NEXT GEN

เอสซีจี ปักธงธุรกิจพลังงานสะอาดครบวงจร มุ่ง B2B ทั้งในและนอกประเทศลดต้นทุนรับมือราคาพลังงานพุ่ง 

22 กุมภาพันธ์ 2566…มีการคาคการณ์ว่า ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในปี 2566 จะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปี 2565 ตามต้นทุนก๊าซธรรมชาติของไทย นอกจากนี้ การส่งออกไปยังยุโรปตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไปกฎ CBAM จะใช้กับสินค้านำเข้าที่มีคาร์บอนสูง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้  ที่กล่าวมา “พลังงานสะอาดจากโซลาร์เซลล์และชีวมวล”จาก เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จะช่วยลดต้นทุน แก้ปัญหาพลังงานและลดค่าคาร์บอนลงได้ เป็นประโยชน์ต่อลูกค้ากลุ่มนิคมอุตสาหกรรม  โรงงาน  บริษัทขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล ตั้งเป้าปีนี้โต 4 เท่า พร้อมขยายการบริการสู่เวียดนาม และอินโดนีเซียพร้อมกัน

อรรถพงศ์ สถิตมโนธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จำกัด เล่าถึงบริษัทแม้จะเพิ่งเปิดมาเพียง 2 ปีแต่ได้มีลูกค้าซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่องในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม  โรงงาน  บริษัทขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล ที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากแต่ต้องการลดต้นทุนค่าไฟ  เนื่องจากเอสซีจี คลีนเนอร์ยี่มีประสบการณ์จัดการพลังงานสะอาดเป็นพื้นฐานในการผลิตสินค้าของเอสซีจีมานาน 5 ปีเพราะประสบเหตุการณ์ต้นทุนพลังงานสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างมีนัยยะสำคัญ

“ประสบการณ์ของเอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ที่ทำงานแบบมีเครือข่าย คือทุกบริษัทในเครือเอสซีจีเป็นเครือข่ายของเรา  เราได้องค์ความรู้มากมาย และพบว่าการใช้โซลาร์เซลล์  ช่วยลดต้นทุนพลังงานได้จริง และลดลงเรื่อย ๆ แม้ว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน  ต้นทุนพลังงานจะสูงขึ้นเป็นเท่าตัวก็ตาม ด้วยความเชี่ยวชาญของเรา จึงสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจให้บริการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดครบวงจรช่วยแก้วิกฤตต้นทุนพลังงานและไฟฟ้าพุ่งสูง”

อรรถพงศ์ สถิตมโนธรรม (ขวา) และ วิสุทธ จงเจริญกิจ

อรรถพงศ์ กล่าวย้ำกลุ่มลูกค้าที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมากและต่อเนื่อง แต่ต้องการลดต้นทุนค่าไฟ  อาทิ

-กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม
-เครือข่ายโรงงานประมาณ
-โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล

ทั้งนี้ โซลาร์เซลล์  จากเอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ที่ให้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ ติดตั้งได้ 3 แบบคือ บนพื้นดิน บนหลังคา และบนผิวน้ำ ซึ่งมีความยากง่ายในการออกแบบแตกต่างกัน โดยจะต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าที่มีพื้นที่ว่างแตกต่างกันไปโดยบริษัทมี 3 จุดเด่น

– “ซื้อ-ขายไฟ Smart Grid”  คุ้มค่า  ลดต้นทุนพลังงานจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตโดยแผงโซลาร์ซึ่งติดตั้งทั้งบนพื้นดิน หลังคา ผืนน้ำ และที่ดินว่างเปล่า  โดยสามารถซื้อ-ขายไฟฟ้าได้ เมื่อผลิตเกินความต้องการใช้ ด้วยนวัตกรรมระบบเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)

– “คู่คิดครบวงจร”  อำนวยความสะดวก ด้วยทีมวิศวกรมืออาชีพที่ให้คำปรึกษาทั้งก่อน – หลังติดตั้งแผงโซลาร์ตลอดอายุสัญญา อาทิ การขออนุญาตติดตั้งแผงโซลาร์  การคำนวณต้นทุนและกำลังการผลิตที่เหมาะสม  การซ่อมบำรุง

