CIRCULAR ECONOMY

GC Circular Living Symposium 2022 : Together to Net Zero ได้เร่งขยายแนวร่วมเชื่อม Ecosystem รวมพลังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

12 กันยายน 2565…วันนี้ Climate Change ส่งผลกระทบมาถึงการใช้ชีวิต และเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าในอนาคตทุกคนจะได้รับผลกระทบที่หนักขึ้นกว่าที่เป็นอยู่หากวิกฤตนี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ที่ผ่านมาเห็นได้ว่ามีหลากหน่วยงานต่างพากันขับเคลื่อน และหยยยลบบลงนึ่งในนั้นคือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนแรกๆ ที่ลุกขึ้นมาสร้างการรับรู้ต่อวิกฤตนี้ในวงกว้าง หลังมองเห็นความจำเป็นที่ทุกคนบนโลกต้องยื่นมือแสดงความรับผิดชอบในการขับเคลื่อนสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

ในฐานะผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต GC พร้อมร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่ประกาศพันธสัญญาองค์กรที่มุ่งมั่นแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนเท่านั้น แต่ยังเดินหน้านำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาสู่การลงมือทำจริง (Circular Economy in Action) พร้อมแสวงหาแนวร่วมผ่านการสร้าง Ecosystem และ Platform เชื่อมโยงให้ลูกค้า พันธมิตร และสังคมชุมชนมีส่วนร่วมกันหาทางออกให้กับวิกฤต พร้อมสร้างการรับรู้ต่อคนในสังคมด้วยการจัดงาน GC Circular Living Symposium 2022 ภายใต้ธีม “Together to Net Zero” หรือ การประชุมระดับนานาชาติ รวมพลังขับเคลื่อนสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยระดม 40 ผู้นำทางความคิดชั้นนำระดับประเทศและระดับนานาชาติ ภาครัฐ เอกชน คนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และสตาร์ทอัพ มาร่วมแชร์ไอเดีย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และต่อยอดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบ GC Circular Living สู่เป้าหมาย Net Zero

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวถึงการลดการปล่อยคาร์บอนเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจต้องทำเพราะมีความสำคัญต่อโลก โดย GC ประกาศเป้าหมายปี 2030 จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20% และ ปี 2050 จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์   ด้วยการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานขององค์กร

ดร.คงกระพัน

การขับเคลื่อนเพียงลำพังย่อมไม่สามารถแก้วิกฤตครั้งใหญ่นี้ได้ ภายในงาน “GC Circular Living Symposium 2022: Together to Net Zero” มีโชว์เคสต่างๆ ที่ GC เข้าไปร่วมมือกับพันธมิตร ตลอดจนคู่ค้า ซัพพลายเออร์ ครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร ก่อสร้าง สินค้าเครื่องใช้ภายในบ้าน แฟชั่น เทคโนโลยี และรถยนต์ รวมถึงสังคมชุมชน โดยนำเทคโนโลยี และองค์ความรู้ในด้าน Upcycling และ Circular Living ของ GC พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

“’GC Circular Living Symposium ที่ผ่านมาเราเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง Circular Living แต่งานในครั้งนี้เรามุ่งเน้นสร้างวิธีปฏิบัติเพื่อก้าวสู่ Net Zero ดังนั้นกิจกรรมทั้ง 2 วัน เราจึงเชิญผู้นำความคิดมากกว่า 40 องค์กรมาช่วยแชร์ไอเดียบนเวทีถึงสิ่งที่เขาได้ดำเนินการ และเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าเขามีกระบวนการทำ Net Zero อย่างไร ส่วนด้านหน้าของงานเป็นกิจกรรมเวิร์กช็อปสายกรีน และนิทรรศการจัดแสดงด้านความยั่งยืนมีตัวอย่างสินค้า ให้คนทั่วไปได้เห็นว่า Net Zero ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และสามารถปฎิบัติได้จริง เพื่อให้ทุกคนร่วมด้วยช่วยกันไม่มากก็น้อย แน่นอนว่าหากเป็นองค์กรใหญ่อย่างเราอาจช่วยได้เยอะหน่อย ทั้งที่เราทำเองและร่วมทำงานกับพันธมิตรขนาดใหญ่ อย่าง กทม. หัวเว่ย และเนสท์เล่ รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในขณะที่ประชาชนคนธรรมดาก็ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ชีวิตประจำวันให้ทุกคนสามารถเป็น Hero To Net Zero ได้ง่ายๆ”

