CIRCULAR ECONOMY

เมื่อสถาปนิกยุติวิชาชีพ สร้าง CupClub หยุดการโยนถ้วยกาแฟทิ้งทุกวัน

29 กันยายน 2562…โดยเฉลี่ย ถ้วยกาแฟสามารถใช้ซ้ำได้ 132 ครั้ง ต่อจากนี้เป็นวิธีทดลองใช้สำหรับคนที่รู้สึกผิดกับการโยนถ้วยของคุณทิ้งทุกวัน CupClub มีแผนให้กับเรื่องข้างต้น

มีประมาณการว่า ทั่วโลกมีการทิ้งถ้วยกาแฟประมาณ 600,000 ล้านใบทุกปี นั่นหมายถึง ฝาพลาสติก 600,000 ล้านใบ และกระดาษเคลือบ 600,000 ล้านชิ้น เป็นฉนวนพลาสติก ทั้งสองอย่างรีไซเคิลไม่ได้

Safia Qureshi สถาปนิกซึ่งได้รับรางวัลสำคัญ ๆ มาแล้วมากมาย ผู้ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ออกแบบอพาร์ทเมนท์สุดหรู และพื้นที่ว่างให้ลูกค้าระดับ High-End เช่น โรงยิมส่วนตัว ตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางการฝึกฝนตัวเอง เพื่อคิดค้นทางเลือกที่ดีกว่าถ้วยกาแฟแบบใช้แล้วทิ้งที่จำหน่ายโดยร้านกาแฟทั่วโลก

“สำหรับดิฉัน ผู้ขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผู้ละจากงานสถาปัตยกรรมมา ก็คือสามารถออกแบบสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้คนมากมายหลากหลายใช้ได้ แทนที่จะเป็นเพียงแค่ชนชั้นผู้มั่งคั่งทางสังคมเท่านั้น ดิฉันต้องการสำรวจ สร้าง และพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ว่าคุณเป็นใครก็สามารถใช้”

6 ปีก่อน เธอกับ Maxwell Mutanda เพื่อนสถาปนิก ร่วมก่อตั้ง Studio [D] Tale ขึ้นในลอนดอน โดยใช้การออกแบบ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบสูงในเมืองต่างๆ ต่อมา ช่วง 4 ปีที่แล้ว พวกเขาหันมาให้ความสนใจกับการคิดค้นเรื่อง Circular สำหรับถ้วยที่นำไปใช้ได้ง่ายทั้งร้านกาแฟ และนักดื่มกาแฟ

ขณะนั้น ไม่มีใครสนใจเรื่องพลาสติกอย่างกว้างขวางเหมือนตอนนี้ แต่ Qureshi รู้สึกว่าจุดเปลี่ยนใกล้จะเกิดขึ้น

“ดิฉันมองเห็นว่าการระบาดของพลาสติกจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในไม่ช้า จากการเป็นสถาปนิกที่ออกแบบทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเมือง เราเคยคิดถึงปัญหาที่ผู้คนต้องเผชิญในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้า ดังนั้นเราจึงตัดสินใจครั้งสำคัญ ที่จะเน้นมาที่เรื่องนี้”

ปัญหากับถ้วยกาแฟ

เคยมีความพยายามมากมายที่จะทำให้การดื่มกาแฟตามที่ต่าง ๆ เป็นไปอย่างยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งรวมถึงโปรแกรมอย่าง Cup-Sharing ที่เคยมีคนทำแล้ว ขณะที่นักดื่มแบบ Eco-Friendly บางคนถือถ้วยกาแฟที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้เข้าร้านกาแฟ แต่ก็พิสูจน์ได้ยากว่าจะทำให้ผู้บริโภคทุกคนเปลี่ยนไปทำแบบนี้

“เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน เราต้องทำให้เป็นเรื่องง่ายที่สุด เราจำเป็นต้องกำจัดทุกสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าพวกเขาไม่ต้องการทำ ซึ่งก็คืออย่าลืมนำถ้วยของพวกเขามาด้วย จากนั้นก็อย่าลืมล้างตอนกลับบ้าน ใส่กลับไปในกระเป๋า จากนั้นทำสิ่งเดียวกัน ครั้งแล้วครั้งเล่าทุกวัน”

