ORGANIZATIONAL CHANGE

มุมมอง 7 ผู้นำ 7 องค์กร Kick Off เคลื่อนสังคมไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

7 กันยายน 2562…ทั้ง 7 เป็น Executive Committee องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development: TBCSD) สร้าง TBCSD New Chapter


TBCSD New Chapter 1

“เมื่อก่อนเรามีคณะกรรมการที่เราเรียกว่า Council การจะนำ 39 องค์กรมาประชุมร่วมกันทำลำบาก จึงเปลี่ยนเป็นบอร์ดบริหาร 7 คนมาจากที่เลือกกันมา ขั้นต้นผมยังเป็นประธาน บอร์ดบริหารประชุมทุกไตรมาส โดยคุยกันในประเด็นต่าง ๆ โดยมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว”

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง พร้อมเผยชื่อคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย

ดร.อารักษ์ สุธีวงวงศ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
นินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
ฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหารกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย
รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี
นพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้ขัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

TBCSD New Chapter 2

ทั้งนี้ 6 ผู้นำของ 6 องค์กร ได้เล่าถึงมุมมองที่ต้องร่วมกันขับเคลื่อนทั้งในระยะสั้น และระยะยาวดังนี้

-นพดล : การจุดประกายให้เกิด TBCSD New Chapter นั้น ธุรกิจ และความยั่งยืนเป็นเรื่องที่คู่กันเพราะเป็นความท้าทายมากกับความยั่งยืน เมื่อมีโอกาสดู Mission Inspiration จะเห็นคำเหล่านี้ติดอยู่เสมอ จึงทำให้ TBCSD มอง New Chapter สมาชิก 39 องค์กร 7 อุตสาหกรรม ดำเนินธุรกิจคู่สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ

-นินนาท : TBCSD มี Positioning เป็นหน่วยงานกลาง สร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนใน 2 มิติ

1.มิติเชิงลึก หา Best Practice สมาชิกทั้ง 39 บริษัทมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมุมมอง
2.มิติเชิงกว้าง ที่เป็นประโยชน์สังคม และสิ่งแวดล้อม นำ Best Practice มาแลกเปลี่ยนกัน เช่นเรื่อง PM 2.5. มีข่าวออกมาว่าเพราะมาจากภาคเกษตรกรนนใจากการเผาไหม และภาคการขนส่ง

ในส่วนภาคการขนส่ง จะมีการปรับปรุงน้ำมันในเป็นมาตรฐานยูโร 5 ยูโร 6 โดยเราจะต้องไม่ละเลยรถเก่าที่ในประเทศไทยมีอยู่ถึง 70-80% ของจำนวนรถยนต์ทั้งหมด ดังนั้นเราจะรองรับไอเสียอย่างไร เราต้องคิดถึงการสัญจรยั่งยืนทำอย่างไร

เราจะลดคาร์บอนไดออกไซด์จากสินค้าที่ผลิตอย่างไร แม้กระทั่งโรงงาน ใช้น้ำใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เราต้องคิดถึงการปลูกป่าดูดซับคาร์บอนไออกไซด์อย่างไร

-ดร.อารักษ์ : หากมองประเด็นเรื่องการพัฒนาความยั่งยืนในความเคลื่อนไหว 2 ประเทศ เราจะพบว่า

1.จีนก็มี CBCSD สิ่งที่จีนดำเนินการคือ จีนตั้งมาตรวัดมาตรฐานที่ควรจะเป็น ในเรื่องการป้องกันไม่ให้เกิดโลกร้อนเพิ่มึ้น
2.สิงคโปร์ มองปี 2050 ว่าความยั่งยืนจะเป็นอย่างไร

สำหรับประเทศไทย ผมมองว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการทำงานตรงนี้ เรามีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย มีอดีตท่านดร.วิจารย์ สิมาฉายา อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็นผู้อำนวยการ จะช่วยกันในเรื่องนี้

-ฉัตรชัย : องค์กรสมาชิกขณะนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ฉลากเขียวที่ให้สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยตั้งมาตรฐาน รวมถึงเรื่องขยะพลาสติก ที่ร่วมกันทำงานจัดการขยะพลาสติกยั่งยืน และขณะนี้สามารถ Scale Up ได้

-รุ่งโรจน์ : ตอนนี้เรามอง Country Issue เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายคือเรื่อง Climate Change และฝุ่น PM 2.5

