CSR

บ้านปู โรดโชว์ค้นหา SE คนรุ่นใหม่ถึงพื้นที่ Kick Off เชียงใหม่

12 เมษายน 2567…ตามแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วย ESG โดยในส่วนสังคมใช้เครื่องมือ CSR อย่างมีกลยุทธ์ ต่อเนื่องในปีที่ 13 สร้างแรงหนุนให้มีกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ใหม่ ๆ ทั่วประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงของเศรษฐกิจไทย ในโครงการ “พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” (Banpu Champions for Change: BC4C)


รัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโสสื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) สุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion องค์กรไม่แสวงผลกำไรภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ Alumni ของโครงการฯ บุตรพจน์ พลพิพัฒนาพงศ์ BC4C รุ่น 9 จาก Hmong Cyber (ม้งไซเบอร์) ยุจเรศ สมนา BC4C รุ่นที่ 8 จาก Craft de Quarr (คราฟท์เดอคัวร์) ร่วมเวทีทอล์กจาก SE รุ่นพี่ และเวิร์กชอปการเขียนแผนธุรกิจ

“บ้านปูจัดกิจกรรม BC4C โรดโชว์ในครั้งนี้ เพราะเราอยากไปค้นหาคนรุ่นใหม่ถึงพื้นที่ คนที่มี Passion อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนของตัวเองเพื่อชวนมาร่วมโครงการกับเรา เชียงใหม่เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่ เช่น มีตลาดที่ใหญ่ มีประเด็นทางสังคมที่ซับซ้อนหลากหลาย มีความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ มีกลุ่มงานฝีมือคุณภาพสูง ที่สำคัญคือมีคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียและพลังที่เข้มแข็ง เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ดีที่จะช่วยให้ SE สามารถดำเนินกิจการให้เติบโต พร้อมกับช่วยลดปัญหาทางสังคม เช่น ลดความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริมอาชีพและการศึกษา งานฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน”

รัฐพล(ขวา)และสุนิตย์ บนเวที Talk เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ SE

 

รัฐพลขยายความต่อเนื่อง จํานวนของ SE เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ อาจจะมีจํานวน ที่จํากัด แต่ปัญหาในระดับประเทศไทยมีจำนวนมาก เพราะฉะนั้นเราเข้าใจว่ากลุ่มคนหรือชุมชนในแต่ละชุมชน มีความเข้มแข็งหรือเขามีคนกลุ่มคนที่อยากจะทํางาน SE เพียงแต่อาจจะไม่ทราบว่าจะมาเชื่อมต่อกับบ้านปูได้อย่างไร แทนที่จะให้เขามาสมัครเรา เราก็ลงพื้นที่มาให้ความรู้ มาทํากิจกรรมเวิร์คช็อปร่วมกันคิดว่าถ้าสนใจจริงจริงก็สามารถสมัครเข้าร่วม BC4C ปีที่ 13 ได้เลย

“เราอยากเห็นคนรุ่นใหม่เกิดมากับธุรกิจแบบนี้ เพราะว่าเขาสามารถที่จะทําธุรกิจที่ต่อยอดของเขาเองได้จะจะสังเกตว่าธุรกิจอย่างที่ทางคุณบุตรพจน์ พลพิพัฒนาพงศ์ BC4C รุ่น 9 จาก Hmong Cyber (ม้งไซเบอร์) และคุณยุจเรศ สมนา BC4C รุ่นที่ 8 จาก Craft de Quarr (คราฟท์เดอคัวร์) มีความเป็นทันสมัยมากเลยนะครับมันไม่ได้ต่างจากธุรกิจทั่ว ๆ ไปเลย” สุนิตย์กล่าว

สำหรับ Hmong Cyber (ม้งไซเบอร์) ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก (หมู่บ้าน บ้านน้ำจวง) เพราะบุตรพจน์เชื่อว่าเทคโนโลยีการศึกษาจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชนชาวเขาและลดความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ลงได้ โดยได้นำทักษะ Cyber เช่น Coding, Video & Media Production, Food-Tech, Artist-Youtuber และ AgriTech มาต่อยอดสู่อาชีพที่ยั่งยืน

 

บุตรพจน์ และยุจเรศ

ส่วน Craft de Quarr (คราฟท์เดอคัวร์) กิจการเพื่อสังคมในการพัฒนาสินค้าหัตถกรรมชุมชนเพื่อสร้างกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่มชนชาติพันธุ์ในภาคเหนือและเป็นช่องทางการจำหน่ายให้ชุมชน ซึ่งมีเครือข่ายชุมชนกว่า 200 ชุมชน ทั่วประเทศไทย เป็นการกระจายรายได้และถ่ายทอดทักษะฝีมือจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่

พร้อมกันนี้ ได้ลงพื้นที่กลางเมืองเชียงใหม่ที่“กิจการเพื่อสังคม” (SE Alumni) ขับเคลื่อนชุมชนเติบโตยั่งยืนแบรนด์ Buddy HomeCare โดย บริษัท บั๊ดดี้โฮมแคร์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม) กิจการเพื่อสังคมที่ดึงเยาวชนมาเป็น “บั๊ดดี้สูงวัย” กลไกที่ช่วย “สร้างรายได้พร้อมคลายเศร้า” รับ Aging Society จังหวัดเชียงใหม่

ในภาพ ชมพู่-อรปรียา สะโน เยาวชนชาวปกาเกอะญอ ที่อาสาเป็น Care Giver Buddy HomeCare ดูแลผู้สูงอายุในเชียงใหม่ ในบ้านพ่อติดเตียง (เตียงในที่นี้เป็นเตียงนอนปกติ)ส่วนแม่กำลังจะเป็นผู้ป่วยติดเตียง ขณะที่อา พิการ ผู้ดูแลคือลูกชายวัย 50 ปีที่ต้องลาออกจากงานประจำมาดูแลบุคคลทั้งสาม ปัจจุบันไม่มีรายได้….คลิกภาพอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 

“หลังจากเชียงใหม่แล้ว เราจะไปพบกับ SE ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่ต่อไป สำหรับ BC4C ปีที่ 13 นี้ บ้านปูยังคงเดินหน้าผลักดันศักยภาพผู้ประกอบการ SE ไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของไทยให้เข้มแข็ง ภายใต้แนวคิด Impactful Locals, National Boost: ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง” รัฐพลกล่าวในท้ายที่สุด

 

You Might Also Like