NEXT GEN

แอปฯ Kaset Go จะกลายเป็น Ecosystem ขนาดใหญ่ของเกษตรกรไทย

30 พฤศจิกายน 2563….ดีแทค x ยารา = แพลตฟอร์ม Kaset Go มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของภาคการเกษตรของประเทศไทย ด้วยการเชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้เชี่ยวชาญเข้ากับชุมชนเกษตรกร

ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เมดิ เซนท์-อังเดร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด และรองประธานกลุ่มธุรกิจประเทศไทย และประเทศเมียร์มา กล่าวถึงความร่วมมือครั้งสำคัญ เปิดตัว Kaset Go แอปพลิเคชันบนมือถือ

ประสบการณ์ดีแทคกับเรื่องเกษตรกรรมรายย่อยเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดมานานถึง 12 ปี เพราะการทำงานอย่างแนบแน่นกับพันธมิตรชั้นนำในอุตสาหกรรมเช่น กรมส่งเสริมการเกษตร มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด รวมถึงสตาร์ทอัพด้านเกษตรกรรม ที่ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ในขณะที่ยารา ประเทศไทย ทำงานกับเกษตรกรไทยแบบที่แทบจะทุกบ้านที่จะมีสินค้าของยารา ที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรเติบโต งดงาม สร้างรายได้

ทั้ง 2 แบรนด์ได้พบว่า ภาคเกษตรกรรมมีเกษตรกรประมาณหนึ่งในสามของแรงงานในประเทศไทย แต่ส่วนแบ่งของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 8 ในปี 2562 เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านผลผลิตที่ต่ำ เนื่องจากการขาดเทคโนโลยีและความรู้ ยิ่งไปกว่านั้นเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงเกิดบ่อยขึ้น โดยคาดว่าภัยแล้งในปีนี้จะทำให้การผลิตลดลงร้อยละ 2 ตามผลการวิจัยของธนาคารกสิกรไทย

พร้อมกันนี้ ได้สัมผัสปัญหาของเกษตรมากมายไหนจะเรื่อง ราคาพืชผล สภาพอากาศ ศัตรูพืช ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าจะค้นหาข้อมูลเหล่านี้ได้ในช่องทางโซเชียล อย่างยูทูป แต่หลายครั้งก็ไม่ได้เป็นไปตามนั้น จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ก็ไม่รู้ว่าจะต้องเป็นใคร และเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด บางส่วนของปัญหาเหล่านี้กลายเป็นต้นทุนของเกษตรกร

ด้วยความแข็งแรงของทั้ง 2 แบรนด์ต่างอุตสาหกรรมแต่มีเป้าหมายเดียวกันในเรื่องช่วยให้เกิดความยั่งยืนต่อเกษตรกรไทยอย่างก้าวไกล ทำให้เกิด Kaset Go แอปพลิเคชันบนมือถือที่เชื่อมต่อเกษตรกรเข้ากับข้อมูลเชิงลึกที่เชื่อถือได้และเรียลไทม์ที่ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร แอปพลิเคชันได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้เกษตรกรไทยใช้ประโยชน์จากความรู้ด้านการเกษตรของ ยารา ประเทศไทยและเทคโนโลยีการสื่อสารจากดีแทค

ปัจจุบัน Kaset Go เปิดโอกาสให้เกษตรกรถามคำถามกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร และแบ่งปันความรู้กับเกษตรกรรายอื่นในชุมชนที่มีประสบการณ์คล้ายกัน นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญเช่น ราคาพืชผลประจำวัน ข่าวเกษตร เคล็ดลับเกี่ยวกับพืชหลัก 8 ชนิดในประเทศไทย ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดไร่ ผัก ทุเรียน มังคุด ลำไย ส้ม และมะม่วง รวมทั้งพืชอื่นๆ อีกกว่า 52 ชนิด เนื้อหามีความเหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของเกษตรกรในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และจะมีเนื้อหาเฉพาะเพื่อสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจเฉพาะทาง เช่น การให้คำแนะนำเรื่องมาตรฐานและใบรับรองทางการเกษตร การขนส่ง และการตลาด เนื้อหาในแอปพลิเคชันนี้ได้รับการสนับสนุนโดยผู้เชี่ยวชาญจากกรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด และ ยารา ประเทศไทย

