CIRCULAR ECONOMY

PepsiCo x UEFA โครงการนำร่องด้าน Circular กับรอบชิงฟุตบอลหญิงแชมเปี้ยนส์ลีก

9-10 มิถุนายน 2566…รอบชิงชนะเลิศช่วงที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่ทั้งสนามมีการนำถ้วยรีไซเคิลมาใช้ เป็นการเริ่มความร่วมมือระยะยาวของการลดขยะในการแข่งกีฬารายการใหญ่

รอบชิงแชมเปี้ยนส์ลีกทั้งฟุตบอลชายและหญิงของสมาคมฟุตบอลยุโรป ( ยูฟ่า) เป็นการแข่งขันกีฬาใหญ่ที่สุด 2 รายการในยุโรป และเป็น 2 ใน 5 อันดับแรกของโลก เมื่อคิดจากการเติบโตของการแข่งขันฟุตบอลหญิง

เช่นเดียวกับการแข่งขันกีฬารายการใหญ่อื่นๆ การแข่งขันแบบนี้นี้ยังก่อให้เกิดขยะจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่ปีนี้ชี้ให้เห็นถึงเส้นทางใหม่ที่เป็นไปได้ผ่านความร่วมมือระหว่าง PepsiCo และ UEFA

รอบชิงชนะเลิศฟุตบอลหญิงแชมเปี้ยนส์ลีกที่เมือง Eindhoven เนเธอร์แลนด์เป็นโครงการแรกที่นำร่องโครงการบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ โดยมีถ้วยใสขนาด 40 เซนติลิตร 52,000 ใบให้ซื้อ มีโบนัสหากส่งคืน 2 ยูโร นอกจากถ้วยแล้ว ยังมี Doritos Nachos เสิร์ฟในถาดรีไซเคิลได้รอบสนาม

“ขณะที่เรากำลังรอข้อมูลจากสนามกีฬา Eindhoven หลังการแข่งขัน ตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญสำหรับถ้วยและถาดอาหาร (เหล่านี้) ก็คือ อัตราการแลกของรางวัล ซึ่งเราเชื่อว่าจะอยู่ที่ 90%” Archana Jagannathan ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของ PepsiCo Europe ให้ข้อมูล

Mark Kirkham รองประธานอาวุโสของ PepsiCo และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด global beverages เสริมว่า ศึกษา Insight ผู้บริโภคทั้งพฤติกรรมการรีไซเคิล ข้อมูลทางวัฒนธรรม และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการขยะและโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดประสบการณ์ราบรื่น

“นี่เป็นโครงการนำร่องเพื่อทดสอบ และเรียนรู้สำหรับอนาคต เราหวังว่าจะได้วิเคราะห์และเรียนรู้จากผลลัพธ์” เขากล่าว

ในรอบชิงฟุตบอลชายของแชมเปี้ยนส์ลีกที่อิสตันบูล PepsiCo ร่วมมือกับบริษัทชื่อ TURN ซึ่งให้บริการรีไซเคิล ติดตั้งแก้วน้ำอัจฉริยะ 48,000 ใบ ซึ่งจะถูกสแกนที่จุดรวบรวม จากนั้นนำไปฆ่าเชื้อ และนำกลับมาใช้ใหม่ได้เลยทันที นอกจากนี้ ทั้งสองงาน ใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มของ PepsiCo ทั้งหมด

Kirkham ตั้งข้อสังเกตว่า ปีที่แล้ว PepsiCo ได้ช่วยยูฟ่าร่าง Circular Economy Strategy ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Football Sustainability Strategy 2030 ที่ขยายขอบเขตกว้างขึ้น นำสู่แนวทางที่ว่า ยูฟ่า จะจัดแข่งขันโดยไม่ใช้พลาสติคเลย และไม่มีปราศจากขยะอาหาร