ในเรื่อง Climate Change ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยจะมีปัญหามาก รัฐบาลไทยร่วมกับภาคีนานาชาติ Climate Change เรามีเป้าหมายประเทศเราต้องลด กรีนเฮาส์ แก๊ส 500กว่าตันให้เหลือ 400 กว่าตัน TBCSD จะประสานร่วมกับอุตสากรรม ร่วมธุรกิจเดียวกันให้ความรู้กับสาธารณชนให้เห็นว่า ใครต้องทำบ้าง ถ้าไม่ทำจะเกิดผลอย่างไร

ส่วนเรื่อง PM 2.5 เป็นปัญหากระทบจริง ๆ ต่อสุขภาพ และเศรษฐกิจ ต้องมาดูว่าปัญหาอยู่ตรงไหน แหล่งที่ทำให้เกิดอยู่ตรงไหน หรือเพราะฤดูกาลไหม อะไรที่เราสามารถทำได้ และอะไรเป็นเรื่องระยะยาว จากนั้นจะสื่อสารให้สาธารณชน

ทั้ง 2 เรื่องเกี่ยวข้องกับคนหลายกลุ่มจริง ๆ Climate Changeไม่มีพรมแดน ฝุ่นPM 2.5ก็เกิดขึ้น บางทีที่ผลิตก็ไม่ใช่แค่เมืองไทย น่าจะเป็น 2 ประเด็นหลัก ๆ ที่เราจะต้องทำ

-สมชัย : บริษัทที่ตั้งใจอยากทำธุรกิจยั่งยืน โดยโลกทำธุรกิจยั่งยืน ทั้งนี้การบริการมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เช่นเอไอเอส ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นธุรกิจบริการทำเรื่องนี้ได้ ทำการสื่อสารธุรกิจยั่งยืนจะลงไปถึงลูกค้าเลย และจสะท้อนกลับมาที่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

เมื่อ TBCSD New Chapter มีลักษณะภาคีเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรม จะเพิ่มความเข้มแข็ง เมื่อบริษัทแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง โลกทั้งโลกก็แข็งแรง

TBCSD New Chapter 3

การเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งนี้ นับเป็นความสำคัญ เมื่อมีบทบาทองค์กรพันธมิตรในการร่วมสนับสนุนการสร้างความยั่งยืนของภาคธุรกิจไทย โดย สมชาย หวังวัฒนาพาณิช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความร่วมมือว่า

“เรายินดีเป็นแนวร่วมดำเนินธุรกิจตาม Circular Economy ขยะก็มีหลายมิติ เป็นเรื่องการร่วมมือทำงาน จะให้สมาชิกโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภาครัฐจะผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมเดินหน้า”

ส่วน Green Economy เราให้ความสำคัญเรื่องนี้ผลิตสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มากขึ้น มีการจัดซื้อแบบ Greenมากขึ้น ให้ Incentive ด้านนี้มากขึ้นตลอดซัพพลายเชน ซึ่งการร่วมมือกันครั้งนี้รวมกะับภาคประชาชน จะช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และสังคมไทยเรื่องสิ่งแวดล้อมนำไปสู่ความสำเร็จ

กลินท์ สารสิน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แสดงมุมมองต่อความร่วมมือครั้งนี้ว่า

“เราทำมาค้าขาย และการบริการควรทำให้มีจิตสำนึกเศรษฐกิจพอเพียง กระขายรายได้ด้วยความโปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเราเน้น 3 มิติ ESG ทำร่วมกับการที่เราขับเคลื่อนเรื่อง ไทยเท่ เอาความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรมท้องถิ่นมานำเสนอ เป็น 1 หอการค้า 1การท่องเที่ยวชุมชน เป็น KPI และเราจะมี Thailand Tourism Platform เริ่มใช้เดือนพฤศจิกายน

นอกจากนี้ หอการค้าฯ ให้ความสำคัญมากกับเรื่อง “การพัฒนาคน” คนจะย้ายไปอยู่ด้านการบริการมากขึ้น โดยสิ่งที่กำลังดำเนินการเช่น 1 ไร่ 1 ล้านทำอย่างไรจะเพิ่มมูลค่าได้หรือไม่ หริอในเรื่อง Circular Economy เป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวข้องกับทุกคนที่หอการค้าฯ จะผลักดัน ต่อไป

ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แบ่งปันข้อมูลเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ถือเป็นเป้าหมายหนึ่งของ ตลท.

