TALK

บ้านปู เผย “คณะกรรมการ ESG” เชื่อม Governance ครบวงจร ส่งมอบ อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน

22 ธันวาคม 2564…สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) แนะนำพิริยะ เข็มพล ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ กรรมการอิสระที่จะเป็นเรดาร์คอยจับทิศทางเป้าหมายต่าง ๆ ด้าน ESG ของโลกให้กับคณะกรรมการ Sustainability และทีมผู้บริหาร รวมทั้งเป็นหางเสือช่วยกำกับ บ้านปูในฐานะผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ เพื่อส่งมอบ “Smarter Energy for Sustainability: อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน”

นับเป็นการเพิ่มโครงสร้างการบริหารงาน
คณะกรรมการ บมจ.บ้านปู ครั้งสำคัญ

สมฤดี กล่าวถึงบ้านปู ผู้นำพลังงานหลากหลายระดับนานาชาติ การดำเนินงานบ้านปูเป็นบริษัทไทยไม่กี่บริษัทที่ออกไปดำเนินงานต่างประเทศ 9 ประเทศ ดังนั้นไม่ว่าบริษัทจะอยู่ประเทศใดก็ตาม ชนินทร์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ บมจ.บ้านปู จะบอกว่า เราถือธงชาติไทยไปด้วย

“บ้านปูเป็นผู้นำด้านพลังงานของประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการ ESG และเป็นบริษัทแรก ๆ ในเอเชียที่มีคณะกรรมการ ESG ขึ้นมา”

พิริยะ เข็มพล ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ เคยรับราชการเป็นกงสุลไทยประจำนครเซี่ยงไฮ้ 4 ปี เป็นทูตไทยประจำมองโกเลีย และเกาหลีเหนือ มีประสบการณ์ในสหรัฐอเมริกาในฐาะสมาชิกทูตไทยประจำสหประชาชาติ 4 ปี เป็นกงสุลใหญ่นิวยอร์ค 4 ปี จังหวะหนึ่งไปเป็นทูตที่จอร์แดน จึงมีเรื่องต่างประเทศมาเสริมในงาน

“เราจะเป็นเรดาร์คอยจับทิศทางเป้าหมายต่าง ๆ ของโลกด้าน ESG  ที่มีความสอดคล้อง COP26 และเป็นหางเสือช่วยกำกับ ซึ่งเราจะไปทิศทางเดียวกันกับฝ่ายบริหาร เพื่อเป้าหมายการทำธุรกิจ อย่างยั่งยืน หาโอกาสใหม่ ๆ สร้างการเติบโตด้วยการทำธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อ Stakeholder”

พิริยะยกตัวอย่างการเป็นเรดาร์  เช่นเรื่องเป้าหมายทุกประเทศ จะลดภาวะโลกร้อน 2.5 องศา ในปีค.ศ.2050 เป็นตัวเลขห่างไกลจากเดิม 1.5 องศาที่ทุกคนพูดถึงมาก่อนหน้านี้ บ้านปูต้องไปทิศทางนี้ และเห็นแล้วว่า 5 ปีข้างหน้า Greener Ebitdaา 50 % จะต้องมา ซึ่งจริง ๆ แล้วบ้านปูทำ Benchmark นี้ตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว เพราะมองเห็นทิศทางแล้ว โดยบ้านปูเน็กซ์ ทำไว้ก่อนแล้วปี 2018 เข้าสู่พลังงานโซล่าร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือเรดาร์ ต่อไปคือการนำพลังงานทดแทนอื่น ๆ มาใช้ทดแทนปัจจุบัน จะเป็นพลังงานนิวเคลียร์ไหม สิ่งเหล่านี้คือเรดาร์ ระหว่างที่ทีมผู้บริหารคิดเรื่องพลังงานใหม่ ๆ เข้ามาใช้

“เราทำหน้าที่ส่งเรดาร์ไปหลายเรื่อง การลงทุนใหม่ ๆ จะตอบโจทย์บ้านปูไหม ต้องมีสมดุลย์ในการลงทุนด้วย เหมาะสมไหม จริง ๆ แล้วต้องบอกว่า ทีมผู้บริหารบ้านปูเองมีเรื่อง ESG ในตัวเองแบบอัตโนมัติ ดังนั้นคณะกรรมการ ESG ทำงานไม่ยาก ไม่ต้องส่งแรงกดดันอะไรให้ผู้บริหาร”

สมฤดีขยายความเพิ่มเติม จากมุมมองของคณะกรรมการ ESG จะส่งต่อมาที่คณะกรรมการความยั่งยืน (Sustainability Committee) ซึ่งจะทำงานแตกต่างกัน เพราะคณะกรรมการความยั่งยืน จะเป็นผู้ลงมือทำ เพราะประกอบไปด้วยผู้บริหารที่เป็นผู้นำธุรกิจแต่ละกลุ่มในทุกประเทศของบ้านปู จะมีดีพาร์ทเมนท์หลัก ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมกันตั้งเป้าหมาย วางแผนงานที่จะต้องทำแต่ละไตรมาสแต่ละปี ว่าก้าวหน้าอย่างไรหรือไม่ภายใต้ ESG โดยมีคณะกรรมการ ESG เป็นเรดาร์ดูว่าผู้บริหารทำถึงเป้าหมายตามนั้นหรือไม่

