CIRCULAR ECONOMY

เตียงสนามกระดาษ SCGP ส่งโซลูชั่นใช้ทรัพยากรคุ้มค่าช่วยสังคม มีองค์กร 62 แห่งผนึกกำลัง

28 เมษายน 2564…SD PERSPECTIVES พบปรากฏการณ์ตั้งแต่ร่วมมือกับคู่ค้าโลตัส จนกระทั่งขณะนี้มี 62 องค์กรมาผนึกกำลัง เตียงสนามกระดาษ SCGP ซึ่งจะมองเห็นการดำเนินงานแบบโซลูชั่นครบลูปแม้ว่าจะเป็นเรื่องทางสังคม ไม่แตกต่างจากธุรกิจ ตอกย้ำการเป็นแบรนด์ โซลูชั่น ที่ให้บริการแบบ Circular Economy

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวถึงการผลิตเตียงสนามกระดาษ SCGP 1 เตียง ใช้กระดาษรีไซเคิลที่มาจากกล่อง ลังเก่า 14 กิโลกรัม ถ้า 10,000 เตียงก็ใช้ 140 ตัน ซึ่งกำลังการผลิตเตียงสนามกระดาษ   ปัจจุบันอยู่ตัวแล้วที่ 2 พันเตียง/วัน ในเบื้องต้นการติดต่อโรงพยาบาลสนามจะผ่านมูลนิธิเอสซีจี เป็นหน่วยงานดำเนินการ ซึ่งจะรู้เครือข่ายและความต้องการ เร่งด่วนต่าง ๆ

“SCGP เราเป็นผู้ออกแบบและผู้ผลิต ดังนั้นก่อนที่จะเกิดเตียงสนามกระดาษ SCGP เราคุยกันตั้งแต่วันที่คิดออกแบบสำหรับใช้เฟส 2 ที่โรงพยาบาลสนามสมุทรสาครกับแพทย์ คำนิยามของเตียงสนามกระดาษ เมื่อใช้แล้วคือ ขยะมูลฝอยติดเชื้อ ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลจะมีเตาเผาขยะประเภทนี้อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีจะมีคอนแทรกเตอร์มารับไปเพื่อไปเผาให้ถูกวิธี โดยช่วงแรก เมื่อมีโรงพยาบาลสนามที่ไหนติดต่อมาที่มูลนิธิเอสซีจี เราจะแจ้งไปด้วยว่า ถ้าไม่มีที่จำกัดถูกวิธีให้ติดต่อเรา SCGP รับจำกัดขยะมูลฝอยติดเชื้อตามที่กฎหมายกำหนด ตอนนี้เรามี Contractor ของเราที่ทำเรื่องนี้อย่างถูกกฎหมายอยู่แล้ว เรามีกระบวนการครบลูปเป็นการดำเนินงานแบบโซลูชั่น ซึ่งการช่วยเหลือสังคมก็ช่วยเป็นโซลูชั่น คือเราให้ซัพพลายถึงที่ ขณะเดียวกันตรงไหนมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บ ก็ให้แจ้งเรา เราจะไปรับกลับมากำจัด อันนี้เป็นวิธีที่เราวางแผนไว้ตั้งแต่วันที่คิดออกแบบเตียงสนามกระดาษ SCGP”

จากการเริ่มต้นกับโลตัส รับบริจาคกล่องและลังกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำไปผลิตเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี มอบให้กับโรงพยาบาลสนาม ล่าสุด SCGP x 62 องค์กรเปิดโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภครักสิ่งแวดล้อมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ด้วยการแยกกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อให้ทรัพยากรได้หมุนเวียนนำกลับไปใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) พร้อมกับการช่วยเหลือสังคมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยการเปิดจุดรับกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษ SCGP ส่งมอบให้แก่ผู้รับการสนับสนุนทั่วประเทศ โดยจะรวบรวมกล่อง ลังกระดาษตั้งแต่ 28 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคมนี้

 

องค์กรทั้ง 62 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 1.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.กรีนสตาร์ 3.กรุงเทพมหานคร 4.คาร์นิวาล ซัพพลาย 5.แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) 6.ฉายา พิกเจอร์ 7.ชิปป๊อป 8.ชีวาทัย 9.ซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์ 10.เซ็นทรัล รีเทล 11.เซ็นทรัลพัฒนา 12.เซ็ปเป้ 13.โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล 14.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 15.โตโยต้าบางกอก 16.ที.บี.ที. คอร์เปอเรชั่น 17.ไทยพีเจ้น 18.ไทยฟูจิพลาสติก 19.ไทยสพิริท 20.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 21.ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย 22.บอสสาร์ด (ประเทศไทย) 23.ไปรษณีย์ไทย 24.พานาโซนิค (ประเทศไทย) 25.พีทีจี เอ็นเนอยี 26.เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล 27.แพรคติก้า 28.ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) 29.มูราคามิ แอมพาส (ประเทศไทย) 30.เมืองไทยประกันชีวิต 31.โยโกฮามา รับเบอร์ (ประเทศไทย) 32.โรงพยาบาลสงฆ์ 33.โลตัส 34.วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 35.ศูนย์การค้าคอสโม บาซาร์ เมืองทองธานี 36.ศูนย์การค้าแปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา 37.ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ 38.ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค 39.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) 40.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโดยสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม 41.สยามเซ็นเตอร์ 42.สยามดิสคัฟเวอรี่ 43.สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพฯ 44.สยามพารากอน 45.สยามพิวรรธน์ 46.สยามมิชลิน 47.สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช 48.แสนสิริ 49.อาหารยอดคุณ 50.อินโนเว็ก โฮลดิ้ง 51.อีโค่ไลฟ์ 52.อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 53.เอ็น.ซี เฮ้าส์ซิ่ง 54.เอ็นทีเอ็น แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) 55.เอสซีจี 56.เอสซีจี เอ็กซ์เพรส 57.เอสซีจีพี 58.แอมเวย์ 59.แอล บี เอส แลบบอเรตอรี่ 60.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ 61.ไอคอนสยาม และ 62.ไฮ-เทค พรีซิชั่น โมลด์ (ไทยแลนด์)

สำหรับประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในโครงการนี้ สามารถส่งมอบกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ณ จุดรับกระดาษขององค์กรที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 62 แห่ง โดย SCGP จะรวบรวมกลับมายังโรงงานเพื่อนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นเตียงสนามกระดาษ SCGP ส่งมอบให้แก่ผู้รับการสนับสนุนต่อไป

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

 

You Might Also Like

No Comments

Leave a Reply