NEXT GEN

AIS อุ่นใจไซเบอร์ ผุดไอเดีย Edutainment สื่อสารภัยไซเบอร์ 7 ด้าน ผ่านนิยายแชท 7 เรื่อง ครั้งแรกบน “จอยลดา” พลิกวิธีการสื่อสารให้สังคมคน GenZ

19 กรกฎาคม 2565…. AIS อุ่นใจไซเบอร์ และ จอยลดา ส่ง Edutainment เสริมสร้างทักษะดิจิทัลเพื่อคนไทย Gen Z ตอกย้ำแนวคิด Digital Literacy ผ่าน “นิยายแชท” สะท้อนภัยไซเบอร์ ครั้งแรกในไทย พร้อมเผย 7 ทักษะสำคัญ ที่คนไทยต้องรู้เพื่อรับมือภัยไซเบอร์

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS และศาสตรา วิริยะเจริญธรรม กรรมการผู้จัดการ จอยลดา แพลตฟอร์มที่เป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่มีผู้ใช้งานรวมมากกว่า 10 ล้านดาวน์โหลด กล่าวถึงความร่วมมือสำคัญ และนับเป็นครั้งแรกในไทยที่พันธมิตรต่างวงการ มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน แต่สามารถสร้างImpact และการสื่อสารที่โดนใจให้สังคมคน GenZ ด้วยเป้าหมายเดียวกัน

“AIS มีภารกิจในการมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อคนไทยแล้ว สิ่งที่เดินคู่กันเสมอคือ การส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัล หรือ Digital Literacy  โดยการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐ เอกชน โดยหนึ่งในนั้นเป็นเรื่อง Wisdom ส่งการเรียนรู้ Cyber Wellness ด้วยการพัฒนาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ บนแพลตฟอร์มที่ให้คนไทยทุกวัยทุกระดับ สามารถเข้ามาเรียนรู้วัดระดับการรับมือกับภัยไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ”

สายชลอธิบายเพิ่มเติมถึงแนวทางการทำงานอุ่นใจไซเบอร์ 2 รูปแบบคือ การส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัล ด้วยการสร้างสื่อสาร สร้างการรับรู้ ด้วยการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย อาทิ การทำงานร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรมสุขภาพจิต พัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองดิจิทัลที่รับรองโดย สพฐ.กระทรวงศึกษาธิการ นับเป็นหลักสูตรด้านดิจิทัลครั้งแรกของประเทศ พร้อมทั้งสามารถวัดระดับทักษะดิจิทัล ขณะนี้อยู่ใน Sandbox ที่มีครูละนักเรียนอยู่ในพื้นที่จำนวนไม่น้อย และเมื่อได้รับการรับรองแล้ว คาดว่าจะมีครูทั่วประเทศใช้วิชานี้ 4-5 แสนคน ส่วนนักเรียน 4-5 ล้านคน พร้อมกันนี้มีเป้าหมายที่จะจะขยายเข้าโรงเรียนนานาชาติ และโรงเรียนกทม.ต่อไป

ส่วนรูปแบบที่สอง เมื่อ 4 ปีที่แล้ว สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ CEO AIS ได้ริเริ่มพัฒนาเครื่องมือเทคโนโลยีการป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยบริการดิจิทัล อาทิ AIS Secure Net, Google Family Link จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันที่ทุกคนอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 ใช้สื่อออนไลน์ โซเชียลมากขึ้น ทำให้เห็นความสำคัญการป้องกันภัยไซเบอร์ที่ AIS ริเริ่มไว้ รวมถึงล่าสุดมีบริการสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน AIS Spam Report Center

“อย่างไรก็ตาม การทำงานของอุ่นใจไซเบอร์กับนิสิตนักศึกษาเราก็ได้ผลการศึกษาถึงการรับสื่อคน Gen Z สนใจแพลตฟอร์มใหม่ ๆ อีกหลากหลายตามการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ อย่าง จอยลดา แพลตฟอร์มนิยายแชทยอดนิยม ซึ่งสอดคล้องกับความตั้งใจของเราในการถ่ายทอดเนื้อหาของหลักสูตรดังกล่าวด้วยรูปแบบใหม่ Edutainment ที่นำเนื้อหาด้านวิชาการมาปรับให้น่าสนใจเข้าใจง่าย ทำให้เราได้เริ่มต้นทำงานร่วมกับ จอยลดา ในการนำเนื้อหาจากหลักสูตรออกมาแปลงเป็นเนื้อหานิยายแชทครั้งแรกในไทย เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวปัญหาภัยไซเบอร์ 7 ด้านและ 7 ทักษะ ที่คนไทยควรรู้ ออกมาเป็นนิยายแชท 7 เรื่อง บนแพลตฟอร์มของจอยลดา”

