ALTERNATIVE

สิงคโปร์สร้างสรรค์ Green Carpet หวังเป็นศูนย์กลางแหล่งเงินทุนเพื่อความยั่งยืน

28 พฤศจิกายน 2562… Monetary Authority of Singapore (MAS) แถลงถึงโครงการลงทุนสีเขียวมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (Green Investments Programme)องค์กรบริหารจัดการสินทรัพย์ในสิงคโปร์

สิ่งที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นชัดว่า พวกเขากำลังมุ่งเน้นไปที่การจัดหาเงินทุนแก่โครงการสีเขียว

หน่วยงานกำกับดูแลของสิงคโปร์กำลังออกมาตรการเชิงรุกเพื่อสนับสนุนเมืองในการส่งเสริมโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสิงคโปร์และภูมิภาค

Monetary Authority of Singapore (MAS) แถลงในช่วงการจัดงาน Singapore Fintech Festival ว่าได้จัดตั้งโครงการลงทุนสีเขียว (GIP) มูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อลงทุนในกลยุทธ์การลงทุนในตลาดทุน ด้วยการมุ่งเน้นโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

ด้วยการสนับสนุนข้างต้น MAS ใช้เวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงินในภูมิภาค Fintech สตาร์ทอัพจำนวนมากมารวมตัวกันที่ Lion City และมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 50,000 คนในเทศกาล Fintech ครั้งล่าสุด ซึ่งมีถึงวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

ด้วยเสียงสนับสนุนช่วงแรก ๆ ของการผลักดันในงาน Fintech โครงการ GIP ของ MAS จะมุ่งที่จะรักษาและเป็นแรงบันดาลใจการเติบโตของระบบนิเวศที่แข็งแกร่งและหลากหลาย ซึ่งเกิดจากความสามารถทางการเงินที่จะสนับสนุนโครงการสีเขียวในสิงคโปร์

เพื่อสร้างแรงจูงใจนี้ MAS จะให้เงินทุนกับผู้จัดการกองทุนที่มุ่งมั่นที่จะผลักดันโครงการสีเขียวในระดับภูมิภาคที่อยู่นอกสิงคโปร์ และมีส่วนร่วมในการริเริ่มสนับสนุนโครงการสีเขียวอื่น ๆ ของ MAS ด้วย ซึ่งรวมถึงการพัฒนา Green Market และการจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

ผู้จัดการที่ได้รับการคัดเลือกจะเป็นผู้ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กร ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนสีเขียวในหน้าที่ต่างๆเช่น การวิจัย การปกป้องนโยบายลงทุน และการจัดการพอร์ตโฟลิโอ การเร่งการถ่ายโอนความสามารถในท้องถิ่นและเพิ่มการจัดการกองทุนสีเขียวในสิงคโปร์

ผู้ดูแลด้านการเงินจะคอยสอดแนมผู้บริหาร ที่สามารถแสดงความสามารถในการผนวกการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับกระบวนการลงทุนของพวกเขา และนำเงินทุนไปสู่การลงทุนที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การลงทุนครั้งแรกของ MAS ภายใต้ GIP จะเป็นการสนับสนุนเงินจำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ Green Bond Investment Pool (GBIP) ของ Bank for International Settlements (BIS) และ เมื่อรวมกับธนาคารกลางอื่นๆ  ที่มีส่วนร่วม MAS หวังว่าโครงการนี้จะช่วยเร่งการเติบโตของ Green Bond Market มากยิ่งขึ้น

ยิ่งกว่านั้น เรื่อง Green financing เป็นหัวข้อหลักในการจัดอีเว้นท์ด้านสินทรัพย์ล่าสุดในสิงคโปร์ด้วย ในการประชุมสุดยอดตลาดตราสารหนี้เอเชียครั้งที่ 14 ผู้ร่วมงานจำนวนมากกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุดในตลาดตราสารหนี้ และวิธีจัดการการเงินที่ยั่งยืน เพื่อรับมือกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความผันผวนด้านการลงทุนที่เพิ่มขึ้น

บุคคลที่มีอิทธิพลจากอุตสาหกรรม เช่น David Jenkins หัวหน้าฝ่ายการเงินที่ยั่งยืนธนาคาร และองค์กรสถาบันธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย Jeff Zhang หัวหน้าตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก CTBC Bank; และ Siong Ooi กรรมการผู้จัดการหัวหน้าตลาดตราสารหนี้ – สินเชื่อและพันธบัตรฝ่ายวาณิชธนกิจในเอเชีย MUFG; อธิบายว่ากลยุทธ์ทางการเงิน ตอนนี้มีการพัฒนาไปมากเหลือเกิน ทั้งหมดก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน

ขณะที่ Cedric Rimaud ผู้จัดการโครงการอาเซียน Climate Bonds Initiative และ Nicholas Gandolfo ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชันการเงินที่ยั่งยืนเอเชียแปซิฟิก Sustainalytics พูดถึงโอกาสที่ธนาคารและผู้ออกหลักทรัพย์จะเป็นผู้นำและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการบูรณาการ ESG และความยั่งยืนเข้าไปกับการลงทุน

ขณะเดียวกัน Jonathan Drew กรรมการผู้จัดการ Sustainable Finance ผู้ดูแล Real Assets และ Structured Finance Group ของ HSBC เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมสังคมและการกำกับดูแล (ESG) ในการกำหนดความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของพอร์ตการลงทุนขององค์กร

ตามความเห็นของ Drew เขาย้ำว่า มีความต้องการอย่างมากสำหรับข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล สำหรับการสร้างแบบจำลองการจัดการผลกระทบ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับทุกคนบนโลกในภาพรวม

ที่มา

 

You Might Also Like