CIRCULAR ECONOMY

GC มุ่ง Circular Living ใช้ CSR เป็นกลยุทธ์ขยายฐานตั้งแต่เยาวชน

1-2 มกราคม 2562…ระดมปูพื้นฐาน ThinkCycle Bank ให้เข้าใจง่าย+สร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ให้เด็กในรร.ระยองรอบโรงงาน “รวบรวมขวดน้ำพลาสติก” ได้เงินเข้ากระเป๋า หรือนำพลาสติก Reuseเป็นเก้าอี้ โซฟา หรืออีกขั้นเป็นเสื้อยืดให้สวมใส่ได้แล้ว

“น้องๆ เชื่อไหมครับว่า เสื้อยืดที่พี่ๆ ใส่กันวันนี้ ทำมาจากขยะขวดพลาสติก” 

นั่นคือคำถามแรกของพนักงานจิตอาสา บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ GC ถามนักเรียนม.1-ม.3 โรงเรียนวัดมาบข่า หนึ่งในโรงเรียนที่อยู่รอบโรงงาน GC จังหวัดระยอง ที่มาร่วมกิจกรรม Roadshow ในวันนี้ราวๆ 100 คน

ก่อนที่จะเฉลยว่ามีนักเรียนเชื่อหรือไม่!? …ถามท่านก่อนว่า เชื่อหรือไม่ ?

นักเรียนที่เชื่อยกมือขึ้นประมาณ 4 คน ส่วนที่เหลือ ไม่มีใครเชื่อ

พนักงานจิตอาสา GC อธิบายต่อเนื่องว่า เสื้อยืดคอกลมสีน้ำเงิน ใช้ขยะขวดพลาสติก 8 ขวด ส่วนเสื้อยืดโปโลสีฟ้าที่เห็นในภาพเปิดเรื่องนั้น ใช้ขยะขวดพลาสติก 20 ขวด โดยขวดพลาสติกที่นำมาผลิตผ้าตัดเสื้อนั้น เป็นขวดที่รับซื้อจากการคัดแยกขยะ ซึ่งขวดประเภทนี้เมื่อนำไปขายจะได้ราคาดี นั่นคือขวดน้ำพลาสติกขายเป็นเงินได้

เชาวนี พันธุ์พฤกษ์ ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานบริหารกิจการเพื่อสังคม และ สุพจน์ เณรบำรุง ผู้จัดการส่วนผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ 2 บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)ร่วมโรดโชว์คัดแยกขยะที่โรงเรียนวัดมาบข่า จังหวัดระยอง ซึ่งเป็น 1 ใน 12 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ThinkCycle Bank

“ที่โรงเรียนวัดมาบข่า เป็น 1 ใน 12 โรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียง Plant ของ GC ซึ่งจะให้พนักงานใน Plant นั้นๆ เป็นจิตอาสาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการสื่อสาร ทำความเข้าใจกับน้องๆ นักเรียนเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และอบรมการใช้ซอฟท์แวร์ เก็บข้อมูลให้กับครูและนักเรียนที่ร่วมกันเป็นคณะทำงาน สำหรับโรงเรียนวัดมาบข่าหลังจากการโรดโชว์วันนี้ ก็จะเป็นการทำงานในรายละเอียด นัดวันรับฝาก และซื้อ-ขยายขยะขวดพลาสติกที่แยกขยะเรียบร้อยแล้ว”

เชาวนี พันธุ์พฤกษ์ ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานบริหารกิจการเพื่อสังคม บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เล่าถึงแผนการทำงานโรดโชว์คัดแยกขยะให้กับโรงเรียนที่มีความสนใจ และยินดีเข้าร่วมโครงการ ThinkCycle Bank ซึ่ง GC ได้นำโมเดลของมหาวิทยาลัยมหิดลมาร่วมทำงานกับโรงเรียนทั้ง 12 แห่ง พร้อมทั้งเซ็นเอ็มโอยู ร่วมกันระหว่าง GC และมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมกันพัฒนา “การจัดการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง” ให้มีประสิทธิภาพ และมีโอกาสเป็นนวัตกรรมในเรื่องดังกล่าวนี้ ในช่วงระยะเวลาที่ร่วมมือกันคือปี 2561-2563

