NEXT GEN

เปิดภารกิจ “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย” AIS 5G สู้ภัย COVID-19 ระลอก 3 การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

22 เมษายน 2564…ท่ามกลางการดำเนินธุรกิจของเอไอเอสตั้งแต่ COVID-19 ระบาดระลอกแรกต้นปี 2563 จนกระทั่งปัจจุบันมีการระบาดระลอกสาม แม้เอไอเอสมีการใช้งานสูงขึ้น 30% แต่การเติบโตอยู่ที่ 3-4% ซึ่งสูงกว่าจีดีพีของประเทศที่โต 2-3% เอไอเอสยังทำหน้าที่อีกด้านหนึ่ง ด้วยแนวคิด“เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย” ด้วย 4 แกนหลัก หวังความร่วมมือรัฐ เอกชน และประชาชน นำบทเรียนปีที่แล้วมาใช้เพื่อ “เตรียมพร้อม ต่อสู้ ปรับตัว”

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวถึงประสบการณ์ครั้งสำคัญในการนำศักยภาพ 5 G เอไอเอสเข้ามาใช้กับระบบสาธารณสุขไทยทันที เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ผ่าน โครงการ AIS 5G สู้ภัย COVID-19 โดยเป็นภาคเอกชนกลุ่มแรกที่นำขุมพลังของ 5G เข้าสนับสนุนการทำงานของภาคสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการออก Robot for Care มีหุ่นยนต์ต่าง ๆ ไปช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ในการลดความเสี่ยงต่าง ๆ มีการนำ AI สแกนปอด มีเรื่อง Tele Medicine ช่วยเหลือแพทย์ ฯลฯ และเมื่อผ่านช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว เอไอเอสยังทำงานต่อเนื่องเมื่อจะรับนักท่องเที่ยวเข้ามามีการนำร่องกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ “Digital Yacht Quarantine” ด้วย NB-IoT และสายรัดข้อมืออัจฉริยะซึ่งใช้เทคโนโลยีในการติดตามตัวด้วย 5G

นั่นคือภารกิจสำคัญและเร่งด่วนของเอไอเอสตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นว่านวัตกรรม 5G สามารถเชื่อมต่อกับภาคส่วนต่างๆ จนสามารถขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ทำให้การทำงานของเอไอเอสจึงไม่ใช่แค่การช่วยเหลือแบบเฉพาะหน้า แต่คือการมองตั้งแต่ต้นตอของปัญหาและสร้างโซซูชั่นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

“ต่อเมื่อมีระลอก 2 ที่สมุทรสาคร เราทำงานร่วมกับส่วนโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน โดยใช้ประสบการณ์จากโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ในระลอกแรก จนกระทั่งเกิดการระบาดระลอก 3ขณะนี้ AIS 5G สู้ภัย COVID-19 ระลอก 3 เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย ทุกคน โดยเราจะทำทั้งหมด 4 แกนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น”

1.โรงพยาบาลสนาม ติดตั้งเครือข่าย AIS 5G ,4G, Free Wifi ในโรงพยาบาลสนามหลักกว่า 31 แห่ง มากกว่า 10,000 เตียง ทั่วประเทศ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น เชื่อมต่อระบบ CCTV เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วย, การส่งต่อข้อมูลการแพทย์ ตลอดจนให้ผู้ป่วยที่กักตัวสามารถสื่อสาร ติดตาม ข่าวคราวความเคลื่อนไหวให้คลายความกังวล มีกำลังใจในการฟื้นฟูสุขภาพ

2.การแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เทคโนโลยีที่ช่วยลดภาระการทำงานของแพทย์และพยาบาล ในการติดต่อสื่อสาร กับผู้ป่วย ที่ช่วยลดการสัมผัส และลดความแออัด โดยเบื้องต้นได้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น “Me -More” ให้บริการในโรงพยาบาลสนามในเครือกรุงเทพมหานคร

3.5G AI อัจฉริยะ เดินหน้าร่วมมือกับราชวิทยาลัย จุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลเครือข่าย คือ โรงพยาบาลน่าน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ โดยการนำ AI CT Scan ปอด เข้ามาให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยจะช่วยวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณ จากการตรวจวินิจฉัยทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ปอดของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและโซลูชันปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) กับแพลตฟอร์มที่ได้รับการเทรนจากข้อมูลของผู้ป่วยจริงในประเทศจีน ซึ่งเป็นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำ รวดเร็ว และ สามารถวิเคราะห์ผลได้ภายในเวลาเพียง 25 วินาทีต่อ 1 เคส ความแม่นยำสูงสุดในการวินิจฉัยสูงถึง 96% นับว่ามีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง

