CIRCULAR ECONOMY

ร่วมมือเปลี่ยนวิถีการใช้ทรัพยากรของโลกให้กลายเป็นไลฟ์สไตล์

19 กันยายน 2562…แม้ว่าลักษณะการทำธุรกิจของ GC ที่เป็น B2B ทำให้ GC ต้องยิ่งต้องพยายามมากยิ่งขึ้นในการสะท้อนคุณค่าขององค์กรในเรื่องดังกล่าวออกไปสู่สังคม

GC เป็นบริษัทปิโตรเคมีในกลุ่ม ปตท. ที่มีเป้าหมายหลักในเรื่องการสร้างความยั่งยืนของสังคม โดยมีพันธกิจในการสร้างผลิตภัณฑ์จากเคมีที่สร้างความสุขให้กับทุกคนในชุมชน

โสมรสา พงษ์เพิ่มพฤกษ์ ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานสื่อสารละภาพลักษณ์องค์กร บมจ.พีทีทีโกลบอลเคิคอล (GC) กล่าวว่า GC มีแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน 3 บริบท กล่าวคือ People Planet Profit

Profit ดำเนินธุรกิจโดยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ด้วยการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)เข้ามาดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หมายถึงตั้งแต่กระบวนการออกแบบ และการหาวัตถุดิบ จนถึงปลายทางที่ได้มาซึ่งเม็ดพลาสติก ในเวลาเดียวกันก็ยังนำขยะพลาสติกนำกลับมา Recycle และ Recycling ให้กลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม

People และ Planet เป็นบริบทที่อยู่คู่กัน ทั้งนี้ GC มีกระบวนการทำงานเพื่อ Share Value ให้กับชุมชน และสิ่งแวดล้อม ผ่านการทำงานร่วมกันกับพันธมิตร เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมสร้างประสบการณ์ในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปด้วยกันระหว่างลูกค้า และชุมชน

“ถึง GC จะทำธุรกิจแบบ B2B ไม่ได้ขายสินค้าโดยตรงไปยังผู้บริโภคก็ตาม แต่เราคิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องสื่อสารให้ทุกคนรับรู้แบรนด์ GC ให้เขารู้ว่าทำไมต้องมีบริษัทปิโตรเคมีอย่าง GC ซึ่งเป็นบริษัทปิโตรเคมีของคนไทยและดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทย”

เศรษฐกิจหมุนเวียนต้องอาศัยความร่วมไม้ร่วมมือจากทุกฝ่าย ล่าสุด GC ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ บริษัท แอลพลา จำกัด หรือ ALPLA ร่วมลงทุนก่อตั้งบริษัท เอ็นวิคโค จำกัด เป็นโรงงานในจังหวัดระยองผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ชนิด rPET และ rHDPE ที่มีมาตรฐานยุโรปแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่ง GC ตั้งใจให้โรงงานแห่งนี้เพื่อเป็นโรงงานต้นแบบของการความร่วมมือกับสังคมตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยที่ต้นทางจะเป็นการนำพลาสติกที่ใช้แล้วนำกลับมาเข้ากระบวนการให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้พลาสติกใช้แล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างคุ้มค่า

โครงการ ThinkCycle Bank หรือธนาคารทิ้ง ไซเคิล

ส่วนภาพความร่วมมือกับชุมชน GC มีการเปิดตัวโครงการ ThinkCycle Bank หรือธนาคารทิ้ง ไซเคิล มุ่งให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในการจัดการขยะให้กับเด็กและเยาวชนในจังหวัดระยอง ถือเป็นจุดเริ่มต้นการจัดการขยะโดยเริ่มจากการแยกขยะในครัวเรือนและโรงเรียน

อย่างไรก็ดี GC ยังคงเดินหน้าสร้างภาคีเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเข้าไปสนับสนุนการจัดงาน SB’ 19 Oceans & Beyond Chumphon, Thailand เป็นปีที่ 3 แล้ว