ทั้งนี้ กระบวน โครงการ ThinkCycle Bank จะต้องคัดแยกขยะจากที่บ้านตามที่มีการแนะนำ ก่อนจะนำมาที่โรงเรียน ซึ่งสำหรับนักเรียนที่เป็นผู้ขายรายใหม่จะต้องเปิดบัญชีเหมือนบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งสมุดบัญชีประจำตัวนักเรียนแต่ละคนจะต้องถือมาด้วยทุกครั้งเมื่อถึงวันนัดขายขยะ ซึ่งทุกครั้งจะมีการรวมเงินรายได้จากการขายไว้ให้ หากต้องการถอนเงินออกไปเลยก็ทำได้ หรือบางคนก็ฝากเงินไว้ถึงจำนวนที่ต้องการจึงถอนออกไปใช้ ซึ่งตามระบบสมุดบัญชีฝากเงินจากการขายขยะของโครงการ จะไม่มีดอกเบี้ย แต่ที่โรงเรียนวัดมาบข่าแตกต่างจากที่อื่นๆ

สุพจน์ นำทีมงานส่วนผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ 2 ที่ออกเวรจากการทำงาน มาร่วมเป็นจิตอาสาทำกิจกรรม CSR กับนักเรียนโรงเรียนวัดมาบข่า ซึ่งต้องการที่จะสื่อสารให้เยาวชนเห็นว่า พลาสติกไม่ใช้ผู้ร้าย แต่ต้องมีจัดการตั้งแต่ต้นทางคือการคัดแยก และสามารถสร้างรายได้ให้นักเรียนเอง

“เนื่องจากที่โรงเรียน เรามีธนาคารโรงเรียน ธ.ก.ส. ที่สอนให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องการออม ซึ่งนักเรียนทุกคนจะมีสมุดบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารโรงเรียนอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีสมุดบัญชีเงินฝาก โครงการ ThinkCycle Bank เราจะ Link รายได้เข้าสมุดออมทรัพย์ของนักเรียนเลย และเมื่อถึงเวลาธนาคารให้ดอกเบี้ย เด็กก็จะได้ดอกเบี้ยจากเงินสะสมจากการขายโครงการ ThinkCycle Bank”

คุณครูนัฏพันธุ์ ดิศเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมาบข่า จังหวัดระยองเล่าถึง กระบวนการใหม่ที่เกิดขึ้นเฉพาะโรงเรียน ซึ่งจะถือเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้นักเรียนเห็นความสำคัญจากการแยกขยะต้นทาง แล้วเด็กๆ ก็มีรายได้รวมดอกเบี้ยจากสิ่งที่ทำด้วย

นักเรียนทุกคนจะได้รับสมุดฝากเล่มนี้ เมื่อเข้าร่วมเข้าร่วมโครงการ ThinkCycle Bank

 

เห็นราคาค่างวดของขยะแล้ว สร้างไลฟ์สไตล์คด แยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ได้ทั้งเงินเข้ากระเป๋า (อย่าหมิ่นเงินน้อย) ได้ทั้งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

ในปี 2561 นักเรียนประมาณ 3,200 คน ได้เรียนรู้ ลงมือทำ และเห็นตัวเลขที่เป็นรายได้จากการขายขยะของตัวเอง ซึ่งจะช่วยสร้างไลฟ์สไตล์ด้านความยั่งยืนตั้งแต่เด็กๆ

เชาวนี เล่าถึงแผนโครงการ ThinkCycle Bank 2 ปีข้างหน้า จะมีการขยายโครงการ 10 โรงเรียนในระยอง รวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบออนไลน์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลปริมาณขยะเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ รวมทั้งเป็นระบบต้นแบบสำหรับโรงเรียน ชุมชน หรือหน่วยงานอื่นๆ ในอนาคต

