TALK

ดร. คงกระพัน อินทรแจ้ง “GC ในฐานะผู้นำความยั่งยืนในธุรกิจเคมีภัณฑ์ จะเป็น Total Solution Provider นำประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์ต่อไป”

12 มิถุนายน 2563… SHAPING #COVID19 กับGC ในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืนในธุรกิจเคมีภัณฑ์ เดินหน้าตาม 4 มาตรการหลัก นำพลาสติกซึ่งไม่ใช่วายร้ายหนุนเครื่องไม้เครื่องมือบุคลากรทางการแพทย์ และช่วยประชาชน พร้อมเคียงข้างทุกฝ่ายนำต้นแบบเข้าใช้ในพื้นที่ และรุกหนักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์แบบต่อไป

4 มาตรการ @ Covid-19 เดินหน้านโยบายหลัก 3 ด้านของ GC

ดร. คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เริ่มต้นกล่าวถึง การปรับตัวขององค์กรตามมาตรการ 4 เรื่องเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

“เราเริ่มป้องกันพนักงานให้ปลอดการติดเชื้อให้มากที่สุด ทั้งการ Work from home และ การ Lock Up พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต นอกจากนี้ ประกาศนโยบายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน (BCP) และจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อการกำกับดูแล และรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องต่อมา ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น ชุมชน ให้เหลือน้อยที่สุด สุดท้ายของมาตรการคือ มีการสื่อสารนโยบายและระเบียบข้อบังคับกับพนักงานอย่างต่อเนื่อง และวางแผนการสื่อสารอย่างถูกต้อง สร้างความเชื่อถือและชัดเจน”

ดร. คงกระพัน กล่าวต่อเนื่อง บริษัทเอง ได้มีการเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทำงานภายใน โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร (Project Max) โครงปรับปรุงระบบจัดการด้านเสถียรภาพในการผลิต (Plant Reliability) และควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างเคร่งครัด รวมถึงพิจารณาแผนการลงทุนให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้บริษัทได้นำเทคโนโลยี Digital เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาทิ การประชุมทางไกล การควบคุมกระบวนการผลิต และบริษัทยังคงวางแผนการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น สำหรับด้านผลิตภัณฑ์ บริษัทได้มีการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับ partner เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และตรงความต้องการของลูกค้า โดยกลยุทธ์ของ GC ในการรับมือวิกฤต Covid-19 คือ

• Cost Control: การควบคุม OPEX (ต้นทุนในการดำเนินงาน) โดยตั้งเป้าหมายลดให้ได้อย่างน้อย 10% จาก budget หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท
• Production Optimization: ทั้งในส่วนของ Crude Sourcing, Feedstock Optimization และ Production Optimization เช่น การนำเข้า Ethylene ราคาถูก มาใช้เป็น Feedstock, การหยุดผลิต Jet และหันไปผลิต Diesel แทน
• Sales & Marketing: การปรับแผนการขายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดเช่น การเพิ่มการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการสูง เช่น Blow Molding Grade สำหรับทำขวดเจลล้างมือ, ปรับเปลี่ยน Port การขายเพื่อเพิ่มอัตราการทำกำไร และสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละประเทศ
• Liquidity Preparedness จำหน่ายหุ้นกู้ จำนวน 15,000 ล้านบาทเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และจัดหาวงเงินกู้ระยะยาว จำนวน 30,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถ Drawdown ได้ ในช่วงไตรมาสที่ 2/63
• Investment Prioritization การพิจารณาโครงการลงทุนที่อยู่ใน pipeline ทั้งหมดให้รอบคอบอีกครั้ง รวมทั้งแสวงหาโอกาสในการลงทุนทำ M&A, ขยายธุรกิจเข้าสู่ HVB (High Value Business) รวมทั้งการขยาย product platform/application เข้าสู่ HPC (High Performance Chemical) และ Hygiene Medical

ดร.คงกระพัน ขยายความต่อเนื่องว่าการปรับดังกล่าว ช่วยทำให้นโยบายหลัก 3 ด้านของ GC คือ Step Change, Step Out, และ Step Up เดินหน้าต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต สร้างชีวิตที่ดี มุ่งเน้นความยั่งยืน พร้อมปรับใช้หลักการ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่ง GC ได้ประยุกต์หลักการดังกล่าวเพื่อให้เข้ากับลักษณะของธุรกิจ ด้วยแนวทาง GC Circular Living ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนโลก มุ่งเน้นการต่อยอดการดำเนินงานให้มีความเชื่อมโยงทั้ง Ecosystem

