่งก่อนเกิดวิกฤตนี้ก็ล้าหลัง ทั้ง ๆ ที่ทุ่มเทความพยายามมากมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวอยู่แล้ว

การระบาดครั้งใหญ่ได้นําเศรษฐกิจโลกไปสู่การล่มสลายครั้งใหม่ ช่วงเวลาเพียง 3 เดือน นักลงทุนเคลื่อนย้ายเงินทุนประมาณ 90,000 ล้านเหรียญสหรัฐออกจากตลาดเกิดใหม่ เป็นสถิติสูงสุดใหม่ของจำนวนเงินทุนไหลออก ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า อัตราการเจริญเติบโตทั่วโลกจะหดตัวอยู๋ที่ระดับ -3 % ในปีนี้ ทําให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเลวร้ายที่สุดตั้งแต่เคยเกิดภาวะ Great Depression และเลวร้ายยิ่งกว่าช่วงวิกฤตการณ์การเงินปี 2008-2009

เฉพาะในเอเชียและแปซิฟิก Global Demand ที่ลดลงในความต้องการทั่วโลกจะมีมูลค่าประมาณ 172 พันล้านเหรียญสหรัฐจากการค้าเพียงอย่างเดียว, เทียบเท่ากับการลดลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของภูมิภาค 0.8 % ความกังวลทันทีทันใดคือ ผลกระทบวิกฤต COVID-19 ส่งผลต่อการเงินปีนี้ ทําให้เกิดความเสี่ยงของวิกฤตหนี้ใหม่ในภูมิภาค

ภูมิภาคนี้ ยังคงมีสภาพคล่องทางการคลังมากพอที่จะบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 กับค่ากลางในงบดุล อยู่ที่น้อยกว่า -1 % และอัตราส่วนหนี้ต่อ GDP ต่ำกว่า 40 % หากแต่ช่วงก่อนโรคระบาด ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ประสบปัญหาการลงทุนภาคเอกชนลดลง และรายได้จากภาษีลดลง การรับมือกับ COVID-19 ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติ

ดังนั้น จึงทำให้ทรัพยากรในประเทศเหือดแห้งไปจากโครงการที่มีเป้าหมาย SDGs เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์นี้ จึงเป็นเรื่องสําคัญที่บรรดาผู้กําหนดนโยบายต้องใช้มาตรการระยะกลางที่เหมาะสมและทันที สําหรับการฟื้นตัวหลังการระบาด

ระบบของสหประชาชาติ รวมถึงพันธมิตรองค์กรระหว่างประเทศได้สรุปมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบของภาวะถดถอยของโลกและความวุ่นวายทางการเงินในปี 2020 ล่าสุด รายละเอียดของรายงาน Financing for Sustainable Development Report เรียกร้องให้ผู้กําหนดนโยบายดําเนินการตามขั้นตอนทันทีและประสานงาน เพื่อตอบสนองต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดจาก COVID-19 ให้ชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่คือ ผลกระทบต่อเงินทุนช่วยเหลือประเทศยากจน

มีการดําเนินการอย่างน้อย 3 เรื่อง รวมถึงนโยบายระยะกลางที่จําเป็นในการจัดการกับวิกฤต COVID -19 ซึ่งทำได้ทันที เพื่อให้แน่ใจว่าการเงินที่เพียงพอเป็นช่องทางที่จะสนับสนุนความคืบหน้าใน SDGs

1.ประเทศต่างๆ ต้องร่วมมือกันทำแพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงการให้ค่ารักษาเพิ่มขึ้น และเพิ่มเงินให้เปล่า เพื่อป้องกันวิกฤตหนี้ ประเทศยากจนจะต้องได้รับอนุญาตทันที ในการระงับการชําระหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้ภายหลังวิกฤต

ยิ่งกว่านั้น ยังต้องมีกลไกความป้องกันความเสี่ยงร่วมกันของหลายประเทศในระดับภูมิภาค โดยจัดตั้งกองทุน หรือคิดค้นความเป็นไปได้ของการออกพันธบัตรทางสังคม จัดหาเงินทุนสำหรับ SDGs โดยเฉพาะ

2.รัฐบาลและองค์กรการเงินยังคงต้องรักษาเสถียรภาพตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยอัดฉีดสภาพคล่องที่จําเป็น ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลต้องร่วมมือกับสถาบันการเงินเอกชน เพื่อให้ทั้ง SMEs และบุคคลธรรมดามีความสามารถในการชำระหนี้ ไม่ให้เป็น NPL

ในขั้นตอนต่อมา จําเป็นต้องส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืนต่อไป เช่น กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสําหรับผลิตภัณฑ์การลงทุนและข้อกําหนดสําหรับที่ปรึกษาเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

3. การตอบสนองนโยบาย ต้องเป็นเรื่องการสร้างของใหม่ ให้ดีกว่าของเก่า เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายด้าน การลงทุนภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น เสริมสร้างระบบการป้องกันทางสังคม ลงทุนเพิ่มเติมป้องกันวิกฤต, ลดความเสี่ยงและการวางแผน ขจัดอุปสรรคทางการค้าและกฎระเบียบที่มีผลต่อห่วงโซ่อุปทาน

นอกจากการตอบสนองต่อนโยบายข้างต้น นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางการเงินควรเก็บเกี่ยวประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัล และประเทศที่เปลี่ยนแปลงควรลงทุนมากขึ้นในพื้นที่นี้ เทคโนโลยีดิจิตอลมีคุณสมบัติเฉพาะที่ช่วยให้เกิดความช่วยเหลือแบบทั่วถึง มีประสิทธิภาพ ราคาถูกกว่า  ตัวอย่าง เช่น การรวบรวม กระบวนการ และค้นหาข้อมูล สินค้าและบริการดิจิทัลสามารถทําซ้ำได้แบบไม่มีต้นทุนเพิ่มเลยแม้แต่บาทเดียว และต้นทุนการขนส่งเกือบเป็นศูนย์

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดิจิทัลยังสร้างความไม่แน่นอนและความเสี่ยงใหม่ด้วย การเพิ่มขึ้นของระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (AI) อาจส่งผลเรื่องการตกงาน และเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันของค่าจ้าง ในบริบทนี้จําเป็นต้องใช้คนที่มีคุณภาพและสร้างงานที่ดีก่อน

สำหรับภาครัฐ, ไม่ควรเพียงแต่มุ่งเร่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี, แต่ต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการเลือกปฏิบัติ และทำให้แน่ใจว่า ผลประโยชน์เข้าถึงสังคมในภาพรวม

ปีนี้เป็นจุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการกระทํา ไม่ต้องสงสัยเลยว่า วิกฤต COVID-19 ทำให้เกิดความท้าทายแบบพิเศษเฉพาะ เพื่อบรรลุความสําเร็จของ SDGs นอกจากนั้น มันยังนําโอกาสพิเศษของความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียว มาให้แก่บรรดานักกิจกรรมและประเทศที่ทำงานแบบพหุพาคี มาร่วมกันสร้างโลกที่ดีขึ้น นำสู่การเกิดสุขภาพทางเศรษฐกิจสังคม ความเป็นอยู่ที่ดีทางการเงินสําหรับทุกคน

ที่มา
unescap

 

 

You Might Also Like