CSR

เริ่มบริจาค“สร้างบ้าน” ในแบบ Habitat for Humanity ได้กุศลทั้ง Ecosystem

29 พฤศจิกายน 2564…งานสาธารณะแบบนี้ การบริจาคสำคัญมาก ซึ่งบริจาคได้ทั้งรายบุคคล และแบรนด์ทำ CSR โดยก่อนที่จะไปถึงการลงมือร่วมกันสร้างบ้าน จะมีการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 ในรูปแบบออนไลน์ที่จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 7-9 ธันวาคม 2564 ได้ที่ aphousingforum.org/registration/

ลูอิส โนดะ รองประธาน องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Habitat for Humanity) กล่าวถึงการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Housing Forum) จะเน้นย้ำถึงความจำเป็นอันเร่งด่วนในการสร้างที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืน ครอบคลุมสำหรับทุกคน และมีต้นทุนที่เหมาะสมในภูมิภาคเพื่อตอบสนองผู้คนนับหลายล้านคนที่ต้องอาศัยอยู่อย่างยากจนแร้นแค้น

“คนเหล่านี้มีระดับรายได้ที่ต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน อยู่ในภูมิภาคที่ชุมชนต่าง ๆ ยังคงดิ้นรนต่อสู้กับผลกระทบด้านสุขภาพ และเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 นั้น มีประชาชนจำนวน 1.6 พันล้านคนที่ต้องการที่พักอาศัยอย่างพอเพียง แต่เมื่อมีวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพระดับโลกครั้งนี้ ยังคงมีประชากรกลุ่มเปราะบางหรือด้อยโอกาสที่ไม่สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ท่ามกลางโรคระบาดครั้งใหญ่นี้ ประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง (Economic Shock) ภัยคุกคามจากภัยธรรมชาติ ไปจนถึงภัยที่เกิดจากมนุษย์ และผลกระทบด้านลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”

การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 ภายใต้หัวข้อ Building forward better for inclusive housing เป็นการประชุมที่แสดงให้เห็นว่า ครอบครัวที่ด้อยโอกาสที่สุด Habitat for Humanity ช่วยเหลือผ่านการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยนั้น มีสิทธิและมีเสียงในกระบวนการและมีบทบาทที่เป็นการส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นได้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่มีความเหมาะสม

ลูอิส กล่าวถึงHabitat for Humanity และอาสาสมัครจากชิลี

การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก จัดขึ้นโดยองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ในความร่วมมือกับโครงการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน SWITCH-Asia (SWITCH-Asia Sustainable Consumption and Production Facility) ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU)

“เราต้องให้ความสำคัญกับการร่วมกันลงมือปฏิบัติสนับสนุนช่วยเหลือบนพื้นฐานความจำเป็นของผู้คน เพื่อที่จะได้สร้างแนวทางที่ทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย และยืดหยุ่นมั่นคงมากขึ้นอย่างแท้จริง”

การประชุมนี้จะเป็นการประชุมในรูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้เข้าร่วมได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่าง ๆ จากทั่วทั้งระบบนิเวศที่อยู่อาศัย ตลอดจนเป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์ เทคโนโลยี นวัตกรรม รวมไปถึงโซลูชัน และการแก้ปัญหาต่าง ๆ แนวทางในการประชุมมี 4 แนวทาง ประกอบไปด้วย

1.สร้างเมืองและชุมชนที่ยืดหยุ่นและมั่นคง
2.โซลูชันและเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยที่เป็นนวัตกรรมใหม่
3.ความยั่งยืนขั้นสูงในภาคที่อยู่อาศัย
4.การจัดการเงินทุนด้านที่อยู่อาศัยที่มีต้นทุนที่เหมาะสม

“เวทีนี้จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หาโซลูชั่นหลาย ๆ อย่างทั้งระบบนิเวศที่อยู่อาศัย เพราะเรารู้ดีว่า การสร้างบ้านภายใต้แนวทางทั้ง 4 เรื่องที่เราจะหารือกันนั้น มันเป็นเรื่องตรงกันข้ามในการสร้างบ้านราคาไม่สูงเพื่อคนจำนวนมาก แต่ต้องมีแนวทางความเป็น Green ด้วย ซึ่งเราก็มีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มทำ และหวังว่าเมื่อขนาดการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น สินค้าจะถูกลง”

