NEXT GEN

ตอบคำถามได้อย่างภูมิใจว่า “คุณทำอะไรช่วงทำสงครามกับไวรัส #COVID19”
 เตรียมร่วมก่อร่างสร้างใหม่ให้โลกอย่างยั่งยืน

10 เมษายน 2563… 5 บทเรียนสำหรับธุรกิจ ร่วมก่อร่างสร้างใหม่ให้โลกอย่างยั่งยืน บริษัทสามารถแปลงการจัดการที่เน้นเรื่อง Purpose ไปสู่การปฏิบัติ  ที่มีส่วนช่วยในการสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียม และมีสุขภาพดีในทุกๆด้านระหว่างที่มีการระบาดใหญ่


Mike Barry จากบริษัท A Blueprint for Better Business เห็นว่า วันแห่งการคำนวณก็มาถึงแล้ว สภาพที่เหมือนผีดิบ ตั้งแต่วิกฤติทางการเงินของปี 2551 เพิ่มประเด็นสิ่งแวดล้อม (สภาพภูมิอากาศ มลภาวะ และความหลากหลายทางชีวภาพ) สังคม (ความไม่เท่าเทียมกัน) และการเมือง (ความไม่เท่าเทียม) การเมือง (ทรัมป์, Brexit )

Globalization ซึ่งเป็นจุดแข็งยิ่งใหญ่ที่สุด (การเคลื่อนไหวของเงินทุน งาน คน และการผลิต) แต่ท้ายที่สุด มันก็กลายเป็นจุดอ่อน เมื่อไวรัสแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกที่เชื่อมต่อกันมากเกินไป

วันนี้ เราต้องเผชิญกับภารกิจที่ยากมากในการปกป้องชีวิตของผู้คนหลายแสนคน สุขภาพของคนนับล้าน และการดำรงชีวิตของคนนับพันล้าน ไม่มีอะไรที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของเราจากการชนะในสงคราม แต่ขณะที่กำลังต่อสู้เราก็ควรคว้าโอกาสเช่นกัน ในการสร้างสังคมที่ใหม่กว่าเดิม ยืดหยุ่น มีสุขภาพดี มีความเท่าเทียม ที่อาศัยอยู่กับความสมดุลของธรรมชาติ

วิกฤตการเงินในปี 2551 กระตุ้นให้เกิดการช่วยเหลือครั้งใหญ่ทั่วโลก ซึ่งเปรียบเสมือนการชนะการต่อสู้อย่างรุนแรง แต่แพ้สงคราม ความอุดมสมบูรณ์ของสังคมที่ผูกติดอยู่กับระบบให้รางวัลแก่คนรุ่นเก่าจนท้ายที่สุดส่งผลทำให้โครงสร้างจากการเป็นโลกาภิวัตน์ล่มสลายลง จริง ๆ แล้ว เราไม่สามารถทำให้สภาพเช่นนั้นเกิดขึ้นได้อีก

ดังนั้น นี่คือข้อสังเกต 5 ประการเกี่ยวกับวิธีที่ธุรกิจสามารถมั่นใจได้ว่า ความพยายามในการก่อร่างสร้างใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ยั่งยืน


1 . ทำตัวให้มีประโยชน์ ในทุกสิ่งที่ทำ ตลอดเวลา

พฤติกรรมองค์กรเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ของระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีเรื่องราวที่น่าอัศจรรย์เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ขององค์กร ความเฉลียวฉลาด และพลังงานที่จะช่วยต่อสู้กับความรุ่มร้อน (จากยูนิลีเวอร์ไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ตในสหราชอาณาจักรรวมถึงองค์กรที่แสนวิเศษอย่าง Timpson) อีกด้านหนึ่ง ยังมีเรื่องราวที่น่าตกใจอย่างแท้จริงของบริษัท ที่ทิ้งพนักงานผู้ซื่อสัตย์ให้เผชิญปัญหาในขณะที่คนอื่น ๆ ใช้สามัญสำนึกและศีลธรรม เพื่อพยายามเปิดกิจการอยู่ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เราต้องการ แต่ส่วนใหญ่ทำได้อย่างไม่คล่องตัวนักระหว่างสถานการณ์สุดขั้วขณะนี้