ขณะเดียวกันการรีไซเคิลถ้วยกระดาษที่มีอยู่เป็นเรื่องแทบเป็นไปไม่ได้

“แผ่นพลาสติกด้านในของถ้วยและกระดาษด้านนอกถูกผนึกเข้าด้วยกันเมื่อใดก็ตามที่รวมวัสดุเข้าด้วยกัน การแยกและรีไซเคิลวัสดุเกือบเป็นไปไม่ได้ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการใช้วัสดุอย่างเดียวจึงสำคัญมาก”

หากต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบจริง Qureshi เชื่อว่าจำเป็นต้องสร้างระบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาปนิกคุ้นเคย

Photo : cnn/CupClub

“วิชาสถาปัตย์เป็นเรื่องของการแก้ปัญหา และการหาวิธีการแก้ปัญหาที่นำชิ้นส่วนที่ซับซ้อนหลายอย่างมารวมกันสิ่งที่ดิฉันเรียนรู้มาทำให้มีแผนที่บอกว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร”

ถ้วยกาแฟเป็นการ “บริการ”

Qureshi ได้คำตอบในวันหนึ่งขณะเดินทาง เธอสังเกตเห็นเพื่อนสามคนนั่งอยู่บนรถไฟใต้ดินในลอนดอนพร้อมกับถ้วยกาแฟที่ดูมีสไตล์ และแปลกใหม่ที่พวกเขาดื่มระหว่างเดินทาง จากนั้นเมื่อพวกเขามาถึงจุดหมายปลายทาง พวกเขาก็ออกจากชานชาลาแล้วทิ้งถ้วยลงไปในถังขยะ

นั่นทำให้เธอฉุกคิดว่า มันเป็นไปได้ที่จะสร้าง Circular System ที่คุณนำถ้วยที่ใช้แล้วโยนไปที่ Collection Center แทนที่จะเป็นถังขยะ ซึ่งกระบวนการต้องสะดวกเท่า ๆ ของเดิม แต่ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง
“มีความพยายามอย่างมากในการผลิตถ้วยกระดาษให้ดูสวยเหมือนสินค้าหรูหรา แต่ทำไมไม่ไปตลอดทางล่ะ? ทำไมไม่ลองใช้ความคิดการออกแบบนั้น และสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถคืน และนำกลับมาใช้ใหม่ได้”

เดือนมิถุนายน 2019 เธอเปิดตัวธุรกิจใหม่ชื่อ CupClub โดยผลิตถ้วยพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับร้านกาแฟ สามารถใช้ถ้วยละ 132 ครั้งก่อนนำไปรีไซเคิล มีจุดรับส่งถ้วยทั่วลอนดอน ทุก ๆ วัน CupClub รวบรวมถ้วยที่ใช้แล้ว ทำความสะอาดโดยใช้เครื่องล้างขนาดใหญ่ แล้วแจกจ่ายกลับไปให้ร้านกาแฟในระบบ ซึ่งนอกเหนือจากแก้ปัญหาเรื่องลดขยะแล้ว Qureshi ยังคำนวณว่าระบบยังใช้คาร์บอนเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับการใช้ถ้วยแบบใช้แล้วทิ้งด้วย

ขณะที่ระบบนี้ดูเหมือนใหม่ และเป็นกระแสที่ผู้คนสนใจในเมืองที่ทันสมัย แต่จริง ๆ แล้ว มีหลายสถานที่ที่มันทำงานได้ดี ยกตัวอย่างเช่นในอินเดีย ร้านขายชาใช้ถ้วยสแตนเลส ผู้คนดื่มบนถนน จากนั้นผู้ขายก็มารับ ล้างและนำกลับไปใช้ใหม่ ในบางตลาดทั่วโลกรวมถึงเอเชียใต้ Coca-Cola ส่งเครื่องดื่มไปยังผู้จัดจำหน่ายโดยใส่ขวดแก้ว จากนั้นก็มีผู้รวบรวม เก็บ ล้าง Refill และส่งเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง ทำซ้ำทุกวัน