Step Change: การสร้างบ้านให้แข็งแรง ซึ่งก็คือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับฐานการผลิตปัจจุบันของบริษัทฯ ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยความสามารถทางการแข่งขัน (Competitiveness) จะต้องเร็วและเข้มข้นขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ

Step Out: การหาฐานการผลิตแห่งที่ 2 (Second Home Base) ซึ่งมีศักยภาพในการแข่งขันด้านวัตถุดิบหรือการเติบโตของตลาด ส่งเสริมศักยภาพความเป็นต่อด้านวัตถุดิบ (Feedstock) หาโอกาสในการเข้าซื้อกิจการในธุรกิจใหม่ ๆ ภายใต้ New Normal ในมูลค่าที่เหมาะสม เพื่อให้บริษัทฯ เติบโตเป็นผู้นำในระดับสากล แต่ทั้งนี้การดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ จะต้องมีการทบทวนให้ละเอียดถี่ถ้วน

Step Up: การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนอย่างบูรณาการ เน้นการสร้างเครือข่ายความยั่งยืน ตอกย้ำความเป็นผู้นำในการเป็น Solutions for everyone การดำเนินงานด้าน Co-Sustainability สร้างระบบนิเวศธุรกิจใหม่ ด้วยความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม และการพัฒนา Business ecosystem ให้มีความเข้มแข็ง โดยถือว่าใช้วิกฤตเป็นโอกาส ด้วยการเร่งขับเคลื่อนลด GHG ในสถานการณ์ WFH ผลักดันหมุนเวียนครบวงจร สร้างโอกาสทางธุรกิจแบบ Closed-loop การเร่งพัฒนานวัตกรรม สรรหาโอกาสใหม่ พร้อมกับการขยายโอกาสเพื่อตอบสนองต่อ Trends อื่น ๆ

ปัจจุบัน GC ยังคงนำกลยุทธ์ 3 Steps มาปรับใช้ และมีการทบทวนอย่างรอบคอบ และพร้อมรับมือกับ New Normal ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตทุกคน บริษัทฯ มีแนวทางในการปรับตัว 2 ด้าน

“ด้านธุรกิจ เราดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจกลับมาสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุดโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ดูแลลูกค้า คู่ค้า สังคม และชุมชน เร่งสร้าง Competitiveness เพื่อให้ธุรกิจเพิ่มความ Resilience ทบทวนโครงการลงทุนต่างๆให้รอบคอบ และหาโอกาสในธุรกิจใหม่ ด้านองค์กร: ทำองค์กรให้ Lean เพิ่มความว่องไว คือ Agility และมี Efficiency เพื่อพร้อมปรับตัว โดยการปรับกระบวนการทำงาน การปรับ Competency ด้วยการ Upskill & Reskill พนักงาน การปรับวิถีการทำงานใหม่ โดยนำ Technology เข้ามาใช้”

ดร.คงกระพันย้ำว่า ทุกคนจึงต้องมี Culture & Mindset ที่ “พร้อมปรับ” และเชื่อว่าถึงเวลาที่จะ “ต้องเปลี่ยน”

Digital Transformation ใช้จริงอย่างรวดเร็วโดยพนักงาน

“ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 ที่ผ่านมา พนักงานของ GC ต้อง Work from Home แต่บริษัทฯ มีการนำ Digital Platform และ Tools ต่าง ๆ มาปรับใช้ในการดูแลเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน และตอบสนองต่อการทำงานให้สามารถดำเนินไปอย่างไม่มีสะดุด GC มีการเตรียมพร้อมเรื่อง Digital มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนวิกฤต Covid-19 และเมื่อเกิดวิกฤต บริษัทฯ สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์”

ดร.คงกระพันย้ำว่า การพัฒนาบุคลากร GC สำคัญมากกับการที่จะก้าวเข้าสู่ยุค Digital Disruption ได้อย่างสมบูรณ์และยั่งยืน พนักงานและคนของ GC ต้องมีความพร้อม และความยืดหยุ่น ทั้งในเรื่องของ Mindset และ Skill

