NEXT GEN

10 แนวโน้มความยั่งยืนที่สำคัญที่น่าจับตามองในปี 2565

30 ธันวาคม 2564-4 มกราคม 2565…ขณะที่ความยั่งยืนเป็นศูนย์กลาง ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 และ COP26 วาระดังกล่าวจะถูกผลักดันอีกครั้งปี 2565

ความคิดที่ว่า สุขภาพของโลกมีความสำคัญพอ ๆ กับสุขภาพของมนุษยชาติได้กลายเป็นกระแสหลัก และความยั่งยืนจะเป็นแรงผลักดันสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมาย Net Zero ที่กำหนดไว้ในการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปี 2564 ในเมืองกลาสโกว์ (COP26) หรือการเปิดตัวโครงการ Green Grids Initiative-One Sun One World One Grid (GGI-OSOWOG) ความยั่งยืนจะเป็นหัวใจหลัก

ภัยคุกคามต่อเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 จะยังคงเป็นตัวเร่งให้เกิดความยั่งยืนในทุกด้าน ทั้ง COP26 และ COVID-19 จะพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับการรีเซ็ตอนาคต

ความยั่งยืนได้กลายเป็นเรื่อง New Normal สำหรับการดำเนินชีวิตและธุรกิจจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดแนวโน้มที่ดำเนินอยู่ตลอดจนทำให้เกิดแนวโน้มใหม่ ๆ

ต่อไปนี้คือแนวโน้มด้านความยั่งยืน
ที่ต้องจับตามองในปี 2565

1. ข้อมูลสำคัญที่สุด : ด้วยการให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ข้อมูลจะไม่เพียงแต่ช่วยให้การทำเรื่องคาร์บอนต่ำเป็นจริงเท่านั้น แต่ยังแสดงผลลัพธ์ต่อหน่วยงานกำกับดูแล นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ทั้งหมดด้วย ขณะที่วงจรการวิเคราะห์ข้อมูลจะละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อวัด จัดการ บันทึก และแสดงผลลัพธ์ได้ดียิ่งขึ้น บริษัทต่าง ๆ จะต้องติดตามผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นใหม่อย่างใกล้ชิด ตัวอย่างเช่น Arabesque ในฐานะ Asset Manager ได้เปิดตัว ESG Book เป็นแพลตฟอร์มข้อมูลสำหรับบริษัทและนักลงทุนที่จะเปิดเผยข้อมูล ESG แบบเรียลไทม์

2. การเพิ่มขึ้นของการลงทุนเกี่ยวกับ ESG: การลงทุนซึ่งต้องพิจารณาปัจจัย ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถูกกระตุ้นโดย COVID-19 การลงทุน ESG สร้างผลกระทบที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมก็ถูกกระตุ้นเหมือนกัน การเพิ่มขึ้นของการลงทุน ESG คาดว่าจะดำเนินต่อไป ล่าสุด ถูกกระตุ้นเพิ่มจากตัวแปรไวรัส Omicron ซึ่งอาจไม่ใช่ตัวแปรสุดท้ายด้วยซ้ำ

3. แรงผลักให้ใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น : การทยอยลดการใช้ถ่านหิน และลดเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเรื่องที่พูดถึงในข้อตกลง Glasgow Climate Pact ที่รับรองโดย 197 ประเทศ เป็นเรื่องที่มีแนวโน้มทำได้ในระดับมากขึ้น ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่า จะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งทำให้โลกร้อนจำนวนหนึ่งถูกเลิกใช้ และส่งผลถึงการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน การลงทุนเพิ่มเติมในการจัดตั้งโรงงานผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ เมื่อเทียบกับโรงงานผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล

4. แรงผลักสู่การลดคาร์บอน : โดยปกติ บริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงจะให้ทุนสนับสนุนโครงการที่ป้องกันการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) หรือกำจัด GHGs โครงการเหล่านี้มีตั้งแต่การปลูกต้นไม้ไปจนถึงการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อดักจับการปล่อยคาร์บอน ด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์ของตลาดคาร์บอน ผู้ปล่อยคาร์บอนต่ำจะมีบทบาทกับผู้ปล่อยคาร์บอนสูงมากขึ้น

5. จาก Net Zero สู่การทำให้สภาพอากาศเป็นบวก: มีทั้งประเทศและบริษัทจำนวนมาก ให้คำมั่นสัญญาถึงการทำเรื่อง Net Zero รวมถึงการทำให้สภาพอากาศเป็นบวกเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการตรวจสอบภาวะโลกร้อน สภาพอากาศเป็นบวกก็เป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มคุณค่าให้สิ่งแวดล้อมเช่นกัน

6. กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น: กฎระเบียบในการลดการปล่อยมลพิษจะเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ การรายงานและการปฏิบัติตามจะถูกบังคับใช้อย่างเคร่งครัด และเมื่อใกล้ถึงเส้นตายของกระบวนการทำเรื่อง Net Zero ผู้นำที่เคยเน้นเอาแต่พูดต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ภายใต้การจับตามองของหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งไม่เพียงเท่านั้นแต่ยังรวมถึงนักลงทุนด้วย

7. บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มขึ้น: ความตระหนักในวงกว้างเกี่ยวกับความยั่งยืนกำลังเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่นักลงทุน แม้แต่ลูกค้า พนักงาน และผู้หางานทำ ต่างก็สนใจเรื่องความยั่งยืนด้วย จากการที่เคยเน้นว่าผู้ถือหุ้นเป็นศูนย์กลางเท่านั้น บริษัทต่างๆ จะต้องเปลี่ยนเป็นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใส่ใจกับเรื่องข้างต้นมากขึ้น

8.บน Shelf มีสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น : คนอายุน้อยใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมที่คุกคามมากขึ้น ความคิดนี้เพิ่มไปสู่คนรุ่นต่อไปด้วย และคนทั้งสองรุ่นจะร่วมกันเป็นส่วนสำคัญของกลุ่มคนที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่อาหาร แฟชั่น ไปจนถึงไลฟ์สไตล์ สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะไม่เพียงมีพื้นที่ในความคิดใหญ่ขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ใหญ่ขึ้นบน Shelf ขายของด้วย

9. Work from home กลายเป็นกระแสหลัก : นอกจากเป็นเรื่องสะดวกสำหรับพนักงานจำนวนมากแล้ว และยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากช่วยลดการเดินทางและยานพาหนะบนท้องถนน ตลอดจนการใช้พลังงานในอาคารสำนักงาน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยมลพิษ จึงเป็นประโยชน์กับทั้งพนักงาน นายจ้าง และโลกด้วย การทำงานจากที่บ้านจะดำเนินต่อไปและกลายเป็นสถาบันหลักอย่างถาวร ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการทำงานแบบผสมผสานซึ่งเป็นที่ยอมรับมากขึ้น

10. ยานยนต์ไฟฟ้าพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ : ปัจจุบันมี 1 ในวันประจำปีที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก คือ วัน EV โลก ซึ่งเฉลิมฉลองครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2020 แต่มันกำลังจะได้รับความนิยมมากขึ้น ขณะที่อินเดียพยายามที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ใช้รถยนต์ไฟฟ้า 100% ภายในปี 2573 อุตสาหกรรมดังกล่าวจะได้รับแรงกดดันจากการจัดหาวัตถุดิบด้วยความรับผิดชอบ ประเด็นที่ใหญ่กว่าคือการเอาชนะความท้าทายในการจัดหาไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อชาร์จรถยนต์

ที่มา

You Might Also Like