นวัตกรรมนี้จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับความปลอดภัย ลดปริมาณการตรวจสารคัดหลั่ง ลดจำนวนชุดตรวจ COVID-19 ช่วยลดการใช้ PPE และแบ่งเบาภาระให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และช่วยให้บุคลากรหลายๆ ท่านสามารถกระจายตัวไปดูแลเคสผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ที่สำคัญ เป็นการสร้างความเท่าเทียมในการได้รับโอกาสทางสาธารณสุข ผ่าน 5G ได้อย่างชัดเจน

4.อสม.เอไอเอส ยังคงเสริมขีดความสามารถของ อสม. อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมี อสม.มากกว่า 5 แสนรายที่ใช้งาน แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ช่วยในการรายงาน การคัดกรอง เฝ้าระวัง รวมถึงติดตามผลในกลุ่มเสี่ยง รวมถึงสำรวจสุขภาพจิตจากความเครียดที่มาจากผลกระทบของ COVID-19 โดยเฉพาะในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ที่มีการเดินทางของกลับบ้านของคนเมือง ยิ่งจะทำให้การทำงานของ อสม.ต้องยิ่งมีความเข้มข้นขึ้นมากกว่าเดิม

“ทั้ง 4 แกนเป็นการทำงานอย่างต่อเนื่องตามระบบที่เราทำตั้งแต่การระบาดระลอกแรก เพียงมีการเพิ่มเติมเข้าไปทั้ง 4 แกน เช่นการขยายเน็ตเวิร์ก ในอดีตเราขยายในโรงพยาบาลจริง ๆ กว่า 20 แห่ง แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป คนไข้มากขึ้นเกิดโรงพยาบาลสนาม เราก็ขยายเทคโนโลยีเหล่านี้ในโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม”

สมชัย ขยายความต่อเนื่องถึงแนวคิด “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย” ซึ่งเอไอเอสไม่สามารถทำคนเดียวได้ จำเป็นที่ทุกภาคส่วนของสังคมไทยจะต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน ด้วยโมเดล 3 ประสาน ที่แข็งแรงคือ รัฐบาล เอกชน และประชาชน ต้องร่วมมือกันเพื่อสู้กับภัย COVID-19 อย่างมีประสิทธิภาพที่จะต้อง “เตรียมพร้อม ต่อสู้ ปรับตัว” ให้ได้

“สิ่งที่ผมอยากเสนอ 3 ประสานต้องทำงานเข้มแข็ง ภาครัฐต้องเตรียมพร้อมให้ได้ในเรื่องวัคซีน ต้องฉีดให้คนไทย 70% ขึ้นไปตามเกณฑ์ เพราะวัคซีนคือคำตอบจริง ๆ ในวันนี้ เราต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยเดินต่อไปข้างหน้าให้ได้ ไม่ให้เกิดระลอกสี่ ห้า

ภาครัฐมีมาตรการเยียวยาที่ยั่งยืน ช่วยเหลือคนที่ได้ผลกระทบอย่างจริงจัง ส่วนภาคเอกชนอยากให้เกิดความร่วมมือกันในการช่วยเหลือประชาชนคน นอกจากนี้องค์กรใหญ่จำเป็นต้องคำนึงถึงการเป็นปลาใหญ่ช่วยปลาเล็กให้เติบโต

ซึ่งเอไอเอสเองจะทำหน้าที่ Provide แพคเกจต่าง ๆ เพื่อช่วยรายเล็กฟื้นกลับมา และภาคประชาชน ปรับตัวเอง รู้จักประหยัด ได้เงินชดเชยต่าง ๆ มาก็ต้องนำไปใช้ในสิ่งที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ หรือธุรกิจที่ทำอยู่จริง ๆ เพื่อการอยู่รอดระยะยาว และวันนี้เป็นยุค Digitalization อยากให้เพิ่มเทคโนโลยีในการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายด้วยเทคโนโลยี”

การจะ “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย” ตามแนวทางของเอไอเอสได้นั้นคงจะไม่ใช่เรื่องยาก หากวิธีคิดของการทำงานรวมถึงการวางนโยบายถูกปูทางให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในมุมมองของเอไอเอสก็ทำให้เราเห็นแล้วว่า เทคโนโลยี 5G สามารถผนวกกับเรื่องต่างๆ ได้ แม้ว่าการมาของ 5G จากเอไอเอสจะมาในช่วงที่ประเทศวิกฤต แต่กลับทำให้เราได้เห็นศักยภาพในมุมมองด้านสาธารณสุขที่ 5G สามารถเข้าไปยกระดับได้อย่างมากมาย

ในวิกฤต ทำให้เห็นโอกาสของการพัฒนาด้านสาธารณสุขไทยให้ก้าวหน้าไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยี 5G ซึ่งวันนี้เราได้เห็นต้นแบบที่น่าสนใจอย่าง เอไอเอส เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

You Might Also Like