CIRCULAR ECONOMY

ตลาดเครื่องนุ่งห่มผลิตแบบ Circular คาดว่าจะสูงถึง 77,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2026



21 กรกฏาคม 2564…รายงานการขายต่อในปี 2021 ของ thredUP ประมาณการว่าตลาดเสื้อผ้ามือสองจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า แตะระดับ 77,000 ล้านดอลลาร์ แรงจูงใจด้านนโยบายเพื่อยุติการผลิตและกำจัด Fast Fashion จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ

thredUp แพลตฟอร์มขายต่อออนไลน์ชั้นนำสำหรับเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับของผู้หญิงและเด็ก เผยข้อมูลเชิงลึกของรายงานการขายต่อในปี 2021 ซึ่งเป็นการศึกษาตลาดสินค้ามือสองของสหรัฐฯ การสำรวจประจำปีครั้งที่ 9 มีผู้บริโภคตอบแบบสอบถาม 3,500 ราย

การศึกษาในปีนี้เผยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ เกี่ยวกับความนิยมการขายต่อที่พุ่งขึ้นสูงระหว่างการฟื้นตัวของโรคระบาด และความจำเป็นในการดำเนินการของรัฐบาล ที่จะเร่งการนำวิธีผลิตแฟชั่นแบบ Circular มาใช้เป็นครั้งแรก ที่รายงานยังมีส่วนของ ผลกระทบ เน้นความคืบหน้าของบริษัทที่มุ่งสู่ภารกิจสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภครุ่นใหม่ “เปลี่ยนไปเน้นความประหยัด” ด้วยการยืดอายุเสื้อผ้าที่ใช้แล้วหลายล้านชิ้น

thredUP จึงช่วยชดเชยต้นทุนทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการเงินของวงการแฟชั่น จนถึงปัจจุบัน แพลตฟอร์มได้ดำเนินการกับสินค้ามือสองมากกว่า 125 ล้านรายการ กำจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 พันล้านปอนด์ หากคิดจากราคาขายปลีกก็จะช่วยผู้บริโภคประหยัด 3,900 ล้านดอลลาร์โดยประมาณ

James Reinhart ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ thredUP ให้ข้อมูลผลการสำรวจว่า

“เราอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในธุรกิจค้าปลีก ผู้บริโภคคิดถึงเรื่องความยั่งยืนเป็นลำดับต้นๆ ขณะที่ผู้ค้าปลีกเปิดใจเรื่องการขายต่อมากขึ้น ส่วนผู้กำหนดนโยบายกำลังสนใจเรื่อง Circular Economy อย่างจริงจัง”
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับมลพิษมีพลังการเปลี่ยนแปลง ยามที่นวัตกรรมเทคโนโลยีปะทะกับแรงจูงใจของผู้บริโภค ธุรกิจ และภาครัฐ เราเคยเห็นเรื่องนี้มาแล้วกับรถยนต์ไฟฟ้า และพลังงานแสงอาทิตย์ และเราเชื่อว่าแฟชั่นที่ใช้การผลิตแบบ Circular คืออนาคต ด้วยรายงานการขายต่อประจำปีนี้ เราหวังที่จะเห็นการจุดประกายพลังบวกของการขายต่อ และสร้างตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการทำงานร่วมกัน รวมทั้งเกิดการก้าวหน้าต่อไปทั้งอุตสาหกรรม”

มีการค้นพบที่โดดเด่นหลายเรื่อง เช่น

-ภาคการขายต่อเติบโตขึ้นในช่วงการแพร่ระบาด และคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นระหว่างการฟื้นตัว รวมถึงในอนาคต
-ตลาดมือสองตอนนี้มีมูลค่า 36,000 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าในอีก 5 ปีข้างหน้าเป็น 77,000 ล้านดอลลาร์

-การขายต่อคาดว่าจะโตเร็วกว่าเสื้อผ้าขายปลีก 11 เท่าในช่วง 5 ปีข้างหน้า

-ในปี 2020 ผู้บริโภค 33 ล้านคนซื้อเสื้อผ้ามือสองเป็นครั้งแรก และ 76 % ของผู้ซื้อครั้งแรกเหล่านี้วางแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายในการซื้อของมือสองในอีก 5 ปีข้างหน้า

Cr.thredUPคลิกที่ภาพ

การขายต่อเป็นช่องทางโตครั้งใหม่สำหรับผู้ค้าปลีกเครื่องนุ่งห่ม

-62 % ของผู้บริหารธุรกิจค้าปลีกกล่าวว่า ลูกค้าของพวกเขามีส่วนร่วมในการขายต่อแล้ว และ 42% ของผู้บริหารกล่าวว่าการขายต่อจะเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจของพวกเขาในอีก 5 ปีข้างหน้า

-43 % ของผู้บริโภคกล่าวว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ากับแบรนด์ที่ยอมให้ไปขายเป็นเสื้อผ้าเก่า และ 34 % กล่าวว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ากับแบรนด์ที่มีเสื้อผ้ามือสองขายพร้อมกับเสื้อผ้าใหม่