บางส่วนของกิจกรรมในงาน GC Circular Living Symposium 2022: Together to Net Zero

ดร.คงกระพัน ยังกล่าวถึงความคืบหน้าเป้าหมาย Net Zero ของ GC ว่ามีความก้าวหน้าเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ผ่าน 3 แนวทาง ได้แก่

1.ปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงาน โดยนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยของเสีย นำพลังงานใหม่มาใช้
2.ลงทุนในธุรกิจคาร์บอน และเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์
3.การกักเก็บคาร์บอน

แต่ทั้ง 3 แนวทางข้างต้น ไม่สำคัญเท่างาน “GC Circular Living Symposium 2022: Together To Net Zero” ในครั้งนี้ เพราะสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ Net Zero ได้นั้นอยู่ที่การสร้างแนวร่วมให้ทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม และทุกระดับทางสังคม มีความเข้าใจกับปัญหาก่อน เพื่อนำไปสู่เครือข่ายหรือ Ecosystem สร้างความมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกันด้วยแนวทาง Circular Economy

ด้าน ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กร GC ย้ำว่า Circular Economy จะเป็นหนทางเดียวในการแก้ไขปัญหา Climate Change ซึ่งประกอบไปด้วย สร้างของเสียให้น้อยที่สุด ลดการใช้ทรัพยากร หรือหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่

ดร.ชญาน์

“การทำธุรกิจจะยั่งยืนได้ เราต้องดึงทุก Stakeholder เข้ามามีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจให้ได้ เพราะนอกจากโรงงานของ GC จะใช้วัตถุดิบน้อยลง ลดของเสียแล้ว แต่เราทำคนเดียวไม่พอ ที่ผ่านมาเราจึงพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ ให้กับลูกค้าหรือร่วมพัฒนากับลูกค้า เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างความยั่งยืนกับโลกไปด้วยกัน เช่น สารเคลือบผิวผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มความคงทนยืดอายุการใช้งาน และไบโอพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งการนำขยะพลาสติกมา Upcycling เป็นเส้นใยทอผ้าเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เป็นต้น”

สำหรับการสร้างการมีส่วนร่วมในระดับสังคมและชุมชน GC ทำโครงการ YOUเทิร์น เป็นแพลตฟอร์มการจัดการขยะพลาสติก ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันสร้างคุณค่าให้กับขยะพลาสติกอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่แยกและทิ้งขยะพลาสติกในมืออย่างถูกวิธี จากนั้น YOUเทิร์น จะเข้ามารวบรวมและคัดแยกขยะพลาสติกอีกครั้ง เชื่อมต่อการขนส่งเข้าสู่ ENVICCO โรงงานรีไซเคิลพลาสติกมาตรฐานโลกของ GC หรือโรงงานรีไซเคิลพันธมิตรที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าขยะพลาสติกทุกชิ้นจะได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม กลับมาสร้างประโยชน์แทนการฝังกลบ และนำกลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุดตามหลัก Circular Economy

“แพลตฟอร์มดังกล่าวไม่เพียงแต่ลดผลกระทบที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนเท่านั้น แต่ยังเป็นบทพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า Circular Economy สามารถสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน และห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องอย่างภาคขนส่งอีกด้วย”

ดร.คงกระพัน ยังทิ้งท้ายว่า Net Zero จะเป็นแค่เป้าหมาย หากทุกคนไม่เข้าใจว่าทำเรื่องนี้ไปทำไม ดังนั้น GC จึงหวังว่า GC Circular Living Symposium ครั้งนี้ จะเป็นพื้นที่ในการจุดประกายให้ทุกคนนำไปขยายผลในบทบาทของตนเองเพราะ Net Zero จะสำเร็จได้ต้องอาศัยพลังจากทุกคนก้าวไปด้วยกัน

#GCCircularLivingSymposium2022
#TogetherToNetZero
#ยิ่งใกล้คุณยิ่งต้องดี

You Might Also Like