การชดเชยคาร์บอนแค่เป็นเรื่องตลกหรือไม่ ?

24 กันยายน 2565…ภาพข้างต้นจากรายการ HBO ยอดฮิตของ John Oliver Last Week Tonight มุ่งเป้าไปที่คาร์บอน รายการใน HBO กลายเป็นเรื่องฮิตในหมู่ผู้สนใจเรื่องความยั่งยืน สิ่งที่เขาพูดมีทั้งถูกและผิด รวมถึงต่างจากข้อเท็จจริงอยู่ด้วย

24 กันยายน 2565…ภาพข้างต้นจากรายการ HBO ยอดฮิตของ John Oliver Last Week Tonight มุ่งเป้าไปที่คาร์บอน รายการใน HBO กลายเป็นเรื่องฮิตในหมู่ผู้สนใจเรื่องความยั่งยืน สิ่งที่เขาพูดมีทั้งถูกและผิด รวมถึงต่างจากข้อเท็จจริงอยู่ด้วย

เรื่องแรกที่จะพูดเกี่ยวกับการแสดงของ John Oliver เกี่ยวกับการชดเชยคาร์บอนคือ ถ้าคุณยังไม่เคยดูก็ควรหามาดู ตามปกติโอลิเวอร์เป็นคนตลก ชอบเสียดสี แต่ก็รู้ลึกรู้จริง เขาทําให้เข้าถึงหัวข้อที่ซับซ้อนได้ง่ายและเข้าใจได้ แต่เขาก็โยกโย้มากเช่นกัน และมีหลายจุดที่เข้าใจผิด

เริ่มจากจุดที่ถูกต้อง หัวใจสําคัญในข้อโต้แย้งของโอลิเวอร์คือการอ้างว่าการชดเชยไม่ได้ลดการปล่อยมลพิษหรือขจัดคาร์บอนตามที่น่าจะเป็น ในประเด็นนี้ เขาพูดถูก และมีการตามต่อจาก Bloomberg และ ProPublica โดยสิ่งพิมพ์ทั้งสองค่ายระบุถึงการชดเชยจากการขาย ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อพิทักษ์ป่าที่ดูเหมือนจะบันทึกไม่ถูกต้อง ทำให้เห็นชัดว่า การชดเชยไม่ได้สมบูรณ์แบบอย่างน้อยก็ตอนนี้

จุดที่พูดตรงเป้าอีกเรื่อง คือ เมื่อโอลิเวอร์กล่าวหาว่าบริษัทต่างๆ ใช้การชดเชยปิดบังผลกระทบแท้จริงที่ผลิตภัณฑ์ของพวกเขามีต่อสภาพอากาศ มันเป็นความจริงที่น่าหดหู่ของตลาดการชดเชยคุณภาพต่ำ คาร์บอนเครดิตราคาถูกเหล่านี้ เป็นตัวดึงราคาของเครดิตอื่น ๆ ที่มีคุณภาพสูงกว่า และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทําให้ราคาคาร์บอนเครดิตมักจะต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริงในการกําจัดคาร์บอนหนึ่งตันออกจากชั้นบรรยากาศ บริษัทไม่น้อยซื้อคาร์บอนเครดิตราคาถูกจํานวนมากแล้วอ้างว่าเป็นกลางทางคาร์บอน เนื่องจากตลาดคาร์บอนขาดการควบคุม คำร้องเหล่านี้จึงไม่ถูกตรวจสอบ บริษัทมากมายคงหน้าแตกถ้าตรวจสอบจริงๆจังๆ

จุดที่พลาดอย่างเห็นได้ชัดที่สุด คือ ผู้ชมแทบไม่รู้สึกประทับใจกับรายการเลย ทั้งนี้ การชดเชยคาร์บอนทั้งหมดมีข้อบกพร่องก็จริง แต่โอลิเวอร์เพิกเฉยต่อวิธีการที่ซับซ้อน และกระบวนการตรวจสอบที่องค์กรไม่แสวงหาผลกําไรซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นผู้คิดขึ้นมา เพื่อให้แน่ใจว่าที่จ่ายไป 1 ตันนั้นคุ้มค่า

องค์กรที่มาทำเรื่องนี้ส่วนใหญ่ทําโดยสมัครใจโดยไม่มีคําสั่งหรือใช้ทรัพยากรของรัฐ มีความรู้และความมุ่งมั่นมากมายในองค์กรที่อยู่เบื้องหลังระบบ ตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายที่พัฒนาวิธีปฏิบัติเหล่านี้ ไปจนถึงผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพที่อยู่เบื้องหลัง โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจวัดการชดเชยคาร์บอน

ทั้งนี้ ในข้อเท็จจริง ระบบที่พวกเขาสร้างขึ้นไม่สามารถกําจัดการชดเชยที่ไม่ถูกต้องได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการชดเชยทั้งหมดไม่ถูกต้อง นอกจากนั้น โอลิเวอร์ยังทําให้ผู้ชมคิดว่าการชดเชยถูกใช้เพื่อทำเรื่องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ซึ่งเท่ากับไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นจริง บริษัทหลายแห่งปฏิบัติตามแนวทางที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการชดเชย เช่น วิธีของ Oxford Offsetting Principles และการจัดลําดับความสําคัญของการลดการปล่อยมลพิษตามหลักวิทยาศาสตร์ ก่อนคิดทำเรื่องการชดเชย

แทนที่จะปล่อยให้ผู้ชมรู้สึกว่าตลาดคาร์บอนล้มเหลวโดยสิ้นเชิง โอลิเวอร์สามารถใช้โอกาสนี้ยกตัวอย่างการทำงานของ คณะกรรมการเพื่อความโปร่งใสของตลาดคาร์บอน ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่มีเป้าหมายพัฒนามาตรฐานคุณภาพให้ชัดเจน และการเกิดขึ้นของสตาร์ทอัพจํานวนมาก ที่กำลังทำให้ผู้ซื้อตรวจวัดคุณภาพได้จริง

การเคลื่อนไหวเหล่านี้แสดงให้เห็นศักยภาพเชิงบวก แต่ก็มีจุดอ่อนอีกมากที่ยังเติมไม่เต็ม เช่น จําเป็นต้องขยายปัจจัยพิจารณาการชดเชยอย่างเร่งด่วน เพราะการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับผลที่ชดเชยได้จริงยังมีไม่พอ บางส่วนทําให้เกิดคําถามเกี่ยวกับการขยายขอบเขต และเกณฑ์คุณภาพอื่นๆ กระนั้น แม้ผลที่ได้เป็นเรื่องไม่อาจละเลย แต่ก็เกี่ยวข้องเฉพาะปัจจัยย่อยๆของการพิจารณาชดเชยในภาพรวม

ทั้งนี้ Ecosystem Marketplace ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลชั้นนําเกี่ยวกับตลาดคาร์บอน มีข้อมูลเกี่ยวกับเครดิตมากกว่า 170 ประเภทจากเกือบ 100 ประเทศ การเพิ่มหรือลดที่สําคัญของงานวิจัยอิสระในประเภทเครดิตที่ได้รับความนิยมจะช่วยผู้ซื้อได้มาก และเพิ่มคุณภาพของตลาดอีกทางหนึ่ง

โลกยังต้องการความโปร่งใสเกี่ยวกับการชดเชยคาร์บอนมากกว่าที่มีอยู่ แทนที่จะพึ่งพาการตรวจสอบแบบครั้งเดียวที่ส่วนใหญ่ทําให้บริษัทและโครงการแบบเฉพาะเจาะจง แต่ก็อาจไม่เปลี่ยนแปลงตลาดแต่อย่างใด บริษัทต่างๆควรเปิดเผยทั้งปริมาณเครดิตที่ซื้อเป็นประจําทุกปี และจากโครงการซึ่งมีแหล่งที่มาของเครดิตอยู่แล้ว ข้อกําหนดดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคสําคัญต่อ บริษัท ใด ๆ ที่วางแผนซื้อการชดเชยคาร์บอนคุณภาพต่ำ รวมถึงบริษัทที่จัดลําดับความสําคัญของการชดเชยเหนือการลดการปล่อยมลพิษเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์

ขั้นสุดท้ายในการพัฒนาตลาดคาร์บอนให้ดีขึ้นจําเป็นต้องคุยเรื่องบทลงโทษด้วย เราทราบดีว่าการใช้การชดเชยในทางที่ผิด ส่งผลให้การแก้ปัญหาโลกรวนถอยหลัง สิ่งนี้ทําให้เกิดคําถามว่าพฤติกรรมแบบไหนควรถูกลงโทษหรือไม่ และอย่างไร ในปัจจุบัน ความเสี่ยง คือ การมีชื่อเสียง : ไม่มีบริษัทใดอยากมีชื่อในการสืบค้นของ Bloomberg หรือ ProPublica เราต้องการระบบที่มีบทลงโทษมากขึ้นหรือเปล่า ? ถ้าเป็นแบบนั้น ใครจะถูกปรับหากผลตรวจสอบออกมาไม่ดี ต้องมีการเยียวยา และจ่ายค่าปรับ?

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่คําถามที่หาคำตอบได้ง่าย ๆ อาจเป็นไปได้ว่าการทำโดยสมัครใจดีกว่าการกํากับดูแลของรัฐ แต่ถ้าเราต้องการให้ตลาดคาร์บอนพัฒนาเป็นระบบที่ให้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาสภาพอากาศสูงสุดมากกว่าการวิจารณ์ทางโทรทัศน์ช่วงไพรม์ไทม์ เราจําเป็นต้องถามคําถามยาก ๆ เกี่ยวกับวิธีป้องกันการใช้ในทางที่ผิด และถ้าเราสามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้อุตสาหกรรมก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการเมา Viral อีกครั้งของโอลิเวอร์

ที่มา