NEXT GEN

นวัตกรรมจัดการผลกระทบขยะจากทางการแพทย์จำนวนมหาศาล

25 พฤษภาคม 2563…ขณะที่หลายประเทศยุ่งกันฝุ่นตลบในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลช่วงโรคระบาด อีกเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้กันก็คือ ของเสียจํานวนมากจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกประเภทที่ต้องกําจัด

ตัวอย่างเช่น คําแนะนําของสหราชอาณาจักร คือบุคลากรทางการแพทย์ควรเปลี่ยนชุด ผ้ากันเปื้อน และหน้ากากอนามัย หลังจากการรักษาผู้ป่วยแต่ละรายทุกครั้ง ประเทศอื่น ๆ ก็มีแนวทางคล้ายกันในสถานที่

อย่างไรก็ตาม ช่วงที่สหราชอาณาจักรเริ่มผ่อนคลาย PPE ก็เริ่มขาดแคลน การเติบโต และการใช้งานของเทคโนโลยีเพื่อขจัดการปนเปื้อน และนํา PPE กลับมาใช้ซ้ำเป็นเรื่องที่ถูกจับตามอง กลายเป็นความน่าประทับใจในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

 แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ PPE และการจัดการการรักษาผู้ป่วย COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยร้ายแรง ซึ่งทำให้เกิดขยะทางการแพทย์จํานวนมาก ตัวอย่างเช่น จังหวัดหูเป่ย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการระบาดได้รายงานถึงการเพิ่มขึ้นของขยะทางการแพทย์ 6 เท่าจากเดิม ขณะที่ไวรัส ซึ่งมีที่มาออกจากเมืองสําคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ สร้างขยะทางการแพทย์ 1,000 ตันต่อวัน

ในอุตสาหกรรมการจัดการขยะทางการแพทย์มีบริษัทระดับ Global หลายแห่ง ที่ก่อตั้งมาเป็นเวลานาน มีอุปกรณ์ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น Veolia Environmental Services, Stericycle, Suez Environmental Services และ Waste Management Inc. เป็นต้น  บริษัทเหล่านี้มักจะบริหารจัดการโซลูชั่นภายนอกสําหรับโรงพยาบาล และหน่วยงานดูแลสุขภาพอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณว่า องค์กรขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรที่ดีเหล่านี้กําลังเผชิญกับความท้าทายในการจัดการปริมาณขยะที่สูงขึ้น

แน่นอนว่า กระบวนการบําบัด และการกําจัด ซึ่งมักจะรวมถึงการเผาและฝังกลบ (หลังการรักษา) ยังสามารถเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเชิงลบ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ขาดทั้งความเป็นมืออาชีพ และทรัพยากร ด้วยเหตุที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางและกฎระเบียบท้องถิ่น

เมื่อได้พิจารณาปัญหาอย่างถ่องแท้แล้ว สามารถเห็นว่านวัตกรรมสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

สำหรับด่านหน้า ตามที่กล่าวก่อนหน้านี้ มีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนําอุปกรณ์ PPE กลับมาใช้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ช่วงขาดแคลนหน้ากาก N95.

ตัวอย่างหนึ่งที่ได้รับการอนุมัติอย่างรวดเร็วจาก FDA คือ Battelle Critical Care Decontamination System ซึ่งสามารถชะล้างการปนเปื้อนของอุปกรณ์ N95 นับหมื่นชิ้น ผ่านกระบวนการที่ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มีความเข้มข้นสูงเพียงครั้งเดียว

เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการสร้างหน้ากาก มีโครงการ MakerMask Initiative เป็นที่มาของเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติเครื่องแรก ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ที่สามารถนํามาใช้ซ้ำ หากทำควบคู่กับขั้นตอนการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการเสนอแนวคิดที่น่าสนใจมาก

ชิ้นส่วนทั้งหมดสามารถพิมพ์ 3D ได้ภายใน 3 ชั่วโมงและเปลี่ยนแผ่นกรอง HEPA ได้ ขนาดเครื่องช่วยหายใจสำหรับเด็กมีจำหน่ายแล้ว (คลิกภาพเข้าเว็ปไซต์)

มีโครงการคล้ายกันอื่นๆ เช่น โครงการ A Mask For All ซึ่งขับเคลื่อนด้วยคนสหรัฐ อาร์เจนตินา และยุโรป และให้ทางเลือกการพิมพ์แบบ 3D มีโซลูชั่นกำจัดการปนเปื้อน

แม้ว่าเราสามารถลดจํานวนหน้ากากใช้แล้วทิ้งอย่างมีนัยสําคัญ แต่ก็ยังมีของเสียประเภทอื่น ๆ ทางการแพทย์อื่นๆอีกนับไม่ถ้วนที่ยังคงอยู่

โชคดีที่ว่า มีนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาโดยยึดแนวคิดเรื่องความยั่งยืน โดยกลุ่มคนที่ทำงานนี้ มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย ประการแรก คือ ผ่านโซลูชั่นการบําบัดรักษา และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ไม่พึ่งพาการเผา และเป็นการทำที่แหล่งกำเนิดของเสียเลย

ตัวอย่างหนึ่งคือ Envomed ที่อิสราเอล ซึ่งมีเครื่องฉีก และฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่มีความคมได้ถึง 80 ชุด (เช่น หลอด และเข็มฉีดยา ฯลฯ ) รวมถึงของเสียติดเชื้อ และแปลงให้เป็นสารตกค้างที่ไม่เป็นพิษที่สามารถทิ้งได้อย่างปลอดภัย

(คลิกภาพเข้าเว็ปไซต์)

โซลูชั่นการวินิจฉัยทางคลินิกของไอร์แลนด์ Technopath’ Envotec 200 ใช้กระบวนการที่ไม่ใช้ความร้อนกับสารเคมีอันตราย ที่จะฉีกและฆ่าเชื้อขยะทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลเลย ซึ่งท้ายที่สุด ขยะจะมีสภาพเทียบเท่าของเสียในครัวเรือน ตอนนี้ ผู้ใช้เทคโนโลยีนี้ในสหรัฐอเมริกา คือ Northwell Health ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพใหญ่ที่สุดของนิวยอร์ก.

นวัตกรรมที่น่าสนใจอีกเรื่อง ซึ่งอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น มีชื่อว่า Smart Container เป็นคอนเทนเนอร์ความยาว 40 ฟุต ซึ่งจะช่วยให้โรงพยาบาลบําบัดขยะทางการแพทย์ได้มากถึง 20 ตันต่อวัน

สิ่งที่ทำให้วิธีแก้ปัญหานี้น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ มันถูกสร้างขึ้นบนเทคโนโลยี Pyrolysis ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และกําลังถูกปรับใช้เพื่อจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกมหาศาล ด้วย Plasma Pyrolysis Technology ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยความร้อน และกำจัดก๊าซพิษได้ดี ภายใต้มาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ

ท้ายที่สุดแล้ว ระบบการแพทย์ก็จะต้องประเมินค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมใหม่เหล่านี้ เมื่อเทียบกับสภาพที่เป็นอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ทุกคนล้วนตั้งความหวังลึกๆว่า วิกฤตนี้จะสร้างความคิด และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาของเสียทางการแพทย์ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยาวนานจากโรคระบาดนี้ให้หมดไปอย่างถาวร

ที่มา

Image: Hilary Schwab, CC BY-NC 2.0

 

You Might Also Like