ลูอิสกล่าวต่อเนื่อง ในการประชุมครั้งนี้ จะมีการพูดถึงนวัตกรรมหลากหลาย ที่จะมีการสนับสนุนจากภาคเอกชน รวมถึงภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะความจำเป็นที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมากระตุ้นให้เกิด Eco Friendly เช่นประเทศฟิลิปปินส์ มีการใช้งานซิเมนต์ที่มีส่วนผสมไม้ไผ่ ซึ่งเมื่อนำไปสร้างบ้านราคาจะสูงกว่าปกติ แต่เมื่อมีการผลิตและใช้มากขึ้นราคาก็ลดลง โดยข้อดีของการสร้างบ้านด้วยปูนซิเมนต์ผสมไม้ไผ่ จะช่วยป้องกันบ้านเมื่อเกิดแผ่นดินไหวมากกว่า 6.0 แมกนิจูด

นอกจากนี้ ยังมีบ้านที่สร้างจากวัสดุเหลือใช้ เช่นพลาสติก กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ นำมาทำเป็นหลังคา ผนังบ้านภายนอก ซึ่งจากเดิมก็มีราคาค่อนข้างสูง ประมาณ 8 แสนบาท แต่ปัจจุบันราคาก็เริ่มลดลงมาเหลือ 4 แสนบาทเป็นต้น

บ้าน…จาก Habitat for Humanity ประเทศไทย โดยช่างที่มาร่วมทำงาน ซึ่งถือเป็น 1 ใน Ecosystem ที่มีการจ้างงาน ….ทุกคน ต้องมีที่ที่เรียกว่าบ้าน

ใน Ecosystem ของ Habitat for Humanity เผยแพร่รายงานว่า ทุกๆ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในผลผลิตที่มาจากการก่อสร้างจะช่วยสร้างงานได้เฉลี่ย 97 ตำแหน่งทั่วประเทศ (ประเทศที่ร่วมอยู่ในการวิจัย) ในฟิลิปปินส์มีการสร้างงาน 165 ตำแหน่งต่อ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในอินเดียมี 182 ตำแหน่งต่อ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สิ่งค้นพบเหล่านี้บ่งบอกถึงความสำคัญต่อประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางที่ต้องตัดสินใจว่า พื้นที่ใดต้องให้ความสำคัญก่อน-หลัง เนื่องจากประเทศเหล่านั้นต้องทำงานเพื่อสร้างเศรษฐกิจขึ้นใหม่จากการที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ให้ฟื้นฟูกลับคืนมา (จากรายงานเรื่อง “A Ladder Up: The construction sector’s role in creating jobs and rebuilding emerging market economies” โดยนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยวอชิงตัน)

ประเทศไทยมีโอกาสมากจากปี 2561-2562 อัตราความยากจนในประเทศไทยลดลงเหลือ 6.2% ตามข้อมูลของธนาคารโลก แต่ในปี 2563 อัตราความยากจนกลับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 8.8% เพราะการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และส่งผลต่อการบริจาคให้ Habitat for Humanity ในประเทศไทย ลดพื้นที่การทำงานจาก 4 ภาคเหลือเพียงภาคกลางปทุมธานี สุพรรณบุรี และฉะเชิงเทราเท่านั้น เนื่องจากเงินบริจาคลดลงถึง 80%

Habitat for Humanity ในประเทศไทย หวังที่จะได้รับการบริจาคจากบริษัทในรูปแบบการทำ CSR ที่จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ รวมถึงรับการบริจาคเป็นรายบุคคลจากคนไทยด้วยกันเองมากขึ้น เนื่องจากคนไทยจะไม่นิยมบริจาคสร้างบ้านให้ผู้ด้อยโอกาสที่จะมีบ้านอยู่

 

You Might Also Like