ชาร์ชติ เริดสมูเอิน (H.E. Mrs. Kjersti Rødsmoen) เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ ประจำประเทศไทย (ที่สามจากขวา) ชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (ที่สี่จากขวา) ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค (ที่ห้าจากขวา) นเมดิ เซนท์-อังเดร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด และรองประธานกลุ่มธุรกิจประเทศไทย และประเทศเมียร์มา (ที่สองจากขวา) พิรชัย เบญจรงคกุล กรรมการ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสานึกรักบ้านเกิด (ที่หกจากขวา) พร้อมทีมผู้บริหารจากดีแทคและยาราประเทศไทย ร่วม
เปิดตัว Kaset Go

4 ฟีเจอร์เด่นแอป Kaset Go ที่สนับสนุนเกษตรกรไทยให้ก้าวไกล

1. คำถามและคำตอบที่ได้รับการรับรอง : ให้คำตอบที่เป็นประโยชน์ และให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรในแพลตฟอร์ม ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ของเกษตรกรในชุมชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้รับรองความถูกต้อง

2. เชื่อมต่อและแบ่งปันความรู้: ชุมชนที่เกษตรกรสามารถเชื่อมต่อกับผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่และเพื่อน
เกษตรกรได้อย่างเปิดเผย เพื่อแบ่งปันความรู้เชิงปฏิบัติจากประสบการณ์จริงของตนเอง ส่งเสริมการสร้างชุมชนตามพืชผล หัวข้อ และพื้นที่ของเกษตรกร เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นในชุมชนจะได้รับการรวบรวม และแบ่งปันกลับไปยังเกษตรกรในแพลตฟอร์ม รวมถึงประสบการณ์จริงจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้อมูลราคา

3. ข้อมูลเชิงลึกที่ตรงความต้องการ และสามารถนำไปใช้ได้ทันที: เนื่องจากข้อมูลการเกษตรมีความหลากหลาย Kaset Go จึงช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการ จัดลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดแบบเรียลไทม์ และสามารถให้ข้อมูลสำคัญกลับไปยังเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้เกษตรกรติดตามแนวโน้มการเพาะปลูกและเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้ในท้องถิ่นเพียงปลายนิ้วสัมผัส เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ดีขึ้นสำหรับการเกษตรของตน

4. บริการด้านการเกษตรแบบดิจิทัล: ฟีเจอร์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มการทำงานของแพลตฟอร์ม Kaset Go ได้แก่ เทคโนโลยีล้ำสมัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรได้ดีขึ้นตามสถานที่ เช่น ราคาพืชผล การพยากรณ์อากาศ คำเตือนสภาพอากาศ และ การแจ้งเตือนศัตรูพืช

Kaset Go ต้อนรับเกษตรกร รวมถึงชาวนาทุกประเภท ให้ได้รับองความรู้ ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งที่เป็นพืชปลอดภัย อินทรีย์ แม้กระทั่งเคมี โดยกลยุทธ์การเข้าถึง จะใช้ช่องทางออนไลน์และสื่อโซเชียล 100% นอกจากนี้ยังมีช่องทางโซเชียลของดีแทค และยารา รวมถึงภาครัฐที่ขณะนี้มีอาสาเกษตร 150,000 คนที่ร่วมทำงาน

ส่วนในปี 2564 บทบาท Kaset Go จะขยายเข้าสู่การให้บริการเช่าเครื่องจักรทำงาน เช่นรถแทรกเตอร์ หรืออื่น ๆ นอกจากนี้ยังจะมีเรื่องการให้บริการทางการเงินแก่เกษตรกร สินเชื่อ ซึ่งเครือข่ายเกษตรใน Kaset Go จะมีข้อมูล Credit Score รู้ถึงอาชีพที่ทำ แปลงเกษตรกรรม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้สถาบันการเงินเห็น Profile ได้ง่ายมากขึ้น ทำให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ Kaset Go เพิ่มช่องทาง Market Place ไว้อีกด้วย รวมถึงขยายพันธมิตกับมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยในเรื่องการแปรรูป เป็นต้น

 

You Might Also Like