NEXT GEN

ความยั่งยืน กำลังกลายเป็นเดิมพันของ “แบรนด์” ที่จะต้องรู้ในปี 2021

23 ธันวาคม 2563… สำหรับบริษัทส่วนใหญ่ที่เน้นให้ความสำคัญกับผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่มีการประกาศเป้าหมายด้านความยั่งยืนของสหประชาชาติในปี 2015 เป็นต้นมา มีการตระหนักถึงความยั่งยืนทั้งระดับ แบรนด์ และระดับผู้บริโภค

ปลายปี 2019 McKinsey กล่าวถึงการลงทุนที่เกี่ยวกับความยั่งยืนมีมูลค่ากว่า 30 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 68% นับจากปี 2014 เป็นต้นมา

การศึกษาล่าสุดของ Coyote Logistics พบว่า 81% ของ บริษัทต่างๆในปัจจุบันให้ความสำคัญกับความยั่งยืน มากกว่าเมื่อสามปีก่อน จากความคิดริเริ่มที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มการรีไซเคิลหรือไม่ก็ Upcycle ไปสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ แบรนด์ต่าง ๆ ล้วนให้คำมั่นว่า “จะอุทิศตนอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน”

ดังที่เราได้เห็นแนวโน้มมากมายในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา การรับรู้เรื่องความยั่งยืนเร่งตัวขึ้นในช่วงที่โควิด-19ระบาด เนื่องจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้า และกลายเป็นศูนย์กลางความสนใจในเวทีระดับโลก แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ บริษัทต่าง ๆ จะต้องเน้นเรื่องความยั่งยืนในระยะยาวมากกว่าผลกำไรระยะสั้น เมื่อมลพิษลดลงขณะที่ผู้คนอยู่บ้านมากขึ้น ยิ่งแสดงชัดว่า กิจกรรมของมนุษยชาติส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากเพียงใด

เครดิตภาพ คลิกรูปเข้าเว็ปไซต์

ซัพพลายเชนก็ถูกผลักดันให้เกิดก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นทันทีด้วยเหมือนกัน เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นกับประเด็นที่ว่าแบรนด์ต่าง ๆ ปฏิบัติต่อพนักงาน และจัดหาวัตถุดิบในการผลิตสินค้าของตนอย่างไร ขณะเดียวกัน โควิด-19 ได้ทดสอบความจริงจังของบริษัทต่าง ๆ เกี่ยวกับความคิดริเริ่มของพวกเขาและกระตุ้นการสนทนาภายในเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน



เหตุใด Sustainability จึงสำคัญสำหรับแบรนด์

ผลิตภัณฑ์ที่ดีเพียงอย่างเดียวไม่พอที่จะเอาชนะใจผู้บริโภคได้อีกต่อไป แทนที่จะเป็นแค่นั้น ผู้บริโภคยังมองหาแบรนด์ที่สอดคล้องกับค่านิยมของเขามากขึ้น

บรรดา Millennials และ Gen Z ขยายตัวทั้งด้านอิทธิพลและพลังในการจับจ่ายใช้สอย แบรนด์ต่างๆจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรวมความต้องการคนสองกลุ่มเข้าด้วยกัน คนทั้งสองรุ่นขับเคลื่อนความยั่งยืนโดยเรียกร้องให้แบรนด์ต่าง ๆ ให้ความสำคัญอย่างจริงจัง

รายงาน Capgemini ฉบับใหม่แสดงให้เห็นว่า 79% ของผู้บริโภคเปลี่ยนปัจจัยหลักในการซื้อ โดยพิจารณาจากความรับผิดชอบต่อสังคม ความเท่าเทียมกัน หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากภาพที่แบรนด์แสดงออกมาให้โลกเห็น

เครดิตภาพ คลิกรูปเข้าเว็ปไซต์

การก้าวเข้ามาทำเรื่อง Sustainable ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับบริษัทจำนวนมาก แต่โอกาสในการเติบโตที่รออยู่ ก็เป็นการแสวงหาที่คุ้มค่า ข้อมูลของ IRI ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ซึ่งมีวางตลาดอยู่ และเกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเติบโต 50% ในช่วงปี 2013-2016 และเติบโตเร็วกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่เกี่ยวกับความยั่งยืนเลย 5.6 เท่า

นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลระบุด้วยว่า แรงจูงใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค มีสูงกว่าเดิม 3 เท่า หากประโยชน์โดยรวมของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ สามารถรวมกับประโยชน์ด้านความยั่งยืน รวมถึงมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า แม้เป็นผลิตภัณฑ์เดิม แต่หากเพิ่มเติมองค์ประกอบความยั่งยืน ผู้บริโภคก็พอใจจ่ายเงินมากกว่าเดิม จับจองเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ

ขณะที่การตลาดเพื่อความยั่งยืน อาจเพียงพอที่จะทำให้ผู้คนซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ก่อนหน้านี้ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป ความยั่งยืนของแบรนด์ต้องเป็นของแท้และนำไปปฏิบัติได้ ผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึง “การฟอกเขียว” (Green Wash)  มากขึ้น ขณะที่พวกเขาต้องการเห็นข้อพิสูจน์ว่า ผลิตภัณฑ์ไม่เพียงถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีที่ยั่งยืน แต่ยังรวมถึงสิ่งที่บริษัทกำลังทำเพื่อต่อยอดความพยายามที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงวิธีที่พวกเขาตอบแทนชุมชน และโลกใบนี้

กองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อม (EDF) ให้ข้อมูลว่า 93% ของซีอีโอ เชื่อว่าผู้บริโภค คิดว่าบริษัทต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบเรื่องความยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ ความยั่งยืนจำเป็นต้องฝังอยู่ในหัวใจของแบรนด์และวิธีการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้บริโภคจะโอบกอด และเปิดใจยอมรับพวกเขา

เครดิตภาพ คลิกรูปเข้าเว็ปไซต์

ท้ายที่สุดแล้ว แบรนด์ที่ยั่งยืน ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่ามีเหตุผลในการซื้อและสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ นี่คือกุญแจสำคัญในการเสริมสร้างความภักดีของผู้บริโภค และเปิดประตูให้แบรนด์มีส่วนร่วมในการริเริ่มด้านความยั่งยืน

จากรายงาน Global Euromonitor ประจำปี 2020 พบว่า 53% ของผู้คน รู้สึกว่าพวกเขาสามารถสร้างความแตกต่างในโลกได้ด้วยการจับจ่ายใช้สอยชองพวกเขา ขณะที่ 47% พยายามสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมผ่านสิ่งที่ทำในชีวิตประจำวัน หากแบรนด์สามารถช่วยให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องง่าย ผู้บริโภคก็จะมุ่งมั่งทำสิ่งเหล่านี้ด้วยความภักดี และให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

แบรนด์จะแสดง Showcase เรื่องความยั่งยืนได้อย่างไร ?

เมื่อแบรนด์ปรับใช้เรื่องความยั่งยืนมาเป็นเสาหลักเชิงกลยุทธ์ กิจกรรม (และการประชาสัมพันธ์) ของพวกเขาจะขับเคลื่อนการตลาดแบบออร์แกนิก ขณะที่ผู้บริโภคต้องการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ที่ทำดี และทำให้โลกน่าอยู่

อย่างไรก็ตาม การสื่อสารเรื่องความยั่งยืนที่ส่งผลกระทบมากที่สุดนั้น อยู่นอกเหนือข้อผูกพันและคำมั่นสัญญาของการผสานรวมกับสื่อ และประสบการณ์ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภครับทราบ รับรู้ มีส่วนร่วม เชื่อมโยงทางอารมณ์ระหว่างแบรนด์สิ่งแวดล้อม และผู้บริโภคให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ถึงที่สุดแล้ว ประเด็นสำคัญ จึงอยู่ที่การมีตัวอย่าง Best Practice ที่แบรนด์ต่างๆสามารถใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างโอกาสในการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ให้ความน่าเชื่อถือ และความรับผิดชอบตามคุณค่าความยั่งยืน

ต้องโปร่งใส

ความโปร่งใส เป็นปัจจัยเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งอย่าง หรือ Game-Changer ในเรื่องความยั่งยืน เพราะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าความยั่งยืนเป็นอนาคตสำหรับแบรนด์ส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ทุกแบรนด์

แบรนด์ที่มีความโปร่งใสมากกว่า กับเป้าหมายและกระบวนการของพวกเขาจะก้าวไปข้างหน้า ด้วยความไว้วางใจของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น นี่อาจเป็นสิ่งที่ง่ายพอ ๆ กับการตรวจสอบให้แน่ใจว่า การสื่อสารทั้งหมดเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา และปัญหาใด ๆ ก็ตามมาพร้อมกับการลงมือตอบสนองทันท่วงที ซึ่งซับซ้อนพอ ๆ กับการสร้างระบบติดตามห่วงโซ่อุปทานใหม่

เครดิตภาพ คลิกรูปเข้าเว็ปไซต์

เทคโนโลยีใหม่สามารถเพิ่มความโปร่งใส โดยการให้ข้อมูลโดยละเอียดและการติดตามตลอดห่วงโซ่อุปทาน ด้วยเหตุนี้ Starbucks จึงเปิดตัวเครื่องมือ Digital Traceability ซึ่งใช้บล็อกเชนในการติดตามแหล่งที่มาของเมล็ดกาแฟ ลูกค้าสามารถดูว่าเมล็ดถั่วมาจากฟาร์มใด ชื่อของเกษตรกร และราคาที่จ่ายให้แต่ละคนสำหรับกาแฟโดยใช้การค้นหาด้วยภาพผ่านแอป Starbucks เพื่อสแกนหมายเลขแบทช์หรือป้อนโดยตรงบนเว็บไซต์ Starbucks .

Kering เจ้าของแบรนด์แฟชั่นสุดหรูอย่าง Gucci และ Alexander McQueen ได้สร้างบัญชีกำไรและขาดทุนด้านสิ่งแวดล้อม (EP&L) เชิงรุก เพื่อวัดการปล่อยคาร์บอน ปริมาณการใช้น้ำ มลพิษทางอากาศและน้ำ การใช้ที่ดิน และการจำกัดของเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเน้นความโปร่งใสอย่างเต็มที่ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกราย

เครดิตภาพ คลิกรูปเข้าเว็ปไซต์

พวกเขาจัดทำ EP&L อย่างอิสระเพื่อกระตุ้นให้แบรนด์อื่น ๆ ทำตาม รวมทั้งยังสร้างแอปที่ใช้ข้อมูล EP&L เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเห็นภาพผลกระทบของการเลือกเสื้อผ้า และทำความเข้าใจว่าตัวเลือกที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศสามารถเป็นไปได้ ผ่านเครื่องมือสร้างแบบจำลอง

จากปราฎการณ์บางส่วนเกิดขึ้น จะเห็นว่า เป็นความจำเป็นที่แบรนด์จะต้องรู้เกี่ยวกับความยั่งยืน ขณะก้าวสู่ปี 2021 และบทบาทของสื่อจะเน้นย้ำความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนได้อย่างไร

ที่มา

You Might Also Like