ศาสตรา กล่าวในฐานะ “ชุมชนที่สร้างสรรค์” จอยลดาคัดเลือกเนื้อหานิยายแชทที่มีความเหมาะสมไว้เท่านั้น เมื่อได้ร่วมทำงานนี้กับ AIS อุ่นใจไซเบอร์ ทำให้ฉุกคิดได้ว่า มีบางอย่างที่ต้องเติม Project น้ำดีเข้ามา

“AIS นำเสนอปัญหา 7 ด้านและ 7 ทักษะนับเป็นสิ่งที่ดี ถือว่าครอบคลุมผู้ใช้งานไซเบอร์ขณะนี้ ซึ่งเด็กไทยเองควรมีทักษะตรงนี้มาก ๆ เพราะเป็นเรื่องที่อยู่รอบตัวหมดเลย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทุกวัน และเด็กต้อง Handel ปัญหา 7 ด้านอยู่แล้ว คอนเซ็ปต์เชิงวิชาการถูกย่อยลงมาในตัวละครที่เกิดขึ้น เป็นเหมือน ๆ ทุกคนที่ใช้ชีวิตในสถานการณ์ต่าง ๆ นับได้ว่าเป็นเรื่องที่มาถูกเวลา มีสีสัน ได้เรียนรู้ผ่านนิยายแชท ได้แนวทางการรับมือเมื่อเกิดภัยไซเบอร์ ทั้งได้ความสนุกจากนักเขียนของจอยลดาทั้ง 7 คน นับเป็นส่วนหนึ่งเติมเต็มกันได้พอดี และช่วยเสริม Positioning ของเราชัดเจน โดยต้องการที่จะทำให้คอมมูนิตี้ของจอยลดามีส่วนช่วยทำให้ปัญหาสังคมโดยเฉพาะภัยไซเบอร์ลดลงได้จากศักยภาพของเรา”

ทั้งนี้ ปัญหา 7 ด้านและ 7 ทักษะที่ควรรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ ถูกนำมาเสนอเป็นนิยายแชท

-Cyber Balance ทักษะการจัดสรรหน้าจอ เรื่อง Let’s Level Up! อย่าลาสแกรนมา
-Cyber Security การจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล เรื่อง Let’s Level Up! คุณพ่อผู้พิทักษ์
-Cyber Ability ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ เรื่อง Let’s Level Up! รู้ไว้ใช่ว่า…ฉบับป้ามหาภัย
-Cyber Safety การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ นำเสนอเรื่อง let’s level up! เพื่อเธอ เพื่อฝัน เพื่อฉันคนใหม่
-Cyber Identification อัตลักษณ์พลเมืองไซเบอร์ / Cyber Empathy มารยาททางไซเบอร์ เรื่อง Let’s Level Up! ขอเป็นนายแค่ 5 นาที
-Cyber Rights การจัดการความเป็นส่วนตัว เรื่อง Let’s Level Up! ความฝันของอันดา
-Cyber Communication ร่องรอยบนโลกออนไลน์ เรื่อง Let’s Level Up! หนึ่งคลิก… พลิกอนาคต

หนึ่งในนักเขียนณัฐธิดา หรือฟิล์ม นามปากกาที่เคยใช้มี Filmyoohoo และ Pizzakisster มีผลงานนิยายมากมาย พร้อมรางวัลจากการแข่งขันของจอยลดาจำนวนไม่น้อย หลังทำงานที่นี่มา 4 ปี ผลงานที่โด่งดังมากคือ คือ 10 วิธีบอกเลิกจีฮุน ผลงานล่าสุดที่ร่วมงานกับจอยลดาคือเรื่อง เจเดย์ | เจไนท์ ซึ่งเป็นนิยาย Joy Official

ส่วนการทำงานในความร่วมมือของ AIS อุ่นใจไซเบอร์และ Joylada ฟิล์มเขียนเรื่อง Let’s Level Up! รู้ไว้ใช่ว่า…ฉบับป้ามหาภัย เรื่อง Cyber Ability ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ความน่าสนใจของเรื่องนี้คือ มันเป็นเรื่องที่พบอยู่ทุกวัน หรือเรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ๆ การใช้สื่อโซเชียล การแชร์ข้อความลูกโซ่ การถูกโกงเงินเพราะรู้ไม่เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์

