NEXT GEN

45 ปี สยามคูโบต้า ปักหมุดหนุนภาคการเกษตรเป็น NET ZERO ทุกมิติ

22 มีนาคม 2566… โดยทุกกระบวนการของธุรกิจเกิดขึ้นบนแนวคิดที่ต้องการเป็นผู้นำนวัตกรรมที่มุ่งการสร้าง White Agri-World โลกเกษตรสีขาว หรือ การพัฒนานวัตกรรมเกษตรด้วยความรับผิดชอบ เล็งตั้งเป้ายอดขายปีนี้ โตขึ้น 7%

จูนจิ โอตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ วราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส พิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกันเปิดเผยยุทธศาสตร์สยามคูโบต้า 2566 ภายใต้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากภาวะโลกร้อนในขณะนี้เริ่มส่งผลกระทบรุนแรง ต่อผลผลิตอาหารทั่วโลก

“เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามร่วมแก้ไขปัญหา สยามคูโบต้าตระหนักถึงบทบาทในการสร้างความเชื่อมั่น และไว้วางใจจากลูกค้าในการเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือสังคม โดยจะดำเนินตามนโยบาย Global Major Brand หรือ GMB คูโบต้าคอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการดำเนินธุรกิจก้าวสู่ปีที่ 45 เราจะยังคงตั้งมั่นให้การสนับสนุนภาคเกษตรของไทย ในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า บริษัทคู่ค้าทางธุรกิจ ตลอดจนพนักงาน พร้อมเร่งสนับสนุนภาคเกษตรไทยให้เป็น Net Zero ในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ” จูนจิ โอตะ กล่าว

วราภรณ์ เผยถึงภาพรวมสถานการณ์ภาคการเกษตรของไทยในปี 2566 ดีขึ้นทุกด้าน เพราะในรอบปีที่ผ่านมาว่า สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยส่งผลให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกและทำการผลิตมากขึ้น อีกทั้งราคาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรสนใจซื้อเครื่องจักรฯ สำหรับเพาะปลูกและบำรุงดูแลรักษามากขึ้น

“สยามคูโบต้ากำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจ ในปี 2566 มี 5 เรื่องคือ พัฒนาสินค้าให้ครอบคลุมทุกกลุ่มพืช ขยายธุรกิจบริการด้านนวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า โดยร่วมมือกับ บริษัท เกษตรอินโน จำกัด และกลุ่ม Startup มหาวิทยาลัย ตลอดจนภาครัฐ และเอกชน มีการขยายตลาดใหม่และพัฒนาศักยภาพผู้แทนจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศรองรับการเติบโตของตลาด ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาภาคการเกษตรให้แข็งแรงและยั่งยืน สุดท้ายมุ่งพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยนโยบาย ESG และ Net Zero Emission”

วราภรณ์ ขยายความถึงองค์ความรู้จากสยามคูโบต้า จะถ่ายทอดให้กับเกษตรกรมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเรื่องการทำนาเปียกสลับแห้ง ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันชาวนาก็จะได้รับคาร์บอนเครดิตจากการทำนาแบบนี้ด้วยเช่นกัน โดยขณะนี้บริษัทได้เริ่มทดลองทำเรื่องนี้กับกลุ่มชาวนาจังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งที่จะเปิดใจรับการทดลองใหม่ ๆ เป็นต้น

พิษณุเล่าถึงความร่วมมือที่เกิดขึ้นดังกล่าว หากเป็นเรื่องโซลูชั่น เกษตรอินโนจะช่วยในเรื่องนี้ ตั้งแต่ฟาร์มดีไซน์ ฟาร์มเซอร์วิส รวมถึงฟาร์มแคร์

“ภายใต้โครงการ คูโบต้าร่วมมือ เกษตรร่วมใจ เราร่วมกับวิสาหกิจชุมชนไปแล้ว 168 กลุ่ม และเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการเกษตร และการบริหารจัดการเครื่องจักรฯ การนำไปรับจ้างเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ผ่านกิจกรรมคูโบต้าเชื่อมเครือข่ายชุมชน ในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมาเราได้เข้าไปส่งเสริมการพัฒนาสินค้าแปรรูปและช่องทางจัดจำหน่ายให้ชุมชนเกษตรต้นแบบจังหวัดเชียงราย และเตรียมขยายผลเพิ่ม 5 ชุมชนในปีนี้”

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่กลับบ้านไปทำงานเกษตรกรรมบนที่ดินของตัวเองจำนวนไม่น้อย คนเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มใหม่ที่บริษัทกำลังเจาะตลาด ซึ่งแบรนด์เกษตรกรรม จะต้องมีการบริหารจัดการให้ดีมากขึ้นทั้งองค์ความรู้และเครื่องจักร ซึ่งมีโอกาสทดลองกับสยามคูโบต้าได้

จูนจิ กล่าวในท้ายที่สุดถึงความท้าทายที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในมุมมองมีเรื่องสำคัญที่เป็นความรู้สึกที่อยู่ในใจคือ ต้องนำการบริหารจัดการน้ำในการเกษตรมาใช้ในประเทศไทยด้วย จะเป็นส่วนช่วยให้ GMB สำเร็จได้

 

You Might Also Like