หลังเหตุการณ์ Covid-19 เราจะไม่เห็นการเมินเฉยของระบบธนาคารเหมือนในปี 2008-2012 ขณะที่พวกเขากลับไปสู่วิถีเดิม นั่นคือการสนับสนุนผู้เสียภาษี บริษัทผู้ประสบความสำเร็จในทศวรรษหน้าจะเป็นบริษัทซึ่งมีการบริหารจัดการโดยพูดถึง Purpose และเปลี่ยนเป็นความจริง พวกเขาจ่ายภาษี ลดเงินปันผล และลดค่าจ้างผู้บริหารเมื่อพวกเขาใกล้ล้มละลาย เหนือสิ่งอื่นใด พวกเขามีประโยชน์ต่อสังคม และเกี่ยวข้องในทุกสิ่งที่ทำ รวมถึงตอบคำถามได้อย่างภูมิใจว่า “คุณทำอะไรช่วงทำสงครามกับไวรัส”


2 . กระตุ้นพลังประชาชนให้เกิดการแบ่งปันวิสัยทัศน์ร่วมกันของสังคมและโลก

กับความจริงที่ว่าความยั่งยืนทางสังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน การเล่าเรื่องที่ถูกต้อง และสมเหตุสมผลทั้งหมดใน #climatecrisis ไม่ได้ดึงดูดความสนใจและพลังที่จะออกมาทำกิจกรรมของคนส่วนใหญ่ การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสามารถชี้ให้เห็นถึงความงงงวย และการโกหกของบรรดาล็อบบี้ยิสต์ที่เน้นสนับสนุนพลังงานจากฟอสซิล แต่เราต้องสะท้อนให้เห็นว่าแนวทางของวันนี้อยู่ห่างจากชีวิตประจำวันมากเกินไป เพื่อสร้างความเต็มใจที่จะลุกขึ้นในเวลา ที่ต้องจัดการกับ Covid-19 คำว่า #justtransition ยังคงอยู่ไกลเกินขอบเขตของการถกเถียงเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศทั้งหมด พวกเขาจะต้องออกมาเป็นด่านหน้าและเป็นศูนย์กลางนำเสนอความคิดดังกล่าว

3 . นำแนวทางแบบ Systems Approach มาใช้ ทั้งเรื่องความคิดและทำจริง

เป็นช่วงเวลาที่ดี ที่จะนำบทความเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง 5 ปีล่าสุดของรัฐบาลสหราชอาณาจักรซึ่งตีพิมพ์ในปี 2017 เพื่ออธิบายถึงความเสี่ยงที่สังคมชาวสหราชอาณาจักรเผชิญอยู่ โดยมี “ไข้หวัดระบาดใหญ่” จัดเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุด และเป็นโรคที่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสังคมและเศรษฐกิจมากที่สุด เอกสารที่คล้ายกันนี้จะถูกผลิตขึ้นทั่วโลกโดยองค์กรอื่น ๆ บุคคลและองค์กรจำนวนมากจะใช้การวิเคราะห์นี้เพื่อพัฒนาแผนการตอบสนองอย่างละเอียด แต่ความรู้สึกท่วมท้นในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมานั้นเกิดจากผู้นำรู้สึกประหลาดใจกับเหตุการณ์ต่าง ๆ และรีบเร่งที่จะตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

ดูเหมือนว่า ปัจจุบันการเชื่อมต่อระหว่างการประเมินความเสี่ยงอย่างมีกลยุทธ์ และการพัฒนาแผนเผชิญเหตุซึ่งเกี่ยวกับการจัดหาทรัพยากรและการปฏิบัติอย่างละเอียดกำลังมีปัญหา ทั้งสองเรื่องจำเป็นต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน อย่างน้อยที่สุดก็สำหรับระบบอาหารโลก ซึ่งกำลังเผชิญกับโรคระบาดสายพันธุ์ใหม่เนื่องจากต้องเลี้ยงผู้คนมากขึ้น เมื่อเผชิญกับปัญหาสภาพอากาศที่รุนแรงกว่าเดิม มีรายงานการระบาดมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การรับมืออย่างได้ผลยังไม่สมดุล เมื่อระบบอาหารต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ Covid-19 ระบาดไปทั่วโลก เราจะรู้ว่า จริงๆหรือว่า เราควรทำอย่างไร