– “ดูแลทุกขั้นตอนด้วยโรบอท”  สะดวก  รวดเร็ว  ปลอดภัย ด้วยเทคโนโลยีโดรนบินสำรวจแผงโซลาร์ที่ชำรุด (Drone Inspection) แจ้งเตือนให้ซ่อมบำรุง และ หุ่นยนต์ทำความสะอาดแผงโซลาร์ (Robot Cleaning)

ระบบเครือข่ายไฟฟ้าอัจริยะ Smart Grid ที่กลุ่มบริษัท สหยูเนี่ยน บางปะกง
บริการ Drone Inspection,Solar Robot Cleaning

ปัจจุบัน เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ มีฐานลูกค้าซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำขนาดใหญ่ทั้งในไทยและอาเซียน  อาทิ  โตโยต้า  ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย  มีกำลังการผลิตรวมกว่า 234 เมกกะวัตต์  ล่าสุดติดตั้งแล้วที่กลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน บางปะกง  ช่วยลดต้นทุนพลังงานร้อยละ 30  และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 3,700 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี   รวมถึงเครือโรงพยาบาลเปาโล พญาไท ซึ่งให้ความสำคัญต่อ Climate Change ด้วย

บริษัท ได้ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 4 เท่าภายในปี 2566  กำหนดงบฯ ลงทุน วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีกว่า 3,000 ล้านบาท  เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่รักษ์โลก

ส่วนตลาดต่างประเทศ บริษัทเลือกประเทศที่เอสซีจีมี Operation ก่อน  โดยเวียดนาม และอินโดนีเซีย มีความพร้อมมากที่สุด แต่ในกระบวนการทำงานจะต้องขึ้นอยู่กับกฏหมาย ระเบียบต่าง ๆ กับ Regulator ภาครัฐในแต่ละประเทศ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ไฟลูกค้า

นอกจากนี้ เอสซีจียังพัฒนาเม็ดพลังงานชีวมวลคุณภาพสูง จากวัสดุเหลือใช้การเกษตร  ซึ่งนับเป็นหนึ่งในพลังงานสะอาดเช่นกัน เพราะประเทศไทยมีเศษวัสดุทางการเกษตร  เช่น  ฟางข้าว  ใบอ้อย  เปลือกข้าวโพด  ประมาณ 21 ล้านตันต่อปี   หากกำจัดด้วยวิธีการเผาจะก่อให้เกิดมลภาวะทั้งหมอก  ควัน  ฝุ่นละออง PM 2.5 และภาวะโลกร้อน

Energy Pallet

วิสุทธ  จงเจริญกิจ Green Circularity Business Director เอสซีจี กล่าวถึงพลังงานสะอาดในส่วนนี้ว่า “เอสซีจีจึงนำความเชี่ยวชาญด้านพลังงานโดยใช้เทคโนโลยีการบีบอัดเศษวัสดุที่ทันสมัยให้เป็น เม็ดพลังงานชีวมวล หรือ Energy Pellet  สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน  โดยปี 2565 เอสซีจีได้เพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทดแทนเป็นร้อยละ 34 จากร้อยละ 26 ในปีก่อน”

เอสซีจีรับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกว่า 300,000 ตัน ทั้งใบอ้อย เปลือกข้าวโพด รากยางพารา ฟางข้าว แกลบ และอื่น ๆ จากพื้นที่จังหวัดรอบโรงงานปูนซีเมนต์ในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี อยุธยา ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย นครศรีธรรมราช นครราชสีมา และเร่งพัฒนาเม็ดพลังงานชีวมวลในหลายรูปแบบ ทั้งชีวมวลประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Renewable Fuel) ทั้งด้านการใช้งาน  และค่าพลังงานอื่น ๆ  เพื่อขยายเป็นธุรกิจในอนาคตด้วย

“เอสซีจีเชื่อมั่นว่า การขยายธุรกิจพลังงานสะอาด ทั้งจากการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์และพลังงานชีวมวล จะมีศักยภาพสูง  ตอบโจทย์ความคุ้มค่าและความสะดวกของลูกค้าตามเมกกะเทรนด์รักษ์โลก และแนวทาง ESG 4 Plus ที่เอสซีจีและเครือข่ายผู้ประกอบการต่าง ๆ มีส่วนร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์  สุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emission  ตามเป้าหมายประเทศและโลกด้วย”  อรรถพงศ์กล่าวในท้ายที่สุด

 

You Might Also Like