CSR

เผย 8 วิธี… รับมือ “รอดภัยแล้ง”

15 กุมภาพันธ์ 2563… เอสซีจี ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ สสน. และสยามคูโบต้า เปิดตัวโครงการ    “เอสซีจีร้อยใจ 108 ชุมชน รอดภัยแล้ง” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเอสซีจีครบรอบ 108 ปี ในปี 2564

ทั้งนี้ เป็นการสนับสนุนให้ชุมชนลุกขึ้นแก้ปัญหาภัยแล้งด้วยตนเองตามแนวพระราชดำริ ที่ใช้ “ความรู้คู่คุณธรรม” ทั้ง “ความรู้” ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตรวจสอบแหล่งน้ำ วางแผนจัดทำผังน้ำ และการใช้น้ำที่เหมาะสมกับความต้องการของชุมชน ตลอดจนส่งเสริม “คุณธรรม” ให้คนในชุมชน “รู้ รัก สามัคคี มีส่วนร่วม และพึ่งพาตนเอง” จัดสรรแบ่งปันน้ำอย่างเป็นธรรม โดยมีชุมชนแกนนำของอุทกพัฒน์ฯ และเอสซีจี ร่วมเป็นพี่เลี้ยง ตั้งเป้าพัฒนา 108 ชุมชน แบ่งปันความรู้สู่ชุมชนอื่นต่อไป

ธีระพงษ์ กลิ่นฟุ้ง สารวัตรกำนัน ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เคยประสบภัยแล้งเมื่อปี 2558 ทั้ง ๆ ที่มีแหล่งน้ำในพื้นที่คือ ลำห้วยแก้ว นั่นเป็นเพราะ “ไม่ได้บริหารจัดการน้ำ” เมื่อประชุมพูดคุยกับชุมชน ก็ได้ข้อสรุปว่า ปล่อยแบบนี้ไม่ได้ จึงตกลงร่วมมือกับเอสซีจี บริหารจัดการน้ำ ตามกายภาพพื้นที่ เช่น การทำฝายในพื้นที่ที่จะต้องทำ เทปูนช่วยรองรับการกักเก็บน้ำ ขุดบ่อเสริม ขุดบ่อเก็บฯลฯ ในที่สุดก็ “รอดภัยแล้ง”

“หมู่บ้านผมทำพืชระยะสั้น เก็บเกี่ยวในระยะ 55 วัน บริหารน้ำได้ บริหารการเพาะปลูกได้ พืชผักที่ชุมชนผมปลูก ไม่มีขายในเมืองไทย เพราะมีคนซื้อส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งผลจากร่วมโครงการเอสซีจี เกษตรกรที่บ้านมีงานทำในหน้าแล้ง ไม่ต้องออกไปหางานทำในเมือง กลับกัน คนต่างถิ่นเข้ามาทำงานในพื้นที่ของเรา”

พิชาญ ทิพวงษ์ ผู้ประสานงานมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่าถึงอดีตในพื้นที่ 40 ปีที่แล้ว เห็นภาพแล้งซ้ำซาก และก็คิดว่า ภัยแล้ง การแก้ปัญหาไม่ใ่ช่ศักยภาพของชุมชนที่จะลงมือทำได้ เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะจัดการ จนกระทั่งมีโอกาสพบกับดร.รอยล จิตรดอน กรรมการ และเลขานุการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อลงมือทำตามโจทย์ที่ได้รับจากดร.รอยล ทำข้อมูลน้ำ จัดรูปแบบที่ดินใหม่ ให้มีการปลูกพืชหลากหลาย ในที่สุดก็พบว่า เรื่องบริหารจัดการน้ำ ชุมชนทำได้เอง

ชุมชนร่วมวางแผนการบริหารจัดการน้ำชุมชน ชุมชนใช้เเผนที่เพื่อสำรวจเเละวางแผนการจัดการน้ำ การหาพื้นที่สร้างแหล่งเก็บน้ำ ชุมชนจัดการแหล่งน้ำด้วยตนเอง

วีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการ Enterprise Brand Management Office Director เอสซีจี  ขยายความตัวอย่างที่เกิดขึ้นข้างต้น   จะเริ่มต้นจากการเฟ้นหาชุมชนที่มีความสามัคคี ปัจจุบันได้มาแล้ว 30 ชุมชน โดยชุมชนเหล่านี้ต้องมีแหล่งน้ำใกล้ ๆ จะได้ผันน้ำมาได้ จากนั้นจะมีการสอนเรื่องการจัดการน้ำเป็นอย่างไร ระบบสารสนเทศเป็นอย่างไร การผันน้ำจะทำอย่างไร จะขุดเพื่ออะไร ทำการเชื่อมแหล่งน้ำเดิมกับแหล่งน้ำใหม่เข้าด้วยกัน แล้วแต่ว่าจะเป็นที่ต่ำสู่ที่สูง หรือที่สูงสู่ที่ต่ำ ตามสภาพพื้นที่ โดยจะต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆ มาใช้ เช่นโซล่าร์เซลล์ มาผลิตไฟ เพื่อสูบน้ำ ซึ่งตอนนี้ต้องรอครึ่งปีหลัง ที่มีน้ำ ส่วนหนึ่งรอผันน้ำเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่พอ ต้องรอฝน เพราะฉะนั้นต้องทำปีนี้ แล้วรอปีหน้า เมื่อทำจุดนี้เสร็จก็ต้องตั้งกรรมการชุมชนชน เพราะหากโซลาร์เซลเสีย จะได้มีการซ่อมแซม เพื่อนำไปใช้ได้อีกครั้ง และทำให้กลุ่มชาวบ้านที่ประสบความสำเร็จเป็นกลุ่มพี่เลี้ยงต่อไป

 

“คุณธีระพงษ์ ถือว่าเป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จแล้ว จะเป็นอีกท่านหนึ่งที่จะช่วยอบรมให้ 30 ชุมชนด้วย โดยในปีนี้จะทำครึ่งหนึ่ง และปีหน้าทำอีกครึ่งหนึ่งก็จะครบ 108 ชุมชน ซึ่งเป็นปีที่เอสซีจีมีอายุ 108 ปี โดย 108 ชุมชนนี้มีทั้งชุมชนทีเคยทำงานกับเอสซีจี และชุมชนใหม่ คือชุมชนแล้งซ้ำซาก แต่ต้องมีความสามัคคี มีแหล่งน้ำ ซึ่งขณะนี้เริ่มคุยกับชุมชน เริ่มอบรมให้ชุมชนแล้ว”

ปัจจัยสำคัญของการอยู่รอดจากภัยแล้งอย่างยั่งยืนนั้น คือ “คนในชุมชนต้องร่วมแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้คู่คุณธรรม” ซึ่งในความร่วมมือครั้งนี้สยามคูโบต้า ได้สนับสนุนความรู้และการขุดแหล่งน้ำด้วยรถขุดขนาดเล็กคูโบต้า โดยมุ่งหวังว่าความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในครั้งนี้จะช่วยให้ชุมชนมีสระน้ำที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ชุมชนจัดการแหล่งน้ำด้วยตนเอง การใช้โซลาร์เซลล์เพื่อช่วยผันน้ำเข้าแปลงเกษตร ช่วยลดค่าไฟฟ้า

นอกจากนี้ เอสซีจียังแบ่งปันน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วจำนวนประมาณ 4 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี ให้ชุมชนรอบโรงงานได้รับประโยชน์สำหรับทำการเกษตรในพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ เพื่อช่วยลดต้นทุนการเพาะปลูก และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร พร้อมตรวจสอบคุณภาพน้ำและผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้น้ำบำบัดของโรงงานตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสนับสนุนพื้นที่ในเหมืองทราย 8 แห่ง และพัฒนาเหมืองเก่า 7 แห่ง ให้สามารถกักเก็บน้ำได้รวม 44.3 ล้าน ลบ.ม. เพื่อมอบให้เป็นแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ของชุมชน

เอสซีจี และเครือข่าย เชื่อมั่นว่าหากชุมชนมีความสามัคคีและลุกขึ้นมาจัดการน้ำแบบพึ่งพาตนเอง โดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการวางแผนการใช้น้ำ จะช่วยให้มีน้ำสำรองไว้ใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

You Might Also Like