รายละเอียด คลิกภาพ

แน่นอนว่าข้อมูลจากการแข่งรอบชิงทั้ง 2 นัดในปีนี้จะถูกวิเคราะห์อย่างละเอียด เพราะทุกฝ่ายล้วนตระหนักว่า การทำให้ได้ตามเป้าหมายเป็นเรื่องยาก เนื่องจากยูฟ่ามีสมาชิก 55 ประเทศในยุโรป ทั้งหมดมีโครงสร้างพื้นฐานการรีไซเคิลและการประมวลผลที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเป้าหมายเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมที่แตกต่าง

Michele Uva ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของยูฟ่า กล่าวว่า การดำเนินการของยูฟ่าเน้นไปที่การค้นหา และเผยแพร่แนวทางแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันฟุตบอลที่เกิดขึ้นในสมาคม ลีก และสโมสรระดับชาติในยุโรป เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม

สำหรับปี 2030 ยูฟ่ามีเกณฑ์มาตรฐาน (benchmark) มากมายซึ่งตั้งเป้าว่าจะทำให้สำเร็จ รวมถึงการเปิดตัว “ระบบจัดการให้เกิดการแข่งขันที่ยั่งยืน” และอยากให้เป็นกลไกสร้างแรงบันดาลใจที่สำคัญ แต่ Kirkham เสริมว่า PepsiCo อยากเห็นการที่ขยะทั้งหมดถูกฝังกลบเป็นข้อกำหนดที่รวมอยู่ในข้อกำหนดผู้ได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพในอนาคต สำหรับกิจกรรมทั้งหมดของยูฟ่า ซึ่งอาจกระตุ้นให้มีการนำมาตรการด้านความยั่งยืนทั้งระบบมาใช้เร็วขึ้น

ขั้นตอนแรก คือการตระหนักถึงเป้าหมายร่วมกันในการทำให้รอบชิงชนะเลิศทั้งสองรายการ “ขยะทั้งหมดต้องถูกฝังกลบ” ภายในปี 2026 ซึ่งข้อมูลล่าสุดที่มี ยังไม่สามารถอัปเดตความคืบหน้าของการตั้งเป้าหมายนี้

ที่มา คลิกภาพ

สำหรับตอนนี้ชัดเจนว่าข้อมูลที่รวบรวมจากการแข่งทั้ง 2 รายการในปีนี้ จะเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่มีค่าที่สุด

Archana Jagannathan ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของ PepsiCo Europe อธิบายว่าถ้วยไฟเบอร์เพิ่มเติมที่หมุนเวียนตลอดรอบชิงชนะเลิศในอิสตันบูลจะสามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในกระแสการใช้กระดาษท้องถิ่น และวัตถุดิบก็มีมูลค่าสูงกว่าในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ในปัจจุบัน (ซึ่งสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายอย่างรับผิดชอบ และบูรณาการการใช้วัสดุ)

“เรามั่นใจเรื่องการจัดการ Flow ของขยะ ซึ่งถูกจัดอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มอัตรารีไซเคิลถ้วยจากสนามกีฬาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด” เธอกล่าว “การลงแรงสำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่จัดการได้ค่อนข้างง่าย โดยตามจากจำนวนถ้วยทั้งหมดที่ขายเทียบกับที่แลกเงินคืน”

เธอยอมรับว่าพวกเขาอาจไม่ได้รับรายละเอียดของข้อมูลมากเท่าที่ต้องการ ข้อจำกัดสำคัญคือ การรวบรวมวัสดุรีไซเคิลจำนวนนี้จากแฟน ๆ 60,000 คนจากถังขยะ 220 ใบที่กระจายอยู่ทั่วสนามกีฬา แฟนโซน และโซนกิจกรรมรอบสนาม

โครงการนำร่องของ PepsiCo-UEFA เป็นหนึ่งในความพยายามที่คล้ายกับของ Anheuser-Busch , Ball Corporation และ Liverpool FC ดึงดูดแฟนกีฬาให้สนใจเรื่อง Circular ความสำคัญของการรีไซเคิลและการใช้ซ้ำ เป็นโมเมนตัมเชิงบวกต่อการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอีเว้นต์ใหญ่ต่าง ๆ

ที่มาเรื่อง

ที่มาภาพเปิดเรื่อง คลิก

 

 

You Might Also Like