ทั้งนี้ 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการเตรียมพร้อมเรื่อง Digital Transformation ทุกภาคส่วนที่เป็น Business, Technology และ People Transformation
กระบวนการผลิตในโรงงาน GC มีการนำระบบ AI และ Advanced Analytics เข้ามาใช้ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลมาปรับใช้ได้ถูกต้อง อาทิ การปรับ Plant Condition ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มีการทำ Digital Dashboard ในการดูข้อมูลในโรงงานแบบเรียลไทม์ มีการใช้ Robotics เพื่อช่วยในการตรวจสอบคุณภาพของอุปกรณ์ในโรงงาน นำเทคโนโลยี AR, VR มาใช้สำหรับงาน operation ผ่านอุปกรณ์แว่น

ส่วนการทำงานสายสนับสนุน อาทิ งาน Marketing มีการทำระบบ CRM เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าให้เร็วขั้น การทำ System Integration ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในการทำ New Initiative สำหรับงานสายงานด้านการเงิน (Finance) และด้านการจัดหา (Procurement) มีการวางแผนในการทำ Data Analytics เพื่อใช้ในการคาดการณ์และวางแผนสำหรับตัดสินใจ รวมถึงด้านทรัพยากรบุคคล (HR) ที่มีสร้าง Chatbot เพื่อตอบข้อซักถาม และสามารถตอบสนองความต้องการของพนักงานได้อย่างรวดร็วมากขึ้น

นวัตกรรมพลาสติก GC หนุนเครื่องมือบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนเร่งด่วน

“GC Group มีความห่วงใยในสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของคนในสังคม ได้เร่งพัฒนาแนวทางแก้ไขวิกฤตการณ์ ให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ตามแนวทาง Circular Economy ของบริษัทฯ และการร่วมเสริมความแข็งแกร่งในการต่อสู้กับ Covid-19 พร้อมกับพันธมิตร ทั้งโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ”

ดร.คงกระพัน ยกตัวอย่างนวัตกรรมพลาสติก GC ที่เดินหน้านำออกมาใช้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน ทันที เช่น

-การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด วัตถุดิบจากเม็ดพลาสติกในประเทศ เช่น เสื้อกาวน์จากเม็ดพลาสติก InnoPlus Medical Protective Suit มาตรฐานห้องผ่าตัด ห้อง ICU หมวกอัดอากาศป้องกันการติดเชื้อ PAPRs หน้ากาก Face Shield เป็นต้น

-ส่วน Bioplastic เราได้เห็นการที่ GC ผนึกกำลังพันธมิตร Wongnai และ LINEMAN ในโครงการ “สู้ไปด้วยกัน l Stronger Together” โดยสนับสนุนเซตบรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลก สำหรับบรรจุอาหารแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารต่างๆ กว่า 200 ร้าน การสนับสนุนในครั้งนี้สามารถลดปัญหาของขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อมรวมจำนวนกว่า 300,000 ชิ้น

“ระหว่างการระบาดของ Covid-19 GC ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาวัสดุที่หาได้ในประเทศ มาเป็นอุปกรณ์ที่สามารถให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การผลิตตู้โควิเคลียร์ หรือ ตู้พ่นซิลเวอร์นาโนฆ่าเชื้อ การสนับสนุนฟิล์มพลาสติกให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ นำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายในการป้องกัน ลดการแพร่เชื้อ ร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฉากกั้น, ผ้าปูเตียง, ฟิล์มห่อหุ้มเครื่องมือแพทย์”

ดร.คงกระพัน ขยายความมาถึง GC ในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืนในธุรกิจเคมีภัณฑ์ ได้ทำหน้าที่นี้กับประชาชนด้วย 2 เรื่องพร้อม ๆ กัน เป็นไปตามความต้องการของสังคมขณะนั้นคือ

1.Upcycled Mask ด้วยนวัตกรรม Upcycling ของ GC บริษัทฯ ได้ต่อยอดการนำทรัพยากรมากลับมาใช้ใหม่ ผ่านกระบวนการเพิ่มคุณค่าด้วยการสนับสนุนหน้ากากผ้าอัพไซคลิงกว่า 22,000 ชิ้น สำหรับประชาชนเพื่อสวมใส่ป้องกัน และลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

