NEXT GEN

3 แนวคิดง่ายๆ เพื่อบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ลดขยะอาหาร

30 พฤศจิกายน 2561…เพียงแค่ 2 ปีที่ผ่านมาเราได้กล่าวถึงขยะอาหาร และหนึ่งคำถามที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขนั่นก็คือ บทบาทของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ทั้งปกป้องและรักษาอาหาร

ประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนในปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดการแบ่งเป็น 2 ฝ่ายอย่างรวดเร็ว ทางฝั่งอุตสาหกรรมได้ให้เหตุผลว่าบรรจุภัณฑ์มีหน้าที่สำคัญในการปกป้องผลิตภัณฑ์ โดยสหพันธ์อาหารและเครื่องดื่ม (The Food and Drink Federation – FDF) และสภาอุตสาหกรรมเพื่อการวิจัยบรรจุภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม (The Industry Council for research on Packaging and the Environment – INCPEN) ได้เน้นย้ำว่าผลิตภัณฑ์ภายในบรรจุภัณฑ์นั้นใช้ทรัพยากรและพลังงานมากกว่าตัวบรรจุภัณฑ์โดยเฉลี่ย 10 เท่าเสียอีก นี่จึงแสดงให้เห็นว่าทำไมเราถึงห่อแตงกวาให้แนบเนื้อไปโดยสัญชาติญาณ

แต่ทางฝั่งกลุ่มเพื่อนร่วมโลก (Friends of the Earth) ได้โต้แย้งว่า ปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ได้มีส่วนช่วยควบคุมปัญหาขยะอาหารในยุโรป บรรจุภัณฑ์พลาสติกกว่า 2 ล้านตันที่ใช้ต่อปีในสหราชอาณาจักรเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับขยะอาหารจากครัวเรือนภายในประเทศปริมาณ 7 ล้านตันในทุกๆ ปี แล้วนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ควรจะเชื่อฝ่ายไหนดีล่ะ

เช่นเดียวกับปัญหาอันแสนซับซ้อนเรื่องอื่นๆ คำตอบก็มักจะไม่ชัดเจน แต่ที่แน่นอนก็คือความจำเป็นที่จะต้องลดปริมาณบรรจุภัณฑ์และขยะอาหาร อีกทั้งยังจะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อที่จะลดขยะอาหารให้น้อยลงได้ โดยประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง คำกล่าวอ้างของตราสินค้าและบริษัทผู้ผลิตที่ว่าบรรจุภัณฑ์โดยทั่วๆ ไปได้จัดการปัญหาขยะอาหารได้ดีเพียงพอแล้วนั้นยังไม่เพียงพอ

อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ จะต้องพลิกสถานการณ์ช่วยแก้ปัญหาขยะอาหารนี้ ซึ่งสามารถวัดผลได้และมีระเบียบวิธี ควรริเริ่มสิ่งที่นักสิ่งแวดล้อมเรียกว่า “กิจกรรมโครงการเพิ่มเติม” แม้จะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววันก็ตาม แต่ความคิดสร้างสรรค์และแนวความคิดรูปแบบใหม่ๆ อาจจะช่วยทำให้ดีขึ้นได้

ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อลดปริมาณขยะอาหาร

วิธีปฏิบัติงานที่ล้ำสมัยด้วยนวัตกรรม และการออกแบบอย่างยั่งยืนเป็นบทสรุปหนึ่งที่สร้างสรรค์ในแบบที่เราชื่นชอบ ดังนั้นเราจึงเริ่มการทดลองเพื่อให้เป็นแนวทางทางความคิดโดยการตั้งคำถามว่า เราจะออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อลดขยะอาหารได้อย่างไร โดยผู้ที่เข้าร่วมในบล็อคได้เสนอแนวความคิดและผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ไว้มากมาย

เราได้เริ่มจากการนิยาม 3 แนวทางง่ายๆ ที่การออกแบบบรรจุภัณฑ์สามารถที่จะลดขยะอาหารลงได้

การถนอมอาหาร การบรรจุที่ทำให้อาหารยังเก็บความสดใหม่ให้อยู่ได้นานขึ้น
การจำกัดปริมาณ การบรรจุที่ช่วยให้เตรียม ปรุง และรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ
นำกลับมาใช้ใหม่ การบรรจุที่ส่งเสริมให้ใช้อาหารที่เหลืออย่างสร้างสรรค์

นี่ยังรวมไปถึงการตีความในปัจจุบันของบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ที่บอกว่าหีบห่อมีไว้ทำหน้าที่อะไร และเป็นอะไรกันแน่ และได้เห็นถึงศักยภาพที่สามารถทำให้ดีมากขึ้นไปอีก แทนที่จะเป็นเพียงทำให้แย่น้อยลง เราจึงได้นำทั้ง 3 กลยุทธ์นี้มาประยุกต์ใช้กับอาหารบางประเภทที่เหลือทิ้งเป็นประจำมากที่สุดของสหราชอาณาจักร ได้แก่ ข้าว ขนมปังและกล้วย และได้ต่อยอดเป็น 3 แนวทางการบรรจุภัณฑ์ที่เรียกว่า ‘pack-cept’ ซึ่งจะทำให้ประจักษ์ด้วยข้อพิสูจน์และบ่งชี้ถึงโอกาส ดังต่อไปนี้

