NEXT GEN

กสิกรไทย ส่ง KIV เจาะตลาด Underbanked ตอบโจทย์ Financial Inclusion

2 สิงหาคม 2566…บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด หรือ เคไอวี เป็นบริษัทโฮลดิ้งภายใต้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย เพื่อลงทุนในบริษัทร่วมกับพันธมิตร สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธนาคาร โดยบริษัทที่อยู่ในโครงสร้างของเคไอวี ประกอบด้วย 14 บริษัท มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท สร้างความมั่นใจว่าคนกลุ่มนี้จะเข้าถึงการบริการทางการเงินทั่วถึง เท่าเทียม เติมความฝันให้เป็นจริง และขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติสังคมได้หลายเป้าหมายของ SDGs

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย และพัชร สมะลาภา Group Chairman บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด ร่วมกันกล่าวถึง Game Changer ครั้งสำคัญของแวดวงทางการเงินสำหรับตลาด Underbanked ตอบโจทย์ Financial Inclusion

“ตรงนี้เป็น Financial Inclusion ในกระบวน ESG ที่ทุกคนต้องชนะไปด้วยกัน แบงก์ พาร์ทเนอร์ ลูกค้าเราก็ต้องดีด้วยกัน และเมื่อตัวเลขปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ชีวิตลูกค้าดีขึ้นตามความฝันของเขา ถือเป็นดัชนีชี้วัดโจทย์ของ Financial Inclusion เรามองไปและต้องไปถึงลูกค้าให้ได้ ถ้าเป็นสินเชื่อต้องไปสานฝันบุคคลที่เราเชื่อว่าก็อยากมีธุรกิจใหม่ ๆ ถ้าชีวิตเขาดีขึ้น เขามั่งคั่งร่ำรวยขึ้น นั่นคือความสำเร็จของเราที่เป็นชี้วัดของเรา”

ขัตตติยาขยายความต่อเนื่องว่า เควีไอสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธนาคารที่มุ่งเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้า (Empower Every Customer’s Life and Business) โดยเคไอวีจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งของธนาคารและพันธมิตร เพื่อสร้างรายได้บนความเสี่ยงที่คุ้มค่า ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

 

“ธนาคารได้ปรับรูปแบบการบริหารจัดการของเคไอวี โดยมีคุณพัชร สมะลาภา เข้าดำรงตำแหน่ง Group Chairman ของ เคไอวี และแยกเคไอวีออกมา เพื่อทำให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ขยายความร่วมมือกับพันธมิตร ภายใต้การใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของธนาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธนาคารมั่นใจว่า การปรับครั้งนี้จะเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในการให้บริการการเงินกับกลุ่มลูกค้ารายย่อย และสร้างรายได้ใหม่ให้กับธนาคาร ทำให้ธนาคารมีกำไรทางธุรกิจที่สูงกว่าธนาคารบริหารจัดการเอง รวมทั้งทำให้ธนาคารมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน”

พัชรขยายความเพิ่มเติมการดำเนินงานของเคไอวีอาศัยความเชี่ยวชาญของพันธมิตรในแต่ละด้าน รวมกับการใช้โครงสร้างและทรัพยากรของธนาคารกสิกรไทยที่มีอยู่แล้ว เช่น จำนวนลูกค้ากว่า 20 ล้านราย K PLUS เงินทุน ข้อมูล ไอที และสาขา เป็นต้น ซึ่งทำให้เคไอวีมีความเข้าใจลูกค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น สามารถให้บริการการเงินที่ครอบคลุมความต้องการของกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย เจ้าของร้านค้ารายเล็ก กลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการเงินทุนเสริมสภาพคล่อง ให้สามารถใช้บริการการเงินในระบบได้มากขึ้น

เควีไอทดลองทำธุรกิจทดลองทำธุรกิจเมื่อปีที่แล้วกำไร 81 ล้านบาท ปล่อยสินเชื่อ 3.7 หมื่นล้านบาท ยอดปล่อยสินเชื่อ 37,000 ล้านบาท มูลค่าการลงทุนรวม 21,500 ล้านบาท มี 6 บริษัท ปัจจุบันเคไอวี มีโครงสร้างการลงทุนมูลค่ารวมประมาณ 30,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 14 บริษัท

-บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด
KASIKORN LINE COMPANY LIMITED

-บริษัท กสิกร ไลน์ อินชัวร์รันส์ โบรกเกอร์ จำกัด
KASIKORN LINE INSURANCE BROKER COMPANY LIMITED

-บริษัท ทีทูพี โฮลดิ้ง จำกัด
T2P HOLDINGS COMPANY LIMITED

-บริษัท ธิงเกอร์ฟินท์ จำกัด
THINKERFINT COMPANY LIMITED

-บริษัท กสิกร คาราบาว จำกัด
KASIKORN CARABAO COMPANY LIMITED

-บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด
TD TAWANDANG COMPANY LIMITED

-บริษัท แคปเชอร์วัน จำกัด
KAPTURE ONE COMPANY LIMITED

-บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด
BUZZEBEES COMPANY LIMITED

-บริษัท กสิกร โกลบอล เพย์เมนต์ จำกัด
KASIKORN GLOBAL PAYMENT COMPANY LIMITED

-บริษัท เงินให้ใจ จำกัด
NGERN HAI JAI COMPANY LIMITED

-บริษัท คาร์ ฮีโร่ จำกัด
CAR HERO COMPANY LIMITED

-บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด
J ASSET MANAGEMENT COMPANY LIMITED

-บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด
JK ASSET MANAGEMENT COMPANY LIMITED

-บริษัท แกร็บ โฮลดิ้ง จำกัด
Grab Holdings COMPANY LIMITED

เป้าหมายของ เคไอวี คือ เพิ่มความสามารถในการให้บริการการเงินกับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ซึ่งมีโจทย์สำคัญคือ ต้องลดต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Cost) และลดต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ (Credit Cost) เพื่อให้ยังคงความสามารถในการสร้างกำไรของธุรกิจ การดำเนินงานของเคไอวีอาศัยความเชี่ยวชาญของพันธมิตรในแต่ละด้าน รวมกับการใช้โครงสร้างและทรัพยากรของธนาคารกสิกรไทยที่มีอยู่แล้ว

ถึงบรรทัดนี้ นโยบายเคไอวี เดินหน้าตามแผนที่ขัตติยาที่เคยกล่าวไว้ว่า ธนาคารกสิกรไทยให้ความสำคัญกับทุก Stakeholders ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่เข้าถึงทางการเงินยาก ดังนั้น Financial Inclusion จึงเกิดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มนี้สามารถเข้าถึงทางการเงินได้ง่ายขึ้น ป้องกันปัญหาหนี้นอกระบบ

 

You Might Also Like