TALK

ตลอดห่วงโซ่คุณค่า “ซีพี-เมจิ” ในScope 1,2 เตรียมสู่ Scope 3

23 มิถุนายน 2567… ภายใต้ Brand Purpose ของซีพี-เมจิ ‘เพิ่มคุณค่าชีวิต’ หรือ ‘Enriching Life’ในกระบวนธุรกิจต้องทำงานกับทุก Stakeholder ตั้งแต่เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้บริโภค ไปจนถึงสิ่งแวดล้อม ภายใต้ Scope1,2 และเตรียมสู่ Scope 3

สลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด กล่าวว่า ภายใต้ผลการดำเนินงาน ซีพี-เมจิ ใน 8 ประเทศคือ ไทย เมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ โดยนมทุกหยด มาจากเกษตรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทย ทั้งนี้ ซีพี-เมจิยังครองอันดับหนึ่งในตลาดนมพาสเจอร์ไรส์ในประเทศสิงคโปร์ และฮ่องกง มีมูลค่ายอดขายสุทธิอยู่ที่ประมาณ 12,200 ล้านบาท เติบโตจากปี 2565 ถึงกว่า 12% และตั้งเป้าการเติบโตปี 2567 ประมาณ 5% หรือ 12,700 ล้านบาท

 

ส่วนอัตราการบริโภคนมพาสเจอร์ไรส์ในประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 เพิ่มขึ้น 9.7% ในเชิงปริมาณ และ 11.8% ในเชิงมูลค่า เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2566 ขณะที่อัตราการเติบโตของซีพี-เมจิอยู่ที่ 17.7% ในเชิงมูลค่า ถือว่ามีอัตราการเติบโตสูงกว่าตลาด และยังมีโอกาสเติบโตไ้ด้อีกมาก เพราะข้อมูลจากองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ค. ในปี 2566 ระบุว่า อัตราการดื่มนมของประชากรไทยยังคงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 6 เท่า ขณะเดียวกันตามเป้าหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนให้คนไทยดื่มนมโคแท้ 100% เพิ่มขึ้นมากกว่า 25 ลิตรต่อคนต่อปี ภายใน ปี 2570

เบื้องหลัง ภายใต้ผลการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น ส่วนหนึ่งเป็นการทำงานอย่างหนักด้วยแนวทาง ESG ใน Scope1,2 “เพิ่มคุณค่าและสร้างการเติบโต” ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ การบริหารจัดการน้ำนมดิบและสวัสดิภาพสัตว์เป้าหมาย 100% ของฟาร์มโคนมที่ส่งนมให้ซีพี-เมจิ ต้องผ่านมาตรฐานคุณภาพระดับ Gold Standard ซีพี-เมจิสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม 6,000 แห่งทั่วประเทศ จัดการอบรมและให้ความรู้เชิงวิชาการ ผนวกกับการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรุ่นใหม่ รวมทั้งการทำ Roadmap การจัดการฟาร์ม เพื่อให้ได้น้ำนมที่มีคุณภาพและปริมาณตามมาตรฐาน ภายใต้ MOU กับทีมนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ การผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของตลาด เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรุ่นใหม่เพื่อสานต่อการทำฟาร์มโคนมให้เติบโต สร้างอาชีพที่มั่นคง โดยปัจจุบัน ซีพี-เมจิ รับซื้อน้ำนมดิบในปริมาณ 580-600 ตันต่อวัน จากเครือข่ายเกษตรกรฟาร์มโคนมดังกล่าว

ด้านสังคม: “ยกระดับคุณภาพชีวิต” ของผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์และปลอดภัย ตลอดจนดูแลผู้มีส่วนได้เสียทั้งพนักงานและชุมชนรอบรั้วโรงงานผู้บริโภคเป้าหมาย 70% ของผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน Healthier Choice Certificate และตรวจสอบย้อนกลับได้ 100% (ถึงระดับศูนย์รับน้ำนมดิบ)ตอบโจทย์ทั้งไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ชุมชนในจังหวัดสระบุรี ซีพี-เมจิ นำ CSR เข้ามาใช้ เป้าหมาย: ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบรั้วโรงงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยจัดตั้งโครงการเพื่อเด็กนักเรียนในพื้นที่สระบุรี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสองด้านหลัก ได้แก่ ด้านการศึกษา ภายใต้ชื่อ “Innovative Education” และด้านโภชนาการ ภายใต้ชื่อ “ Fit to the Height”

