NEXT GEN

SCGC กับปีแห่งการรุกคืบนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ สานภารกิจ “The Green Solutions Leader”

20 ธันวาคม 2566…เพราะนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนโลกจะต้องเดินคู่ไปกับสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหัวใจที่ SCGC ยึดมั่นในการทำธุรกิจ โดยมุ่งมั่นที่จะเป็น “The Green Solutions Leader” ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาค และผู้นำธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืน

ในรอบปี 2566 นี้เราจึงเห็นการคิดค้นนวัตกรรมด้วยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation) ควบคู่ไปกับสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added) ของ SCGC ตลอดปีแบบไม่หยุดพัก เพื่อพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับเป็นมิตรกับลูกค้าและผู้บริโภคพลาสติกที่ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน

เริ่มจาก นวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMER™ ซึ่งพัฒนาขึ้นภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการเกิดของเสีย (Low Carbon, Low Waste) ตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งาน และโลกยั่งยืน โดยมีโซลูชันเพื่อสิ่งแวดล้อมครอบคลุม 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่

1.การลดใช้ทรัพยากร (Reduce) โดยพัฒนา SMX™ เทคโนโลยีที่สามารถทำให้เม็ดพลาสติกมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ช่วยลดความหนาของชิ้นงานลงได้แต่ยังมีความแข็งแรงดังเดิม

2.การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้ (Recyclable) สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกประเภท PE PP หรือ PO เพียงอย่างเดียวทั้งชิ้นงานได้ และคิดค้นสารเคลือบชั้นฟิล์มป้องกันการซึมผ่านของอากาศ รับรองมาตรฐานสากล เป็นรายแรกในอาเซียน โดย RecyClass ช่วยทดแทนการใช้วัสดุที่หลากหลายในแต่ละชั้น (Multi-Material) ของบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน ทำให้รีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin: PCR) จากกระบวนการ Mechanical Recycling สามารถใช้ทดแทนเม็ดพลาสติกใหม่ได้ตั้งแต่ 25–100% รวมถึงเม็ดพลาสติก Certified Circular Polyolefin Resin จากกระบวนการ Advanced Recycling เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วที่ยากต่อการรีไซเคิล มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของโรงงานปิโตรเคมี สามารถนำมาผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ได้อีกครั้ง โดยมีคุณสมบัติและคุณภาพเทียบเท่ากับเม็ดพลาสติกใหม่

4.การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Renewable) เป็นการพัฒนาเม็ดพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Bio Compostable Compound Resin) พร้อมให้นำไปขึ้นรูป ผลิตเป็นถุงย่อยสลายได้ นอกจากนี้ SCGC ยังได้ร่วมมือกับ Braskem เพื่อศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bio-Based Polyethylene) จากผลผลิตทางการเกษตรซึ่งถือเป็นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอีกด้วย

มากกว่านั้น SCGC ยังใช้กลยุทธ์ Global Collaboration ร่วมกับบริษัท/ผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก เร่งสปีดในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามทิศทาง Low Waste, Low Carbon เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน สะท้อนการดำเนินธุรกิจด้วย ESG (Environmental, Social and Governance) อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ

ซื้อกิจการ Kras ผู้นำด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อบูรณาการห่วงโซ่ธุรกิจการรีไซเคิลแบบครบวงจร ตั้งแต่การจัดเก็บพลาสติกเหลือใช้ การรีไซเคิล การแปรรูป และการเข้าถึงลูกค้าแบรนด์ต่าง ๆ ของยุโรป และเสริมความแข็งแกร่งให้กับสินค้าในกลุ่ม Green Polymer ของ SCGC ซึ่งประกอบไปด้วยโซลูชัน 4 ด้านดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

จับมือ SACMI พัฒนาฝาขวดน้ำอัดลมรักษ์โลก เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ผลิตฝาและเจ้าของแบรนด์เครื่องดื่ม เพื่อตอบรับเมกะเทรนด์บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก โดยนำนวัตกรรมเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC GREEN POLYMER™) ที่มีความแข็งแรงและเหนียวเป็นพิเศษมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อให้ฝาขวดและวงแหวนสามารถยึดติดกัน  เมื่อผู้บริโภคเปิดฝาขวดเพื่อใช้งาน วงแหวนบริเวณรอบฝาจะยึดติดกับคอขวด ไม่หลุดออกจากตัวขวดเหมือนแบบเดิม จึงช่วยลดการหลุดลอดสู่สภาพแวดล้อม  นอกจากนี้ยังสามารถนำฝาขวดทั้งชิ้นกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่าย เกิดการหมุนเวียนพลาสติกใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ร่วมกับ Avantium พัฒนาพอลิเมอร์ PLGA หรือ พอลิเมอร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นลบ (carbon-negative plastic)ด้วยวิธีการนำเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้เป็นสารตั้งต้น รวมทั้งไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในกระบวนการผลิต

SCGC จับมือ IHI ผู้ผลิตเครื่องจักรในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าและก่อสร้างขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ศึกษาและสร้างโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) เพื่อทดสอบเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Dioxide Capture and Utilization (CCU) เพื่อเปลี่ยนเป็นโอเลฟินส์เบา

ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท Braskem ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล ผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล นำไปผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ หรือ Green-PE (Green-Polyethylene) ซึ่งมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ (Negative carbon footprint) สามารถรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป

ขยายกำลังการผลิต ร่วมกับ Sirplaste ประเทศโปรตุเกส พร้อมลงทุนด้านเทคโนโลยีและเครื่องจักรใหม่ เพื่อขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงชนิดไร้กลิ่น (High Quality Odorless HDPE PCR Resin) ตอบรับเมกะเทรนด์ และรองรับตลาดบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกในยุโรปที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว

กล่าวได้ว่าตลอดปี 2566 SCGC เคลื่อนไหวในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์อย่างต่อเนื่องในปีนี้  เชื่อว่าปี 2567  SCGC ก็ยังคงเดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมสอดรับความต้องการโลกในปีหน้าทั้งด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของภูมิภาคไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำต่อไป

You Might Also Like