“เรามองว่าได้ GC ได้อะไรจากงาน SB เยอะมาก ได้ทั้งการเรียนรู้ แรงบันดาลใจ และความหลากหลายของตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในการทำให้แบรนด์ยั่งยืน ทั้งจากองค์กรขนาดใหญ่ ตลอดจนเอสเอ็มอี, Social Enterprise และสตาร์ทอัพ ทุกครั้งของการจัดงาน เหมือนเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ GC ได้เข้าไปช่วยเหลือพันธมิตรในบางมิติได้ เพราะเราไปบอกว่าเรามีความพร้อมในด้านนวัตกรรม พร้อมในทรัพยากรหลายๆ ที่ทำให้คนที่เข้าไปร่วมงานเอามาเติมเต็มเป็นจิกซอว์ให้กับตัวเอง ในเวลาเดียวกันงาน SB ก็ได้ทำให้เรามีเครือข่ายการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับโครงการของเราเอง หรือต่อยอดโครงการอื่นๆ ที่เข้าไปในงาน”

แน่นอนว่ายิ่งธีมการจัดงาน SB ในปีนี้หยิบยกประเด็น Ocean & Beyond ยิ่งเชื่อมโยงกับโครงการ Upcycling the Ocean Thailand ของ GC โดยตรง

“ครั้งนี้จะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้นำ Mr.Javier Goyeneche Founder and President of ECOALF หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของเราเข้าไปเป็นวิทยากร ในฐานะบริษัทที่ใช้นวัตกรรมนำขยะทะเลมาเพิ่มมูลค่าผ่านวิธี Upcycling ซึ่งในงานนี้เราคงเข้าไปแบ่งปันประสบการณ์ด้านปัญหาที่เกิดขึ้น อุปสรรค และวิธีการที่เราก้าวข้ามผ่านมาได้ยังไง เพราะโปรเจ็กท์ Upcycling the ocean Thailand นี้เราทำมา 3 ปีแล้ว พอจะมีการเรียนรู้ระดับหนึ่งพอสมควร จากการวัดผลในปี 3 ของเราค่อนข้างเห็นผลชัดเจนว่า เรารวบรวมขยะได้เท่าไหร่ ผลิตสินค้าที่เพิ่มมูลค่าเป็นมูลค่าเท่าไหร่ หรือสร้าง PR Value ได้อย่างไร”

โสมรสา ยังกล่าวเพิ่มว่า Upcycling the ocean Thailand จะเป็นโมเดลที่ทำให้ชุมชนในพื้นที่ที่จัดงานสามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากนัก ที่สำคัญยังเป็นโมเดลที่สามารถนำไปขยายผลได้ทั่วประเทศไม่เฉพาะภาคใต้

โสมรสา ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ Upcycling By GC ซึงจับต้องใช้ได้จริง

“วันนี้เรามองไกลมากไปกว่า Upcycling the Ocean เพราะเราได้ต่อยอดโครงการเป็น Upcycling By GC เพื่อให้เกิด Circular Living ขึ้นจริง ๆ เชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตคน หรือสามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือในระดับองค์กรก็ได้ เราอยากให้มันเกิดในระดับที่ขยายผลไปจังหวัด หรือองค์กรอื่น ๆ”
SB’ 19 Oceans & Beyond Chumphon จะเป็นโอกาสให้เกิด Co-creation ใหม่ ๆ กับการที่ GC ทำโครงการ Upcycling By GC นำขยะใช้แล้วจากต้นทางมา Upcycling ได้

“Circular Economy เป็นหัวใจในการสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืน และการสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และรัฐบาล ในการดูแลทรัพยากรโลก ดังนั้นการขยายผลไปสู่ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าเราไม่มี Believe และถ้าเรามี Believe แล้ว การทำให้เกิดขึ้นได้จริงก็ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อขยายเป็นวงกว้างในการเปลี่ยนวิถีการใช้ทรัพยากรของโลกให้กลายเป็นไลฟ์สไตล์ของผู้คนเหมือนที่เกิดขึ้นแล้วในยุโรป” #SB19Chumphon

เครดิตภาพใต้น้ำ

 

You Might Also Like