CSR

12 ปี 130 SE จากเวที “บ้านปู” สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ 2.5 ล้านคน

23 พฤศจิกายน 2566…ล่าสุด เปิดโอกาสให้กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวได้ขยายตลาด เปิดบูธแนะนำสินค้าและบริการ ณ ใจกลางสยามสแควร์

รัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion องค์กรไม่แสวงผลกำไรภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึง จัดงาน “Impact Day 2023: Where Tourism Meets Social Good กิจการเพื่อสังคมเชื่อมโยงชุมชนและท่องเที่ยวไทย” ภายใต้โครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ Banpu Champions for Change (BC4C)

สำหรับ BC4C มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและขยาย SE Ecosystem ของไทยให้เติบโต สามารถสร้างผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอด 12 ปีของโครงการมี 130 SE จากเวที BC4C สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ 2.5 ล้านคน ด้วยหลากหลายกิจการเพื่อสังคม และในโอกาสที่จะต้องประกาศผล 3 กิจการเพื่อสังคมระยะเริ่มต้น (Incubation Program) ที่คว้ารางวัลชนะเลิศและทุนสนับสนุนเพื่อต่อยอดธุรกิจทีมละ 250,000 บาท จากโครงการ BC4C รุ่นที่ 12 ปีนี้อยู่ในช่วงปลายปี โครงการจึงรวบตึงไว้ใน Impact Day “กิจการเพื่อสังคมเชื่อมโยงชุมชนและท่องเที่ยวไทย”

รัฐพล และสุนิตย์ สองแรงขับเคลื่อน SE Ecosystem

 

“ Impact Day ถือเป็นอีเวนต์สำคัญปลายปีของ BC4C ที่เปิดโอกาสให้ SE ได้พบลูกค้าตัวจริง ได้ฟัง Feedback และเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดเพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงยิ่งขึ้น โดยปีนี้เราชูประเด็น
ความเกี่ยวโยงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกับกิจการเพื่อสังคม โดยเฉพาะในช่วงปลายปีที่เป็น High Season จึงอยากส่งเสริม เทรนด์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เปลี่ยนการท่องเที่ยวธรรมดาให้สามารถส่งต่อชีวิตชีวาและคุณค่าให้กับชุมชนและสังคมได้”

พร้อมกันนี้ภายในงานได้ประกาศผล 3 กิจการเพื่อสังคมระยะเริ่มต้น (Incubation Program) ที่คว้ารางวัลชนะเลิศและทุนสนับสนุนเพื่อต่อยอดธุรกิจทีมละ 250,000 บาท จากโครงการ BC4C ในรุ่นที่ 12 
โดยเกณฑ์การคัดเลือกผู้ชนะจะพิจารณาจากโมเดลธุรกิจที่มีแนวทางการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ มีตัวชี้วัดการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม 
ซึ่ง 3 กิจการที่ชนะเลิศในปีนี้ (โดยไม่เรียงลำดับ) ได้แก่

-คีรีฟาร์ม (Khiri Farm) ธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จาก ‘ฟางข้าว’ หลังฤดูเก็บเกี่ยวเพื่อปลูกเห็ด และต่อยอดสู่แพลตฟอร์มการเรียนรู้ ‘เห็ดก้อน’ ที่สร้างรายได้ให้ทั้งธุรกิจ ชุมชน และเป็นกิจกรรม
ให้ผู้สูงวัย
-เติมน้ำ (Termnaam) ธุรกิจ ‘ผงล้างจาน’ ไร้สารเคมีตกค้าง สะดวกต่อการพกพา
สำหรับนักเดินทาง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
-พื้นที่ปลอดภัยเรื่องเพศในวัยรุ่น (Sex-O-Phone) แพลตฟอร์มให้คำปรึกษา
จากผู้เชี่ยวชาญ มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและความสงสัยของวัยรุ่นเรื่องเพศ และลด ‘ภาวะท้องไม่พร้อม’ ในวัยเรียน

ทีมชนะจากซ้าย พื้นที่ปลอดภัยเรื่องเพศในวัยรุ่น (Sex-O-Phone) บน คีรีฟาร์ม (Khiri Farm) และ เติมน้ำ (Termnaam)

โครงการ BC4C เน้นย้ำถึงหลักการทำธุรกิจเพื่อสังคม 
3 ข้อเป็นสำคัญ ได้แก่

-การมี Passion คือต้องมีความมุ่งมั่น
-การรู้จัก Marketplace ธุรกิจต้องสอดรับกับความต้องการของตลาด
-การมี SE Ecosystem หรือระบบนิเวศของกิจการเพื่อสังคม
เพื่อสนับสนุนเกื้อกูลกัน

SE จำเป็นต้องอาศัยเงินจากนักลงทุน บวกกับคำแนะนำจากผู้คร่ำหวอดในวงการตัวจริงที่จะคอยแบ่งปันประสบการณ์ให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และสำคัญที่สุดคือการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งในด้านเงินทุน และการอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะทำให้กิจการเพื่อสังคมของไทยสามารถเจริญเติบโตทัดเทียมกับกิจการเพื่อสังคมของประเทศอื่นๆ ได้

“เราเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้จะมีผู้ประกอบการ SE เพิ่มขึ้นจากเทรนด์ธุรกิจเพื่อความยั่งยืนที่กำลังมาแรง”

 

You Might Also Like