NEXT GEN

Gen Zs และ Millennials ต้องการให้องค์กรธุรกิจต่อสู้กับภาวะโลกรวน

18-19 มิถุนายน 2565…แม้จะมีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และอัตราเงินเฟ้อสูงก็ตาม แต่การปกป้องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นสําคัญที่สุดที่ทั้ง Gen Zs และ Millennials ใส่ใจ โดยผลการสํารวจความเห็น Gen Z และ Millennial ในปี 2022 ของ Deloitte คนทั้งสองรุ่นบอกว่า ภาวะโลกรวนเป็นเรื่องสำคัญอันดับ 2 รองจากปัญหาค่าครองชีพ เมื่อถูกถามว่า ปัญหาสังคมลำดับต้น ๆ ที่คิดถึงคือเรื่องใด

ประมาณสามในสี่ของ Gen Zs และ Millennials เชื่อว่าโลกกําลังอยู่ในจุดสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่ง เมื่อต้องพูดถึงการแก้ไขปัญหาภาวะโลกรวน และ 90 % ของทั้งสองกลุ่มกําลังดําเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความกังวลอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับภาวะโลกรวนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจแทบทุกเรื่อง ตั้งแต่อาหารที่พวกเขากินไปจนถึงบริษัทที่พวกเขาทํางานด้วย

ในระยะใกล้ Gen Zs และ Millennials เน้นสิ่งที่ทําในชีวิตประจําวัน เช่น ใช้สินค้ามือสองและรีไซเคิล หาวัตถุดิบท้องถิ่นและ organic food แม้ยังกังวลเรื่องฐานะทางการเงิน แต่หลายคนก็บอกว่าพวกเขายินดีจ่ายมากขึ้นในการเลือกสินค้าที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน ขณะที่ก็อาจพบว่ามันเป็นเรื่องท้าทายที่จะลงทุนในสินค้าที่มีราคาแพงกว่าเช่นแผงเซลล์แสงอาทิตย์และรถยนต์ไฟฟ้า ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสํารวจกล่าวว่าพวกเขาวางแผนซื้อของเหล่านี้ในอนาคต

พวกเขายังต้องการทํางานให้กับองค์กรที่สะท้อนค่านิยมของพวกเขา มีผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและทําให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาสร้างความแตกต่างได้ ในความเป็นจริงเกือบสองในห้าของผู้ที่สํารวจกล่าวว่าพวกเขาปฏิเสธงานหรือสิ่งที่ได้รับมอบหมายเพราะไม่สอดคล้องกับค่านิยมของพวกเขา

 

Cr.คลิกภาพ

ผลักดันให้นายจ้างทําสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น

ตามรายงานความยั่งยืน CxO ปี 2022 ของ Deloitte เมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้บริหาร 79% ยอมรับว่าโลกกําลังอยู่ในจุดสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่ง เมื่อต้องพูดถึงการแก้ไขปัญหาภาวะโลกรวน อย่างไรก็ตามมีเพียง 15 % ของ Gen Zs และ 14 % ของคนรุ่นมิลเลนเนียลเชื่อ ว่าบรรดาองค์กรธุรกิจมุ่งมั่นจริงจังในการแก้ปัญหาภาวะโลกรวน เกือบครึ่งหนึ่งของ Gen Zs และมากกว่าสี่ใน 10 มิลเลนเนียลกล่าวว่า พวกเขากําลังผลักดันให้นายจ้างของพวกเขาทํามากขึ้น

Gen Zs และ Millennials ต้องการให้นายจ้างจัดลําดับความสําคัญของการลงมือทําด้านสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นได้ในชีวิตประจําวัน เช่น ห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ฝึกอบรมให้ผู้คนเลือกได้ดีขึ้นในชีวิตประจําวัน พวกเขายังต้องการโอกาสมากขึ้นในการมีส่วนร่วมในความพยายามแก้ปัญหาภูมิอากาศขององค์กร

พวกเขามีความกังวลอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับภาวะโลกรวน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรื่อง ตั้งแต่อาหารที่กินไปจนถึงบริษัทที่พวกเขาทํางานให้

ความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่กว้างขึ้น และลึกขึ้นซึ่งธุรกิจสามารถดําเนินการเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงนอกองค์กรของตนเอง เป็นเรื่องที่มีความสําคัญค่อนข้างต่ำในความเห็นของ Gen Zs และ Millennials เช่นการเพิ่มการมีส่วนร่วมกับนโยบายสาธารณะและการใช้กลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นี่อาจเป็นเพราะความจริงที่ว่าความพยายามดังกล่าวเห็นเป็นรูปธรรมน้อย ขณะที่พนักงานมีส่วนร่วมโดยตรงได้ไม่ง่ายเท่าไหร่

เข้าถึงทั้งสองทาง

ผลการสํารวจยังชี้ให้เห็นว่านายจ้างมีโอกาสสร้างคุณค่า แยกความแตกต่างด้วยวิธีเข้าถึงแบบสองทาง

วิธีแรก  จัดลําดับความสําคัญ ลงมือทําในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศในชีวิตประจําวันที่เห็นได้ชัดมากก่อน ผลสํารวจเน้นย้ำว่า Gen Zs และ Millennials กําลังประเมินนายจ้างทั้งปัจจุบันและในอนาคต บนพื้นฐานของลงมือแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลกระทบต่อความสามารถในการสรรหาและรักษาพนักงานที่พร้อมจะย้ายไปทำงานกับองค์กรที่พอใจเมื่อไหร่ก็ได้เหล่านี้

วิธีที่สอง บริษัทควรมีส่วนร่วมกับพนักงานทั้งองค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Gen Zs และ Millennials ช่วยให้พวกเขาเข้าใจวัตถุประสงค์ระยะยาว และผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องของวัตถุประสงค์เหล่านี้ โดยพูดถึงความก้าวหน้าระดับโลก

 

องค์ประกอบสําคัญของความพยายามนี้ คือ สร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมีส่วนร่วมในขั้นความคิดริเริ่ม และกลายเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก

ตัวอย่างกลยุทธ์ระยะยาว เช่น การมุ่งมั่นที่จะบรรลุการปล่อยเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ต้องใช้ความพยายามที่หลากหลาย การให้ความรู้ ให้อำนาจพนักงาน บูรณาการปัจจัยด้านความยั่งยืนเข้าไปในอำนาจตัดสินใจของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นลดการปล่อยคาร์บอน การทำเรื่องโลเคชั่นสํานักงานสีเขียว Fleet รถที่ใช้ทั้งหมด ห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืน

มองหาโอกาสที่ความพยายามเหล่านี้สามารถดึงผู้เข้าร่วมที่กระตือรือร้น รวมถึงฝึกอบรมลึกซึ้งยิ่งขึ้นให้แก่ผู้มีส่วนร่วม และมีบทบาท เป็นผู้ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้ประสบความสำเร็จมากที่สุดเหล่านั้น

องค์กรที่ทำให้สังคมเห็นชัด ทำได้อย่างมีความหมาย รวมถึงให้โอกาสพนักงานมีส่วนร่วม – สามารถได้รับประโยชน์อย่างมากหากต้องสรรหาและรักษา Gen Zs และ millennials ขณะเดียวกันด้วยการให้อํานาจพนักงานเพื่อช่วยต่อสู้กับการแก้ปัญหาภาวะโลกรวน ธุรกิจก็จะอยู่ในสถานะที่ดีขึ้นในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงภาพใหญ่ และสร้างผลกระทบที่มีความหมายอย่างแท้จริง

ด้วยการตอบสนองต่อการเรียกร้องให้ดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศนี้ บริษัทสามารถสร้างสถานการณ์ “win-win-win” ที่ไม่เหมือนใคร ทั้งสําหรับนายจ้าง Gen Zs และ Millennials และสําคัญที่สุดเพื่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวม

ที่มา

 

You Might Also Like