สินค้ามือสองกำลังแทนที่ Fast Fashion การซื้อเสื้อผ้าใหม่ และการผลิตที่เป็นอันตราย เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนไปเน้นความประหยัด

– ตลาดการขายต่อคาดว่าจะใหญ่กว่า Fast Fashion มากกว่า 2 เท่าในปี 2030 โดย 2 ใน 5 ของผู้ลงทุนรายย่อย ยอมรับว่า การขายต่อกำลังแทนที่ Fast Fashion

– โดยเฉลี่ย ผู้บริโภคที่เน้นความประหยัดจะซื้อของมือสองประมาณ 7 รายการในปีที่ผ่านมา ทั้งๆที่ปกติจะซื้อของใหม่ โดยหรือคิดเป็นเสื้อผ้าใหม่มากกว่า 542 ล้านรายการ

-ทศวรรษที่ผ่านมา มีเสื้อผ้า 6,650 ล้านชุดหมุนเวียนผ่านตลาดมือสอง โดยผู้บริโภคประหยัดเงินได้ 390,000 ล้านดอลลาร์จากการซื้อของมือสอง และไม่มีการปล่อย CO2 จำนวน 116,000 ล้านปอนด์ ที่ทดแทนการซื้อเสื้อผ้าใหม่

ค่านิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปตั้งแต่เกิดโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการสินค้ามือสองเพิ่มขึ้น

– ผู้บริโภค 1 ใน 3 ให้ความสำคัญกับการใส่เครื่องแต่งกายที่ยั่งยืนมากกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด

-60 % ของผู้บริโภคต่อต้านการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ขณะที่ 51 % ไม่เห็นด้วยกับการทิ้งขยะแบบทำลายสิ่งแวดล้อม

-1 ใน 2 ของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการแสวงหาคุณค่ามากขึ้น

“หลังจากการระบาดใหญ่ ตลาดขายต่อแข็งแกร่งกว่าที่เคย ผู้บริโภคกำลังรื้อตู้เสื้อผ้า แล้วหันไปซื้อของเก่า โดยทิ้งเสื้อผ้าเก่า และซื้อเสื้อผ้าใหม่” Neil Saunders กรรมการผู้จัดการ GlobalData ซึ่งดำเนินการศึกษากล่าว

บรรดาผู้ค้าปลีกต่างตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ค้าปลีกจำนวนมากจึงสนใจเรื่องการขายต่อ แนวโน้มเหล่านี้ทำให้การขายต่อเปลี่ยนแปลงรวดเร็วสำหรับตลาดเครื่องนุ่งห่มในทศวรรษหน้า 

Cr.globescan คลิกที่ภาพ

ผลวิจัยเหล่านี้มาจากข้อมูลที่เปิดเผยจากการศึกษาเรื่อง Healthy and Sustainable Living Study ประจำปี 2020 ของ GlobeScan พบว่าผู้บริโภคอยากได้สินค้าคงทน และสินค้ามือสองซึ่งช่วยลดผลกระทบที่พวกเขาทำให้เกิดขึ้นได้ แต่บรรดาแบรนด์ต่างๆ ก็จำเป็นต้องช่วยพวกเขาด้วย

Chris Coulter ซีอีโอของ GlobeScan ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญว่า

“แบรนด์ต้องทำให้ทุกอย่างง่าย และทุกคนมีกำลังซื้อหาได้ ราคาเป็นอุปสรรคที่แท้จริงสำหรับโลกในเรื่องความยั่งยืน พวกเขายังต้องทำให้ได้รับความนิยมด้วย แต่เรื่องที่น่าตื่นเต้นที่สุด คือ ผู้บริโภคที่อายุน้อยกว่า (Gen Z) มองการบริโภคต่างออกไป และเปิดรับการบริโภคที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ตามหลักการทำ Circular ด้วย”

ความต้องการของ Gen Z เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้ผู้ค้าปลีกหันมาสนใจเรื่องขายต่อและรับคืนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Patagonia เป็นผู้นำในการส่งเสริมการผลิตแบบ Circular มาเป็นเวลานาน โดยกระตุ้นให้ลูกค้าไม่ซื้อของใหม่จากร้าน

ถ้าไม่ต้องการใช้จริงๆ รวมถึงเปิดตัวโครงการ Worn Wear ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการซ่อม คืนสินค้า และการขายต่อในปี 2013

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทต่างๆ เช่น Levi’s, The North Face, Arc’teryx, REI, Eileen Fisher, COS และอื่นๆ ได้ปฏิบัติตามแผนซ่อมและขายต่อ ของตัวเอง   มีบริษัทในสหราชอาณาจักรและยุโรป เช่น Barbour, Mud Jeans, Hiut Denim และ Nudie Jeans ร่วมด้วย และเมื่อไม่นานมานี้ Rent the Runway ได้เข้าร่วมกับ thredUP ในฐานะไซต์ขายต่อที่ทำเรื่องนี้เต็มกำลัง เพิ่มการเข้าถึงสินค้า Luxury มือสองให้แก่บรรดานักสะสมซึ่งก่อนหน้านี้หายากมาก

 

ที่มา

You Might Also Like