“จะมีการศึกษา และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมใยในการจัดการขยะ โดยมีนักวิจัยด้านสังคมขอมหิดลเป็นผู้ดำเนินการ รวมทั้งประเมินผลโครงการในแง่ของรายได้ รวมถึงการสร้างคุณค่าใน Value Chain ด้วยเช่น คุณภาพของขยะ การนำขยะไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับขยะ สามารถส่งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรืออปท. เพื่อปรับปรุง และพัฒนาแนวทางการจัดการขยะของชุมชนต่อไป โดยพาร์ทเนอร์ของ GC ของโครงการนี้ นอกจากมหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว ก็มีอปท. และวิสาหกิจชุมชน หรือร้านรับซื้อขยะในชุมชนด้วย”


ทั้ง 3 ภาพข้างต้น เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ชาว GC จิตอาสาระยอง มาร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำน้องๆ นักเรียนที่มีไอเดียสร้างสรรค์ของขากขยะขวดพลาสติก รวมถึงการใช้ในการทดลองวิทยาศาสตร์ และเมื่อวิศวกร GC ลงมือเปลี่ยนขวดพลาสติกให้เป็นเชือกใช้เป็นพาทิชั่นในห้องพยาบาล ซึ่งการลงมือทำเช่นนี้ ยุทธนา อุ่นเกษม พนักงานบริหารอาวุโส หน่วยงานสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะประสานให้พนักงาน GC ทุกคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกับชุมชน โดยใช้เวลาว่างจากงานมาร่วม พร้อมกันนี้จะมีรางวัลเพื่อใช้ในงาน CRS โดยหากรวมกลุ่มได้ 40 คนพนักงานสายเดียวกัน จะได้รับรางวัล 20,000 บาท หากรวมกลุามได้ 40 คนแต่ข้ามสายงาน รางวัลจะเพิ่มเป็น 30,000 บาท และถ้ารวมกลุ่ม 40 คนได้โดย 20 คนในกลุ่มเป็นพนักงานข้ามสายงาน และ 10-20 คน ไม่เคยไปทำ CSR เลย รับรางวัล 40,000 บาท

ผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดมาบชลูด และโรงเรียนบ้านเขาห้วยมะหาด ระยอง ในการนำขยะขวดพลาสติกมา Reuse

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ GC เปิดตัวนำ Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน มาใช้โดยความร่วมมือททท. และมูลนิธิอีโคอัลฟ์ สิ่งที่ตามมาเป็นวาระของ GC คือการเก็บขยะขวดพลาสติกในบริเวณทะเลไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดาดามัน เพื่อนำขวดพลาสติกเหล่านั้นมาสู่กระบวนการ Upcycling ผลิตเป็นเส้นใยทอเป็นผ้า ผลิตเสื้อยืดใช้สวมใส่ได้จริง หรือผลิตเป็นผ้าไตรจีวร หรือผลิตเป็นผ้าชนิดอื่นๆ เพื่อใช้ในงานประเภทต่างๆ นอจากนี้ขยะขวดพลาสติกยังเข้าสู่กระบวนการสร้างสรรค์เป็นใช้ภายในบ้านอีกด้วย จึงกลายเป็น Circular Living

การที่ GC โฟกัส Circular Living แล้วใช้กลยุทธ์ CSR เข้าไปทำกิจกรรมสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ แยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งสร้างรายได้ จึงนับเป็นความง่ายที่นักเรียน คนทั่วไปจะจับต้อง และใช้สินค้าที่มีส่วนผสมมาจากขยะขวดพลาสติกได้จริง !

กลายมาเป็นความรู้สึก Wow ! พร้อมตอบนโยบายความยั่งยืนในแกน Circular Economy

เนื้อหาเกี่ยวข้อง 

You Might Also Like