ขนมปังที่เหลือกลายมาเป็นโทส

ประเด็นของขยะอาหาร ขนมปังแถวที่ผ่าเป็นแผ่นๆ ในสหราชอาณาจักรจะก่อให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยเฉลี่ยประมาณ 1 กิโลกรัม ในขณะที่ห่อพลาสติก PE/PP (โพลีเอทิลีน/โพลีโพรพิลีน) ก่อให้เกิดฟุตพรินท์น้อยเพียงแค่ 8 กรัม เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นได้อย่างชัดเจน ขนมปังถือได้ว่าเป็นอาหารเหลือทิ้งมากที่สุดในสหราชอาณาจักร ในทุกๆ วันนั้นมีขนมปังแผ่นเหลือทิ้งกองโต กว่า 24 ล้านแผ่น แม้ว่าขนมปังแถวโดยปกติถ้าเก็บอย่างดีสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 7 วัน

การแก้ปัญหาของบรรจุภัณฑ์ การออกแบบควรมีกลไกที่ง่ายต่อการเปิดปิดปากถุง ซึ่งจะช่วยให้ขนมปังยังคงความสดใหม่ไว้ได้นานขึ้น ทดแทนแผ่นพลาสติกที่ไม่มีประสิทธิภาพไว้ใช้แค่ปิดห่อขนมปัง ซึ่งหลุดหายหรือหมดความเหนียวอยู่เป็นประจำ การออกแบบหีบห่อสามารถทำจากแผ่นฟิล์มไบโอพลาสติกได้โดยง่าย และมีประโยชน์อื่นเพิ่มเติมในการนำไปรีไซเคิลที่ร้านฟิล์มใกล้บ้านได้ แทนที่จะโยนทิ้งไป

เลิกนิสัยเหลือข้าวทิ้ง

ประเด็นของขยะอาหาร ข้าวที่ปรุงสุกมักจะเหลือทิ้ง ในสหราชอาณาจักรเหลือทิ้งเป็นจำนวนมากกว่า 40,000 ตันในแต่ละปี ซึ่งเกิดจากการที่คนไม่รู้ว่าหุงข้าวมากเกินไปตั้งแต่ต้น

การแก้ปัญหาของบรรจุภัณฑ์ ‘pack-cept’ ยังคงใช้รูปแบบการบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบัน แต่พิมพ์เป็นสัญลักษณ์ด้านข้างเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคหุงข้าวด้วยปริมาณที่พอเหมาะสำหรับแต่ละมื้ออาหาร โดยนัยยะสำคัญคือเพื่อสื่อถึงสัดส่วนที่เหมาะสม เช่น 90 กรัมคือปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน สำหรับ 11 จานต่อห่อ 500 กรัม แทนที่จะบอกเพียงแค่จำนวนกรัม แต่ไม่มีการสื่อถึงปริมาณการหุงในแต่ละครั้ง วิธีการนี้สำมารถนำมาใช้ได้อย่างง่ายดายและมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยแก่ห่วงโซ่อุปทานของบรรจุภัณฑ์

กล้วยสุกงอมเพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่

ประเด็นของขยะอาหาร เราอาจจับจ่ายเงินเพื่อซื้อกล้วยกว่า 500 ล้านปอนด์ในสหราชอาณาจักรในแต่ละปี ซึ่งหมายถึงเงินจำนวนมากถึง 1.4 ล้านปอนด์ในทุกๆ วัน แต่ผู้บริโภคก็มักจะไม่เลือกผลที่มีรอยช้ำหรือตำหนิแค่เพียงเล็กน้อย

การแก้ปัญหาของบรรจุภัณฑ์ การออกแบบแผ่นป้ายติดแบบง่ายๆ แนะนำให้ผู้บริโภคนำกล้วยมาดัดแปลงอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น นำกล้วยมาปั่นเป็นสมูทตี้แสนอร่อย หรือมีสัญญาณเตือนสีเหลืองปรากฎขึ้นหากกล้วยเริ่มสุกและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล อย่างเช่น ทำจากป้ายแว๊กซ์หรือเทคโนโลยีป้ายพิมพ์เลเซอร์ ที่ใช้กับผลอโวคาโด เป็นต้น

แนวคิดแบบ ‘pack-cept’ เหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างง่ายดาย คุ้มค่า และมีผลกระทบทางเทคนิคเพียงเล็กน้อย อีกทั้งยังเพิ่มคุณค่าแก่ผู้บริโภคด้วย ซึ่งสามารถออกแบบให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยวัสดุที่ยั่งยืน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือแม้กระทั่งลักษณะแบบดั้งเดิมอื่นๆ ที่เป็นการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน เช่นกัน

ลดหีบห่อบรรจุภัณฑ์หรือจัดการกับขยะอาหาร ทำไมไม่ทำทั้งสองอย่างเลยล่ะ

เราจะต้องไม่ลืมนึกถึงศักยภาพอันเหลือเชื่อ สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพื่อลดปริมาณขยะอาหารและการสูญเสียสินค้าในแง่มุมอื่น แท้จริงแล้ว การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนจะต้องขยายวงกว้างมากขึ้นเพื่อที่จะทำให้เกิดขึ้นได้จริง สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เบี่ยงเบนประเด็นของการลดการใช้และการทำลายซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน แต่จะช่วยเสริมกันและกัน เราจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันและนำเสนอความคิดใหม่ๆ เพื่อจัดการกับความท้าทายที่ใหญ่โตเหล่านี้

แนวคิด ‘pack-cept’ นี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น และเราเชื่อว่าจะมีโอกาสอันแสนวิเศษที่จะตอบสนองทางความคิดสร้างสรรค์และสร้างกำไรได้ เราเชื่อว่าทั้งตราสินค้าและผู้ผลิดยังสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้ และพร้อมต้อนรับโอกาสที่จะทำงานร่วมกันในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อขจัดปัญหาขยะอาหารนี้

ที่มา

 

You Might Also Like