NEXT GEN

ภายในปี 2593 Net Zero จะสร้างงานทางตรงทางอ้อมราว 200 ล้านตำแหน่งทั่วโลก แต่พนักงานกลุ่มเดิมจะตกงานประมาณ 185 ล้านตำแหน่ง

27 มกราคม 2565…งบลงทุนสู่เป้า Net Zero เกินค่าเฉลี่ย 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี (แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลยจะเสียมากกว่านี้) หลายสิบประเทศ และบริษัทหลายพันแห่งมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะลดมลภาวะ และมลพิษที่เหลืออยู่จะถูกทำให้สมดุลโดยธรรมชาติและเทคโนโลยีที่สามารถดูด CO2

แต่เพื่อให้โลกบรรลุเป้าหมายปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลกระทบด้านสภาพอากาศที่เลวร้ายที่สุด ความคืบหน้าต้องเกิดขึ้นในขนาดที่ใหญ่กว่ามาก (แผนต้องน่าเชื่อถือด้วย ไม่ใช่แค่คำชวนเชื่อทางการตลาด) ปัจจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจทั้งหมด ตั้งแต่วิธีผลิตอาหารไปจนถึงวิธีสร้างเครื่องบินต้องเปลี่ยนแปลง

รายงานฉบับใหม่ของ McKinsey & Company ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร และเหตุใดที่การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเกิดขึ้นในระดับกลยุทธ์ Mekala Krishnan หุ้นส่วนของ McKinsey Global Institute กล่าวว่า

“เราล้วนพูดถึงการเปลี่ยนผ่านสู่เป้า Net Zero แต่เรากลับลืมไปว่านี่เป็นการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือการเข้าใจธรรมชาติและความสำคัญเกี่ยวกับระดับความหนักเบาที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น เพราะถ้าไม่ทำเช่นนั้น ก็จะมีความเสี่ยงกรณีทำไม่เต็มที่ หรือลงมือปฏิบัติ ด้วยวิธีไม่ถูกต้องสู่เป้าหมาย”

เมื่อนักวิเคราะห์พิจารณาสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งภายใต้โจทย์ที่ว่าโลกจะบรรลุเป้า Net Zero และเจาะลึกรายละเอียดเซ็คเตอร์ต่าง ๆ ใน ​​69 ประเทศ พวกเขาคำนวณได้ออกมาว่า ระหว่างปี 2564 ถึง พ.ศ. 2593 (2021-2050) งบลงทุนด้านพลังงาน และการใช้ที่ดิน มีมูลค่ารวมสูงถึง 275 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ เฉลี่ย 9.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือสูงกว่างบที่ใช้ในปัจจุบันมากกว่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

 

Cr.Illustration: Fast Company

เงินเริ่มไหลเข้าสู่โครงสร้างพื้นฐานที่ปล่อยมลพิษต่ำแล้วก็จริง แต่

“มันเป็นเรื่องของโครงการที่จะทำและตลาดเพื่อให้ได้เงินไปสู่พื้นที่ที่เหมาะสม ด้วยความเร็วที่เหมาะสม” ดิกคอน พินเนอร์ Global Leader ผู้รับผิดชอบงาน Sustainability Practice ของ McKinsey กล่าว

ทั้งนี้ งบลงทุนที่ต้องจ่ายจริงจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีบางอย่างที่อาจช่วยให้ต้นทุนต่ำลง นอกจากนี้ ยังน่าสังเกตว่าผลกระทบของภาวะโลกรวน อาจทำให้โลกต้องใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหามากขึ้นในทุก ๆ ปีที่กำลังจะมาถึงหากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข

เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานที่ก่อมลพิษแบบเก่ากำลังจะหมดไป ขณะเดียวกันสินทรัพย์ที่ปล่อยมลพิษต่ำใหม่ ๆ ต้องเพิ่มด้วยความเร็วที่เหมาะสม มิฉะนั้นจะมีความเสี่ยงจากการขาดแคลนอุปทานและราคาที่เพิ่มขึ้น

Krishnan กล่าว ถ้าจัดการไม่ดี ราคาพลังงานอาจไม่เสถียร และผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำที่สุดอาจได้รับผลกระทบมากที่สุด หากรัฐบาลและบริษัทไม่ลงทุนในเวลาที่เหมาะสมในการฝึกอบรมให้ความรู้พนักงานจากอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษด้วยทักษะใหม่ ๆ พนักงานก็จะถูกลอยแพ ซึ่งจะส่งผลกระทบมากน้อยไม่เท่ากันในบางพื้นที่

ตัวอย่าง ในสหรัฐอเมริกามีพนักงานจากประมาณ 45 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานอย่างน้อย 10% อยู่ในเซ็คเตอร์ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ในภาพรวม รายงานฉบับนี้คาดการณ์ว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จะสร้างงานทางตรงและทางอ้อมประมาณ 200 ล้านตำแหน่งทั่วโลกภายในปี 2593 แต่พนักงานกลุ่มเดิมก็จะตกงานประมาณ 185 ล้านตำแหน่งเช่นกัน ซึ่งพนักงานเหล่านั้นต้องได้รับความช่วยเหลือในการหางานใหม่

Cr.freepik

“ถ้าเราไม่มีกลไกที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนอย่างที่เรากล่าวมาแล้ว ก็มีความเสี่ยงที่ชุมชนบางแห่ง คนงานบางกลุ่มจะถูกทอดทิ้ง” Krishnan กล่าว “ดังนั้น ผมคิดว่ายังจำเป็นที่จะต้องคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นเป็นตอน จุดสำคัญ คือ จะจัดการปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบที่เราพูดถึงได้อย่างไร”

จังหวะของการเปลี่ยนแปลงก็สำคัญเช่นกัน ขณะนี้ การดำเนินการทั่วโลกยังไม่เร็วพอที่จะบรรลุเป้าหมาย และยิ่งเรารอนานเท่าใด การเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในภายหลังก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ทุกสังคม ตั้งแต่รัฐบาล ธุรกิจ สถาบันการเงิน ไปจนถึงปัจเจก จะต้องร่วมมือกัน เพื่อทำให้ประสบความสำเร็จตามเป้า สำหรับบริษัทต่างๆ นั่นหมายถึงการต้องวางแผนกำจัดคาร์บอนและบูรณาการการแก้ปัญหาสภาพอากาศเข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายถึงการทำมากขึ้นด้วย

“ในบางสถานการณ์ คุณต้องลงมือ รวมถึงคิดใหม่ ทำใหม่ในอุตสาหกรรมหรือพื้นที่ของคุณด้วย เพราะเรื่องนี้ไม่สามารถทำได้โดยลำพัง” Pinner สรุป

ที่มา

You Might Also Like

No Comments

Leave a Reply