NEXT GEN

เจาะลึกความเหลื่อมล้ำไทย แก้ได้ไหม แก้อย่างไร

23 เมษายน 2564…SD PERSPECTIVES  นำข้อมูลของ KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์ภาพรวมความเหลื่อมล้ำไทย (1) ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยปรับตัวดีขึ้นแต่เกิดจากการรับเงินโอนจากภาครัฐและคนในครัวเรือน มิใช่จากผลิตภาพของแรงงานที่มากขึ้น (2) ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูงที่สุดอันดับต้น ๆ ของโลกและยังคงเพิ่มขึ้นเร็ว (3) ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้จากตัวเลขทางการอาจต่ำกว่าความเป็นจริงจากข้อจำกัดด้านข้อมูล (4) ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยอัตราเติบโตลดลงเรื่อย ๆ พบว่ารายได้เติบโตเฉพาะในกลุ่มคนรวย

4 เรื่องสำคัญที่อธิบายความเหลื่อมล้ำในอดีตและความท้าทายในอนาคตของไทย คือ (1) ประชากรถึง 1 ใน 3 ทำงานในภาคเกษตรและเจอปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ (2) ประชาชนได้รับโอกาสอย่างไม่เท่าเทียมตั้งแต่การศึกษา การทำงาน การทำธุรกิจ และสวัสดิการพื้นฐาน (3) โควิด-19 จะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำแย่ลงเพราะกระทบกับกลุ่มคนเปราะบาง (4) ปัญหาสังคมสูงวัยจะมีความท้าทายเพิ่มขึ้นในครัวเรือนที่ยังมีสถานะทางการเงินไม่พร้อม

สถาบันการเมืองไม่เชื่อมโยงกับความรับผิด (Accountability) เป็นปัจจัยที่ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลให้ประชาชนในประเทศมีอำนาจทางการเมืองที่ไม่เท่าเทียมและนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ฉุดรั้งการเติบโตระยะยาว

KKP Research ประเมินว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำสามารถแก้ไขได้และหัวใจหลักอยู่ที่การแก้ไขกลไกในระบบเศรษฐกิจที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ (1) กลไกทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม (2) กลไกทางภาษีในการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง (3) กลไกสวัสดิการของรัฐ (4) กลไกบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง (5) กลไกกระจายอำนาจการเมืองและการคลัง

ความเหลื่อมล้ำไทยรุนแรงแค่ไหน ?

 

คลิกภาพขยายใหญ่

ภาพรวมความเหลื่อมล้ำไทยอยู่ในระดับค่อนข้างสูงในทั้งมิติของรายได้ และความมั่งคั่ง คำถามสำคัญคือ ประเทศไทยอยู่จุดไหนเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก และมีพัฒนาการเป็นอย่างไร

(1) ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยปรับตัวดีขึ้นแต่เกิดจากเหตุผลที่ไม่ยั่งยืน ในมุมมองระยะยาว แต่เกิดจากเงินช่วยเหลือจากภาครัฐและเงินโอนเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว ซึ่งไม่ยั่งยืนและไม่สะท้อนผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นของแรงงานโดยตรง

คลิกภาพเพื่อขยาย

 

(2) ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก และมีแนวโน้มสูงขึ้นเร็ว เมื่อเทียบกับประเทศอื่น Credit Suisse ประเมินว่า คนรวยที่สุด 10% ของไทยถือครองสินทรัพย์มากถึงกว่า 77% ของคนทั้งประเทศ และสัดส่วนสินทรัพย์ที่ถือครองโดยคน 1% ที่รวยที่สุดเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดระหว่างปี 2008-2018

คลิกภาพเพื่อขยาย

คลิกภาพเพื่อขยาย

(3) ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของไทยในความเป็นจริง อาจสูงกว่าตัวเลขทางการ ตัวเลขความเหลื่อมล้ำไทยทางด้านรายได้ มักอ้างอิงจากข้อมูลแบบสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งมีความครบถ้วนที่สุด อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในแบบสำรวจมีแนวโน้มเป็นกลุ่มคนรายได้น้อยและไม่รวมคนรายได้สูงทำให้เลขความเหลื่อมล้ำต่ำกว่าความเป็นจริง

(4) เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาโตแบบไม่ทั่วถึง รวยกระจุกจนกระจาย ในมิติการเติบโตของรายได้ ข้อมูลสะท้อนภาพชัดเจนว่ากลุ่มคนรายได้สูงมีรายได้ที่เติบโตสูงขึ้นเร็วกว่าคนรายได้น้อย