 

ด้านการศึกษา ซีพี-เมจิจัดทำศูนย์เรียนรู้ Robotics & Coding พร้อมมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียน ตลอดจนจัดแคมป์อบรมหุ่นยนต์ให้กับครูและนักเรียน สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษา 4.0 ของกระทรวงศึกษาธิการ

ด้านโภชนาการ ซีพี-เมจิ ใช้หลัก 3 อ. อาหาร ออกกำลัง และอารมณ์ โดยจัดแผนโภชนาการและการออกกำลังที่เหมาะสม สนับสนุนผลิตภัณฑ์นมหลากหลายเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน โดยมีการติดตามพัฒนาการ ผ่านการเก็บข้อมูลดัชนีมวลกายของนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงด้านปัจจัยสี่ สร้างโรงผลิตน้ำดื่มสะอาดได้มาตรฐาน อย. และมอบให้เป็นสาธารณประโยชน์

ในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม: “คืนลมหายใจให้สิ่งแวดล้อม” ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ สร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมภายในองค์กร การจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30%, ลดการใช้น้ำ 25%, ลดการเกิดขยะฝังกลบ 25% จากกระบวนการผลิต ซีพี-เมจิ ริเริ่มและดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้เป้าหมายของซีพีเอฟในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายในปี 2593 สอดคล้องตามมาตรฐานขององค์กร Science Based Targets initiatives (SBTi)

 

ส่วนการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ มีความเกี่ยวเนื่องกับ CSR เป้าหมาย: เพิ่มพื้นที่สีเขียว 1,000 ไร่ภายในปี 2573 ซีพี-เมจิ จัดตั้งโครงการ “ซีพี-เมจิ รักษ์ป่า รักษ์น้ำ” ภายใต้ MOU กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช วางแผนปลูกต้นไม้สองแสนต้น ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและใกล้เคียง เน้นการฟื้นฟูและรักษาผืนป่า ควบคู่กับการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 52,000 ต้น บนพื้นที่ 260 ไร่ และมีเป้าหมายในการปลูกให้ได้รวม 74,000 ต้น บนพื้นที่ 370 ไร่ในปี 2567 เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ รักษาสมดุลของระบบนิเวศ เป็นแหล่งพืชอาหารของสัตว์ป่าและคนในชุมชนโดยรอบแนวเขตพื้นที่ และช่วยบรรเทาและลดปัญหาฝุ่นละออง

อีกโครงการหนึ่ง ปี 2566 บริษัทฯ ได้ริเริ่มโครงการนำร่อง “ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น” เพื่อรณรงค์การแยกขยะพลาสติกประเภทขวดขุ่น โดยให้ผู้บริโภคนำแกลลอนนมที่ใช้แล้ว ส่งไปยังจุดรับทิ้ง เพื่อรวบรวมและนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล นำมาผลิตเป็นถังขยะ ส่งมอบให้ชุมชนและอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสระบุรี โดยบริษัทวางแผนต่อยอดโครงการนี้จากกลุ่มผู้บริโภค มาสู่กลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจกาแฟในปี 2567

“ซีพี-เมจิ ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมนมพาสเจอร์ไรส์รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมคนไทยให้ดื่มน้ำนมโคแท้ 100%

“สำหรับซีพี-เมจิ เบื้องหลังนมทุกขวด คือการสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องดื่มที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค ควบคู่ไปกับเจตนารมณ์แห่งการ “เพิ่มคุณค่าชีวิต” แก่ผู้มีส่วนในห่วงโซ่คุณค่า (Value chain)” สลิลรัตน์ สรุป

 

You Might Also Like