2. Alcohol Gel: GC สนับสนุนไตรเอทานอลเอมีน (Triethanolamine – TEA) ซึ่ง GC เป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศไทย และกลีเซอรีน (Glycerin) ระดับฟามาซูติคอลเกรด เพื่อใช้วัตถุดิบสำหรับผลิตเจลแอลกอฮอล์ลดการนำเข้า จำนวน 1,200,000 ขวด หรือประมาณ 50,000 ลิตร สำหรับโรงพยาบาล เพื่อแจกจ่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ร่วมกับ กลุ่มบริษัทของ บริษัท ไทยเบเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

3.การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง การเผยแพร่วิธีการจัดการกับหน้ากากอนามัยหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการกระจายของเชื้อไวรัสได้ พร้อมทั้งแนวทางการคัดแยกขยะ

“ส่งพลาสติกกลับบ้าน” GC มุ่งให้คัดแยกขยะก่อนส่งเข้ากระบวนการ Upcycling

ในวิกฤติ Covid-19 คนจำนวนมากกักตัวอยู่กับบ้านตามนโยบายรัฐบาล สิ่งที่ตามมาจากรายงานกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพบว่า พฤติกรรมของประชาชนที่จำเป็นต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น ทำให้ปัญหาขยะพลาสติกจากกล่องอาหารเดลิเวอรี่เพิ่มจำนวนมากขึ้นถึง 15% ต่อวัน (จาก 5,500 ตัน/วัน เป็น 6,300 ตัน/วัน) ขณะที่เวลาปกติในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีขยะพลาสติกเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 2 ล้านตัน มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่หรือ Recycle ประมาณ 0.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน ไม่ถูก Recycle ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากขยะขาดการคัดแยกที่ต้นทาง ถือเป็นการเสียโอกาสในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ดร.คงกระพันกล่าวถึงโมเดลใหม่ที่ GC เป็นองค์กรแรกในประเทศไทย ริเริ่มโครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” เพื่อเป็นโมเดลนำร่องของประเทศ สร้างประโยชน์ในเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และระบบเศรษฐกิจประเทศ

“เราสร้างโมเดล ร่วมกับภาคีพันมิตร อย่าง TRBN ,ก.ล.ต. และผู้ประกอบการในโซ่อุปทาน นำร่องให้เกิด Circular Hotspot บนสุขุมวิท เป็นแห่งแรกของไทย จากนั้นขยะพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้จะถูกนำเข้าโรงงานรีไซเคิล เพื่อไปผ่านกระบวนการเปลี่ยนเป็นเส้นใยพลาสติก และเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ และผ่านโรงงานแปรรูป ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ Recycle และ Upcycle สู่ผู้บริโภคอีกครั้งหนึ่ง”

กระบวนการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” ที่เกิดขึ้น GC ทำหน้าที่ดูแล ต้นทาง สร้างกลไกให้เกิดการคัดแยกที่ถูกต้อง โดยการร่วมสร้าง Drop point กับพันธมิตร ส่วนกลางทาง ขยะที่ถูกคัดแยกอย่างถูกต้อง เหมาะสม สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับอาชีพ (ซาเล้ง) อีกทั้งยังยกระดับสร้างสุขอนามัย และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้กับอาชีพคนเก็บขยะ ส่วนปลายทาง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติก Upcycled products โดยรายได้ อาจเป็นกองทุนพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนต่อไป และเข้าสู่กระบวนการผลิต เกิดธุรกิจใหม่ รีไซเคิลคุณภาพสูง ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม rPET rPE

“สถานการณ์วิกฤต Covid-19 นี้ ตอกย้ำว่า GC เดินหน้าและได้พัฒนามาถูกทาง และต้องเร่งเดินหน้าโครงการต่าง ๆ ที่เคยวางแผนไว้ให้เร็วขึ้น เพื่อตอบการเป็นผู้นำตวามยั่งยืนในธุรกิจเคมีภัณฑ์ จะเป็น Total Solution Provider นำประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์ต่อไป” ดร.คงกระพันกล่าวในท้ายที่สุด

You Might Also Like