“ฟิล์มได้ไอเดียมาจากกลุ่มไลน์ครอบครัวของฟิล์มเอง เพราะที่บ้านจะมีญาติผู้ใหญ่ที่ชอบส่งข้อความลูกโซ่เข้ามาและทำให้ญาติคนอื่น ๆ อ่านแล้ว Panic ไปตาม ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่ข้อความเหล่านั้นไม่ได้เป็นความจริง เราเองก็ไม่อยากให้ข้อความเหล่านั้นถูกแชร์ต่อ เพราะมันคือการส่งต่อข้อมูลผิด ๆ ดังนั้นก็เลยมานั่งนึกว่าเราจะมีวิธีการไหนที่จะสามารถอธิบายให้คนในครอบครัวเข้าใจถึงจุดนี้ เพราะฟิล์มรู้ว่าเขาไม่ได้มีเจตนาร้าย ตรงกันข้ามเลยเขาอาจจะหวังดีเสียด้วยซ้ำที่ส่งข้อความเหล่านั้นมาให้เรา เพราะแบบนี้เราเลยอยากหาวิธีที่จะเป็นจุดตรงกลางทำให้เราและคนในครอบครัวเราสบายใจและไม่ตกเป็นเหยื่อของโซเชียล”

ฟิล์มอธิบายต่อเนื่อง เมื่ออ่านเรื่องนี้จะรู้สึกเหมือนกับว่า ถูกดึงเข้าไปอยู่ในกลุ่มไลน์ครอบครัวด้วยเลย มีความสนุกที่ต้องมาลุ้นว่า จะทำอย่างไรให้ตัวละครรู้เท่าทันสื่อโซเชียล ในขณะเดียวกันตัวละครก็จะต้องค้นหาความจริงว่า ใครกันแน่ที่เป็นภัยอันตรายที่น่ากลัวที่สุด จะเป็นคนบนโลกออนไลน์? คนใกล้ตัวอย่างเพื่อนข้างบ้าน? หรือตัวเธอเองที่เป็นคนแชร์ข้อมูลข่าวสารโดยไม่ได้ไตร่ตรองให้ดีก่อน?

“การเขียนเรื่องราวที่ต้องให้ความบันเทิงและให้ความรู้ไปด้วยสำหรับฟิล์ม ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะปกติฟิล์มจะกำหนดเป้าหมายในการเขียนนิยายเรื่องหนึ่งขึ้นมาเลยว่าเราอยากให้คนอ่านได้อะไรจากเรื่องที่เราเขียน ซึ่งเป้าหมายอาจจะเป็นความสนุกสนานหรือความรู้ก็ได้ อยู่ที่เรากำหนดเอง ฟิล์มมองว่าความรู้มันก็ทำให้สนุกได้ เป็นหน้าที่ของนักเขียนที่จะต้องนำเสนอความรู้นั้นให้ออกมาสนุกสนานในสไตล์ของเรา เราไม่จำเป็นต้องแยกความรู้ออกจากความสนุก เราสามารถสนุกไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ เช่นเดียวกับเรื่อง เช่นเดียวกับนิยายเรื่อง Let’s Level Up! รู้ไว้ใช่ว่า…ฉบับป้ามหาภัย”

ทั้ง 7 เรื่องเผยแพร่บนแอปพลิเคชัน Joylada และทาง Microsite (joylada.com/aisxjoylada) พร้อมกันนี้ ยังมีกิจกรรมมากมาย เพื่อสร้างเสริมความรู้และทักษะการใช้งานบนโลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยทุกการอ่านของทุกคนจะช่วยสมทบทุนบริจาคให้แก่ “มูลนิธิสายเด็ก 1387” ภายใต้แคมเปญ Let’s Level up ฝ่าภารกิจอัปเลเวลความรู้ สู่สุขภาวะดิจิทัลที่ดี

แม้ว่าระยะเวลาแคมเปญนี้ จะจบลงเดือนสิงหาคมก็ตาม แต่ศาสตรายืนยันว่า ทั้ง 7 เรื่องจะนำกลับมาเผยแพร่ให้อยู่แพลตฟอร์มจอยลดาตลอดเวลา ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ชัดเจนของ AIS ที่สายชลย้ำว่า AISอุ่นใจ Cyber ในแกน Wisdom ภายใต้ Cyber Wellness ไม่ใช่ Event Base ไม่ใช่ Cosmetic แต่เป็นเรื่อง Sustainability

“ภายใต้การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติอย่างรวดเร็วขณะนี้ เราไม่หยุดที่จะตั้งคำถามเพื่อหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อทำให้คนไทยมีทักษะดิจิทัล เข้าใจ รู้เท่าทัน ภัยไซเบอร์ โดยยังคงมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อขยายผลองค์ความรู้และเครื่องมือที่มีไปยังคนไทยทุกกลุ่ม รวมถึงวันนี้ AIS ยังเดินหน้าขยับเป้าหมายด้านการส่งเสริมทักษะดิจิทัล หรือ Digital Literacy ให้มีมาตรฐานใหม่ และมีดัชนีชี้วัดที่บ่งบอกถึงระดับทักษะการรับมือภัยไซเบอร์ที่จับต้องได้ ซึ่งกระบวนการทำงานในลักษะนี้จะทำให้ภารกิจการส่งเสริมทักษะดิจิทัลเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน” สายชลกล่าวในท้ายที่สุด

 

You Might Also Like