“700 บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีซัพพลายเชนที่เป็น SME จำนวนมากที่เป็นพาร์ทเนอร์ คู่ค้ากับ 700 บจ. และยังมีพนักงาน คนงานเกี่ยวเนื่องไม่ต่ำกว่า 1 ล้านอัตรา เพราะฉะนั้น 700 บจ. เก็บภาษีเงินได้ไม่ต่ำกว่า 30% มีคนเปิดบัญชีล้านกว่าบัญชี เงินลงทุนจำนวนหนึ่ง และเช้าถึงค่ำ Product ในตลาดทุนเกี่ยวข้องกับชึวิตเราทุกคน”

ทั้งนี้ ตลท.ใช้ตัวย่อ ESG มีไกด์ไลน์ มี Process Model ตั้งต้นให้บจ. ต่อมาตลท.ส่งเสริมให้บจ. Impliment นำ ESG (Environment,Social,Governance) ไปใช้ในองค์กร

“เราแนะนำให้บจ.คลี Value Chain ดู Stakeholder ที่อยู่ใกล้ไไกล มีการทำ Disclose เปิดเผยข้อมูล ต้องการให้เห็นการทำงานผูก ESG นอกจากนี้มีเรื่อง CG,THSI,SET Awards เป็นกรอบ่วยส่งเสริมความยั่งยืน อีกทั้งบจ.ของเราอยู่ในระดับโลก DJSI นักลงทุน กองทุนรวมต่าง ๆ สนใจในเรื่องความยั่งยืนมาก ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยินดีที่จะแชร์เรื่องนี้”

TBCSD New Chapter Kick Off

ประเสริฐขยายความต่อเนื่องถึงรูปแบบการทำงาน TBCSD New Chapter ระยะยาวเป็นเรื่องปัญหาโลกร้อน เป็นปัญหาใหญ่ของโลก และจะเกิดขึ้นแน่นอน ซึ่งมีสัญญาณต่าง ๆ มากมาย

“ระยะสั้น ใน 6 เดือนข้างหน้าที่จะเห็นร่วมกัน หวังให้เกิดผลปฏิบัติในกลุ่มเป็นเรื่องปัญหาคุณภาพอากาศ PM 2.5 ที่เกิดขึ้น เราควรจะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร เราจะไปทำการบ้าน เสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในกลุ่มที่เกี่ยวกับตัวเอง เช่นกลุ่มโรงกลั่น เกิดจากคุณภาพน้ำมันหรือไม่ หรือรถยนต์ เกิดจากปัญหารถยนต์หรือไม่ และควรที่จะต้องทำอย่างไร อันนี้จะเป็นข้อเสนอแนะ หรือเป็นเพราะว่าอากาศปิด หรือเป็นเพราะว่าการเผาพืชผลทางการเกษตร ฯลฯ ทำเป็นฮอต ปอตขึ้นมา ซึ่งลักษณะนี้เราจะมาช่วยดูอีกทางช่วยรัฐบาล วันนี้เราทำกรอบความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรม หอการค้าแห่งประเทศไทย และตลท. ได้รวมพลังกันว่า เรามีข้อเสนอแนะอะไร นี่คือระยะสั้น”

อีกเรื่องที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ควรจะทำคือ ปัญหาเรื่องขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติก เรื่องนี้กลุ่มบริษัทใน TBCSD New Chapter องค์กรปิโตรเคมีก็มีอยู่ในนี้ ด้วย ทั้งดาว เคมิคอล GC จะมาช่วยดูขยะที่ใช้แล้วจะจัดการอย่างไร รียูส รีไซเคิลให้เกิดมูลค่าเพิ่ม Circular Economy อย่างไร

“เป้าหมายสูงสุด TBCSD New Chapter เราหวังว่าประมาณ 40 บริษัท ทำเป็นแบบอย่างในธุรกิจของตัวเอง เกี่ยวกับเรื่องธุรกิจอย่างยั่งยืน ต้องดู 3 เรื่องคือ เศรษฐกิจ ผลประกอบการ ดูเรื่องสังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อม เมื่อดูและทำเป็นตัวอย่างแบบอย่างแล้ว ต้องขยายผลผ่านเครือข่าย นอกจากภาคเอกชนที่เป็นสมาชิกเช่นสภาอุตสาหกรรม หอการค้า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีผุ้เกี่ยวข้องเป็นหลาย ๆ หมื่นบริษัท เกี่ยวข้องกับคนจำนวนล้าน ๆ เราจะขยายผลออกไปได้อย่างไร”

ประเสริฐกล่าวในท้ายที่สุดโดยหวังว่า องค์กรที่ทำงานร่วมกันจะมีส่วนช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดความตระหนัก และวางแนวทางปฏิบัติ และสามารถมีส่วนช่วยผลักดันให้สิ่งที่คิดว่าควรจะต้องทำขยายผล ก็จะทำให้สิ่งต่าง ๆ ไปในแนวโน้มที่ดีขึ้นในเรื่องการ พัฒาอย่างยั่งยืน

 

You Might Also Like