NEXT GEN

รู้จักระบบขนส่งสาธารณะจากพลังงานสะอาดไร้คนขับ ผลผลิตจาก SDG Lab by Thammasat & AIS

17 ธันวาคม 2564… นำร่อง รถโดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ขนาด 7 ที่นั่ง ติดตั้งอุปกรณ์ Sensors และ Computing Hardware ทำให้ตัวรถสามารถใช้ Software ควบคุมการขับเคลื่อนได้อย่างอัตโนมัติ ผ่านเครือข่าย AIS 5G 2 รูปแบบคือ Auto-Pilot mode ขับเคลื่อนตามเส้นทางที่กำหนดแบบอัตโนมัติ และ Virtual Control mode ขับเคลื่อนผ่านการควบคุมระยะไกล

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS และ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ประธานคณะกรรมการบริหารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างนั่งรถโดยสาร EV ไร้คนขับ

 

ผศ.ดร.ปริญญา เล่าถึงรถ EV ไร้คนขับคันนี้ ถูกกำหนดวิ่งบนเส้นที่เป็นแกนกลางของมหาวิทยาลัย เริ่มตั้งแต่ด้านหน้าถนนพหลโยธินที่มีอาคารป๋วย 100 ปี ซึ่งด้านบนปลูกผักกินได้ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งภายในอาคาร มีส่วนของ SDG Lab by Thammasat & AIS อยู่ที่นั่น จากนั้นจะวิ่ง ผ่านอาคารเรียนทั้งหมด ทั้งอาคารเรียนรวม 1 SC 1 SC 2 SC 3 แล้วก็มาถึงหอสมุด เรียกว่า เส้นทางที่เป็นแกนกลางวิ่งเป็นวงกลม ซึ่งถือเป็นเส้นทางที่สำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนี้ถือเป็นการเริ่มต้น และนักศึกษาจะได้ใช้จริงมากขึ้นก็จะเป็นปี 2565 เมื่อเปิดเรียนตามปกติ

“ขั้นตอนที่ยุ่งยากตอนจัดระบบเส้นทาง วิ่งอย่างไร เข้าจอดอย่างไร มีมอเตอร์ไซด์ปาดหน้าทำอย่างไร มีคนเดินข้ามถนน หรือมีตัวเงินตัวทองเดินผ่าน รถจะหยุดอัตโนมัติไหม ต่อเมื่อจัดระบบเรียบร้อยใช้งานแล้วมีความปลอดภัย เมื่อใดที่มีรถตัดหน้า รถคันนี้จะหยุดก่อน เพื่อความปลอดภัย”

วสิษฐ์ กล่าวต่อเนื่อง จากวันแรกที่คุยกันเรื่อง 5G สิ่งแรกเราพูดถึงรถไร้คนขับ รีโมทไดร์ฟวิ่ง ขับรถทางไกล ซึ่งเมื่อนำร่องรถ EV ไร้คนขับ ได้แล้ว ก็นึกถึงความปลอดภัยทุกอย่าง รวมถึงคนใช้รถปกติที่อยู่ร่วมทางในมหาวิทยาลัย ตามกฎหมายที่กำหนดไว้

ระบบขนส่งสาธารณะแบบไร้คนขับ Autonomous EV Car เป็นการนำรถโดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ขนาด 7 ที่นั่ง มาติดตั้งอุปกรณ์ Sensors and Computing Hardware ทำให้ตัวรถสามารถใช้ Software ควบคุมการขับเคลื่อนได้อย่างอัตโนมัติ ได้ถึง 2 รูปแบบคือ

1.Auto-Pilot mode ขับเคลื่อนตามเส้นทางที่กำหนดแบบอัตโนมัติ ผ่านเครือข่าย AIS 5G ที่จะมีการจอดรับ-ส่ง ผู้โดยสารตามจุดต่างๆ ที่มีการทดลองและกำหนดไว้ แล้ว โดยระบบการทำงานของเซนเซอร์จะเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยในระยะการเดินรถรอบทิศทาง
2.Virtual Control mode ขับเคลื่อนผ่านการควบคุมระยะไกล ซึ่งจะสามารถบังคับรถโดยสารไฟฟ้าบนเครื่อง ซิมูเลเตอร์ (Simulator) ที่สตรีมจากกล้อง 360 องศา ผ่านเครือข่าย AIS 5G โดยระบบ Driver Assistance Systems จะช่วยตรวจสอบความปลอดภัยในการเดินรถอย่างสมบูรณ์แบบ

นับเป็นความร่วมมือทางนวัตกรรม ทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นพื้นที่ของการนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5G มาพัฒนาเพื่อสร้างรากฐานด้านความยั่งยืน ในการยกระดับคุณภาพชีวิตจนสามารถขับเคลื่อนไปสู่การเป็นสังคมเมืองแบบ Smart City ด้วยเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น พร้อมทั้งให้นักศึกษา-บุคลากรในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สัมผัสประสบการณ์โลกอนาคตได้ก่อนใครกับระบบขนส่งสาธารณะจากพลังงานสะอาดไร้คนขับ

คลิกข้อมูลเพิ่มเติม SDG Lab by Thammasat & AIS

You Might Also Like