NEXT GEN

จาก SETTHSI Index สู่ชื่อใหม่ SET ESG Ratings

29 ตุลาคม 2566… ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงการเปลี่ยนชื่อหุ้นยั่งยืนSETTHSI Index เป็น SET ESG Ratings

โลกเปลี่ยน นักลงทุนก็เปลี่ยน นักลงทุนมองเรื่องความยั่งยืนเป็น Risk Management นักลงทุนถามผู้บริหารบริษัทถึง ESG ผู้ถูกถามตอบว่าบริษัทอยู่ใน SETTHSI Index และอธิบายต่อเนื่องว่าคืออะไร ดังนั้นเพื่อให้เป็นคำสากลตลท.จึงเปลี่ยนเป็น SET ESG Ratings ประเดิมที่งานประกาศ SET ESG Ratings Awards 6 พ.ย.2566

กระบวนการคัดเลือกและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของการประเมิน SET ESG Ratings ยังคงใช้หลักการเดียวกันกับการประเมินหุ้นยั่งยืน THSI ทุกประการ

ความแตกต่างคือ ประกาศผลการประเมินในรูปแบบ “รายชื่อบริษัทจดทะเบียน” และ “ระดับ SET ESG Ratings” เป็นปีแรก ซึ่งต่างจากเดิมที่ประกาศผลเป็นรายชื่อบริษัทจดทะเบียนเท่านั้น SET ESG Ratings แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ BBB, A, AA, AAA

ผลการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามผลคะแนนรวมจากการประเมิน ดังนี้

ศรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนกระบวนการคัดเลือกและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของการประเมิน SET ESG Ratings ยังคงใช้หลักการเดียวกันกับการประเมินหุ้นยั่งยืน THSI ทุกประการ

ทั้งนี้ การนำ SET ESG Ratings ไปพัฒนา SETESG Index โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ นำรายชื่อบริษัทที่มีผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings มาใช้ในการจัดทำ SETESG Index โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเผยแพร่บนเว็บไซต์ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

สำหรับประโยชน์ของ SET ESG Ratings แบ่งเป็น

ประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน:

-สามารถนำแบบประเมินความยั่งยืนไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินธุรกิจให้ครอบคลุมประเด็นด้าน ESG เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงในกระบวนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-ได้รับผลคะแนนและข้อแนะนำเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางปรับปรุงการบริหารจัดการธุรกิจให้ตอบสนองต่อประเด็นด้าน ESG ที่เกี่ยวข้อง
-เปรียบเทียบผลคะแนนประเมินผลการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียนเอง และเทียบกับบริษัทจดทะเบียนอื่น
-สร้างโอกาสให้บริษัทเป็นที่สนใจจากผู้ลงทุนที่มีแนวคิดด้านการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investment) ทำให้สามารถเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น

ประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและนักวิเคราะห์:

-เป็นข้อมูลเบื้องต้นเปรียบเทียบการดำเนินงานด้าน ESG ของแต่ละบริษัท
-ใช้ประกอบการวิเคราะห์ ประเมินมูลค่าหุ้นเพื่อประกอบการลงทุน
-เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการพัฒนา Investment products (ผู้จัดการกองทุน)
-ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการติดตามและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมให้บริษัทคำนึงถึง ESG

นอกจากโลกเปลี่ยน นักลงทุนก็เปลี่ยนแล้ว Regulator ทั่วโลกก็เปลี่ยน มาตรฐานใหม่ ๆ ก็มาเช่น TCFD เป็นต้น

 

You Might Also Like