ในวัฒนธรรมแบบนี้ ความคิดในการคืนถ้วยได้ถูกทำให้เป็นมาตรฐาน และ Qureshi เชื่อว่าสิ่งเดียวกันอาจเกิดขึ้นกับ CupClub ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาร้านกาแฟในกรุงลอนดอนหลายแห่งได้นำระบบใหม่นี้มาใช้แล้วและถ้วยกาแฟมากกว่า 100,000 ถ้วยได้ถูกเปลี่ยนจากถูกส่งไปโรงงานเก็บขยะ กลับไปสู่ร้านค้า

Photo : CupClub

Qureshi กล่าวว่า โครงการช่วยให้ร้านกาแฟประหยัดต้นทุนเรื่องถ้วยกาแฟแบบใช้แล้วทิ้งอย่างมาก ทั้งนี้ CupClub ตั้งเป้าที่จะให้บริการถ้วยกาแฟ 6 ล้านใบในปีแรก “ เราคิดว่าธุรกิจนี้เป็น Packaging as a service” Qureshi กล่าว

การออกแบบถ้วยที่ใช้งานครั้งเดียว

Quereshi จัดทำถ้วยและฝาปิดจากโพรพิลีนความหนาแน่นต่ำ ซึ่งสามารถรีไซเคิล 100% ถ้วยมันวาวสีขาวรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับถ้วยที่ใช้แล้วทิ้งในตลาด ความท้าทายสำคัญของ CupClub ก็คือ การติดตามถ้วยเหล่านี้ถูกนำออกไปสู่ท้องตลาด ด้วยเหตุนี้แต่ละถ้วยจะติดตั้งชิป RFID ที่ทำให้สามารถระบุที่อยู่ได้ตลอดอายุการใช้งาน

ในระบบที่พวกเขาคิดขึ้นมา ลูกค้าต้องเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ CupClub โดยดาวน์โหลดแอพ และเมื่อใดที่พวกเขาอยู่ที่ร้านกาแฟให้บริการถ้วย พวกเขาก็ใช้บริการได้ ถ้าลูกค้าไม่ส่งคืนถ้วยหลังจากผ่านไปหลายวัน CupClub จะถือว่าลูกค้าต้องการเก็บถ้วย และจะถูกคิดค่าบริการใบละ 3 เหรียญสหรัฐ

“ เราทำให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มมีคนดาวน์โหลด เราอธิบายว่า เรามี Passion ในการช่วยโลกก็จริง แต่ก็ต้องการให้คุณคืนถ้วย เพื่อให้ระบบทำงาน”

Photo : CupClub

Quereshi พบว่าผู้บริโภคจำนวนมากรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเช่น CupClub แม้จะมีความต่อเนื่องเรื่องการไม่ส่งคืนถ้วยเกิดขึ้นก็ตาม เรื่องนี้ใช้ได้ดีกับผู้บริโภคซึ่งใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและกังวลเรื่องของเสียที่เกิดขึ้น รวมทั้งเป็นผู้ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนที่กำลังเป็นกระแสหลัก และกำลังทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ กับประชากรทั่วโลก

ในอนาคต Qureshi เชื่อว่ารูปแบบของ CupClub สามารถใช้กับผลิตภัณฑ์อื่นได้เช่นกัน เพราะโดยทั่วไปแล้วมันมีแนวโน้มที่จะเป็นทางเลือกสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งแบบที่คนบริโภคอย่างรวดเร็วในเวลาประมาณ 20 นาที ดังนั้นจึงค่อนข้างง่ายต่อการรวบรวม ไม่ว่าจะเป็น ภาชนะบรรจุอาหาร ชามสลัด และเครื่องเงินแบบใช้แล้วทิ้ง

“ตอนนี้เราสร้างโครงสร้างพื้นฐานแล้วและนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อีกมากมาย เรารู้ว่าบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งสามารถจัดสรรใหม่ และนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง” เธอกล่าวในท้ายที่สุด

Cr.

 

 

You Might Also Like