“เพื่อความโปร่งใสต้องมี Check and Balance ดังนั้นการมีเพียง Sustainability Committee ที่ฝ่ายบริหารทำกันเองอาจจะไม่เพียงพอ เราเลยคิดว่าเพื่อให้ Governance ครบวงจร ตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี จึงมีคณะกรรมการ ESG เพื่อเป็นเรดาร์ไกด์ไลน์กับเราด้วย และได้ดูว่าการทำงานของเราก้าวล้ำนำหน้าตามวิสัยทัศน์หรือไม่”


พิริยะ เข็มพล ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ บมจ. บ้านปู พร้อมทีมบริหารบริษัท สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จิรเมธ อัชชะ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – บริหารและพัฒนาองค์กร รัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสาย – สื่อสารองค์กร วิรัช วุฒิธนาเศรษฐ์ ผู้อำนวยการสายอาวุโส – กลยุทธ์องค์กร

ทั้งนี้ บ้านปูได้ดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการ ESG
อย่างต่อเนื่องแล้วดังนี้

-ด้านสิ่งแวดล้อม (E) บ้านปูมุ่งส่งมอบอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ SDGs 3 เป้าหมายในปี 2568 คือ เป้าหมาย 7เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มากกว่า 1.1 GW ภายในปี 2568 เป้าหมาย 13 จะลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 7 % เป้าหมาย 15 บรรลุผลกระทบสุทธิเชิงบวกหลังสิ้นสุดการทำเหมือง สำหรับเหมืองที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

นอกจากนี้ในส่วนกลยุทธ์ Greener & Smarter ในปี 2568 EBITDA มากกว่า 50% จะมาจากธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้นและเทคโนโลยีพลังงาน เช่น โครงการ “ฐานผลิตแห่งอนาคต” (Pad of the future) ติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณก๊าซ และอุปกรณ์ดักจับคาร์บอนอัตโนมัติ การลดการปล่อย GHG ของโรงไฟฟ้า Zouping และโรงไฟฟ้า Luannan การดำเนินโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดตั้ง Decarbonization Project Working Group เพื่อศึกษาแนวทางการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ของบริษัท

โครงการ “ฐานผลิตแห่งอนาคต” (Pad of the future) ในสหรัฐ

-ด้านสังคม (S) จากวัฒนธรรมองค์กร Banpu Heart เชื่อมโยงพนักงานหลากหลายเชื้อชาติในองค์กร ร่วมทำงานกับชุมชน ซึ่งมีความสอดคล้องกับธุรกิจเช่น โครงการสนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (BES) สนับสนุนให้มีครูภาษาอังกฤษเจ้าของภาษาเข้ามาสอนในโรงเรียนทั้ง 6 แห่งในจังหวัดลำพูน ลำปาง และพะเยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่บ้านปูเคยดำเนินธุรกิจ

CSR กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19,ครงการสนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (BES) และโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ,โครงการ Power Green Camp,การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
CSR โครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม ,โครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในอินโดนีเซีย งานส่งเสริมและพัฒนาชุมชนรอบเหมืองในอินโดนีเซีย , งานชุมชนสัมพันธ์ของ Centennial ในออสเตรเลีย

โครงการ Banpu Champions for Change (BC4C) สร้างสตาร์ทอัพได้แล้วกว่า 100 กิจการ โครงการ Power Green Camp (PWG) ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้แก่เยาวชน โครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม พัฒนาทักษะเยาวชนให้มีทักษะของนวัตกรรุ่นใหม่ผ่านกระบวนการสร้างบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19 จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันกองทุนฯ มีงบประมาณรวม 1,000 ล้านบาท

-ด้านการกำกับดูแลกิจการ (G)  เป็นปัจจัยสำคัญในการนำมาซึ่งความสำเร็จ 40 ปีในการดำเนินธุรกิจ เช่น

การจัดตั้งทีมงาน Incident Management Team หรือ IMT ในการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤต ทำให้การดูแลความปลอดภัยของพนักงานและการดำเนินธุรกิจในช่วงสถานการณ์โควิด-19 การจัดตั้งหน่วยงาน Digital Center of Excellence (DCOE) เพื่อขับเคลื่อนบ้านปูให้พร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล การยกระดับความรับผิดชอบด้าน ESG ใน Supply Chain โดยผนวกเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการคู่ค้า โดยได้ใช้ระบบ ESG Audit Performance และการจัดตั้งคณะกรรมการ ESG

สมฤดีกล่าวในท้ายที่สุด ถึงการมีคณะกรรมการ ESG คิดว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ คือการเป็นกระบอกเสียงให้ผู้บริหาร กับทางคณะกรรมการ และผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย ดังนั้น Stakeholder บ้านปู ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยหรือทุกภูมิภาคที่บ้านปูไปลงทุน จะมีความภูมิใจที่ตั้งคณะกรรมการESGขึ้นมา

“เพราะESGไม่ใช่แค่กระดาษ
แต่ที่เราทำคือ ลงมือทำจริง วัดผลจริง
มี Governance มาดูแลความโปร่งใสจริง”

 

You Might Also Like