คลิกภาพเพื่อขยาย

เหตุใดไทยยังเหลื่อมล้ำสูง และอนาคตจะเป็นเช่นไร

คลิกภาพขยายใหญ่

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำที่สูงเกิดจากทั้งปัจจัยภายนอก ปัจจัยเชิงนโยบายและโครงสร้างเศรษฐกิจ คือ

(1)ความเหลื่อมล้ำลดลงแต่กลับเร่งขึ้นอีกจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เนื่องจากคนไทยสัดส่วนกว่า 31% ทำงานอยู่ในภาคเกษตรเมื่อการเติบโตของรายได้อยู่ในระดับต่ำทำให้ความเหลื่อมล้ำกว้างขึ้น

คลิกภาพเพื่อขยาย

(2) ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งในมิติของโอกาสทางการศึกษาที่ไม่ครอบคลุมและมีคุณภาพแตกต่างกันมาก สิทธิแรงงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ค่าแรงที่เติบโตช้ากว่าเศรษฐกิจ กำไรที่กระจุกตัวอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่ทำให้รายเล็กแข่งขันยาก และภาครัฐยังขาดมาตรการสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือคนรายได้น้อยอย่างเป็นระบบ

คลิกภาพเพื่อขยาย

 

คลิกภาพเพื่อขยาย

(3) เหตุการณ์โควิด-19 จะยิ่งทำให้ภาพความเหลื่อมล้ำแย่ลงกว่าเดิม โควิดกระทบรายได้ของกลุ่มฐานของปิรามิดรุนแรงกว่ากลุ่มบน แรงงานนอกระบบมีจำนวนมาก ขาดรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็งพอ ระบบคุ้มครองทางสังคมของไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบในระดับสากล

คลิกภาพเพื่อขยาย

(4) ประเทศไทยที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุจะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำแย่ลง

การเมือง หนึ่งในรากลึกปัญหาความเหลื่อมล้ำ

คลิกภาพขยายใหญ่

การขาดกลไกที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำเป็นหนึ่งในผลพวงที่เกิดจากสถาบันการเมืองที่มีลักษณะไม่เชื่อมโยงกับความรับผิดต่อส่วนรวม (Accountability)

ผลลัพธ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากระบบการเมืองที่ขาดประสิทธิภาพของไทย คือ

(1)เสรีภาพของสื่อ ซึ่งเป็นตัวสะท้อนสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบการทำงานของรัฐ ที่ไทยอยู่ลำดับที่ 113 จาก 141 ประเทศ

(2) ด้านความปลอดภัยของประชาชนและการคอร์รัปชั่นได้คะแนนที่ค่อนข้างต่ำ

(3) การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ดีนัก

(4) กฎหมายกำกับการแข่งขันที่ไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่

ถึงเวลาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นระบบ

คลิกภาพขยายใหญ่

KKP Research ประเมินว่าหัวใจหลักของการแก้ปัญหานี้อยู่ที่การแก้ไขกลไกในระบบเศรษฐกิจที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะในด้านโอกาส

กลไกลดความเหลื่อมล้ำที่สำคัญ สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ

(1)กลไกทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม สร้างเวทีที่เปิดโอกาสให้ทุกคนแข่งขันบนความเท่าเทียม

(2)กลไกทางภาษีในการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง โดยใช้ระบบภาษีรายได้ในอัตราก้าวหน้า

3)กลไกสวัสดิการของรัฐ ที่ทำให้คนเข้าถึงการศึกษา บริการทางสาธารณสุข สินเชื่อ ที่มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น รวมทั้งการมีโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Net) ที่เข้มแข็ง

(4)กลไกบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งทางตรงและคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในด้านการเข้าถึงอำนาจทางการเมือง

(5)กลไกกระจายอำนาจทางการเมืองและการคลัง โดยมีการจัดสรรทั้งอำนาจทางการเมืองและอำนาจทางการคลังไปสู่รัฐบาลท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

คลิกขยายภาพ

 

พัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเติบโต ไม่จำเป็นต้องแลกมาด้วยความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงมากขึ้น การคำนึงถึงประชาชนทุกกลุ่มในการออกแบบนโยบายภาครัฐ และความตั้งใจจริงในการยกระดับคุณภาพชีวิตคือจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

คลิกอ่านฉบับเต็ม KKP Research

You Might Also Like