4 . ทำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เหมาะสำหรับทุกคน

เราต้องคว้าโอกาสเกิดขึ้น ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า ทศวรรษที่ผ่านมา เราต้องขอบคุณแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ล้ำสมัยมากมาย ที่ทำให้สามารถติดต่อกันได้ โดยเอาชนะความแปลกแยก การมีปฏิสัมพันธ์ และทำงานได้อย่างชาญฉลาด

นั่นคือสิ่งที่ดีของตลาด และเป็นสิ่งที่ควรทำต่อไป แต่โดยทั่วไปนวัตกรรมใหม่ ๆ กำลังผุดขึ้นมาทีเล็กทีละน้อย ดังที่ Covid-19 ได้แสดงให้เห็นก็คือ เสมือนเราเข้าสู่สงคราม เราทำเรื่องใหญ่ ๆ เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ตอนนี้มาถึงมุมมองทางการเมือง สังคม และองค์กรในภาพรวมว่า ภาคส่วนอื่นๆจะสามารถทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าได้อย่างไร  คำตอบคือ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องตัดสินใจว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเป็นของ “คนไม่กี่คน” ซึ่งเคยทำให้ระบบการรวมศูนย์ มีข้อบกพร่อง เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมกันมากมายเหมือนทุกวันนี้  หรือจะให้อำนาจกลับคืนสู่ประชาชนทุกคน ในแต่ละระดับที่แต่ละคนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการได้

5 .  พันธมิตรสำคัญเป็น 2 เท่า

ในที่สุด Covid-19 ได้แสดงให้เห็นว่าไม่มีใครเติบโตได้ด้วยตัวคนเดียว เช่นสังคม เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของมันก็จริง แต่ในเวลาที่เราต้องการความร่วมมือระดับโลกมากขึ้น บรรดานักการเมืองก็ยังเล่นบทเดิม ๆ คือ เน้นวิวาทะ พูดเพื่อหาคะแนนเข้าตัวเอง

ธุรกิจช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจที่มากขึ้นว่า มันขึ้นอยู่กับสังคมและโลกที่ศิวิไลซ์ แต่ก็ยังห่างไกลจากขนาดและจังหวะก้าวของการเป็นพันธมิตรที่จำเป็นในการสร้างโมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ที่แต่ละบริษัทสามารถทั้งชนะและแพ้ได้ ในกรณีที่สังคมและโลกรุ่งเรืองเฟื่องฟู ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับพันธมิตรตลอดเวลาไม่เพียงแต่ประเด็นเฉพาะ (เช่นการจัดหาน้ำมันปาล์ม) แม้เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น ระบบอาหารโลก (Global Food System) ก็ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

ก่อนช่วง Covid-19 เราเคยเห็นบริษัทใหม่ที่ใช้หลักการทั้ง 5 ข้อนี้นําเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ยอดเยี่ยมให้กับผู้บริโภคแต่ละคน รวมถึงดีสำหรับทุกคนในสังคมด้วยมาแล้ว แต่ก็มี StartUps บางแห่งที่ไม่สามารถก้าวผ่านช่วงเวลาสั้น ๆ นี้เช่นกัน ขณะที่ยังมีหลายแห่งทำสำเร็จ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้น เป็นแรงบันดาลใจ และชี้ให้เราทั้งหมดเห็นว่า

การปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่กำลังจะมาถึง โดยเราต้องทิ้งพฤติกรรม “ไม่ดี” ทั้งหลายออกไป พยายามอย่างเต็มกำลังในการลดจำนวนบริษัทหลายแห่งที่ยังเฉื่อยชาไม่แยแส !

ที่มา

 

 

You Might Also Like