NEXT GEN

เผย 4 พลังสำคัญให้ธุรกิจสีเขียวที่ยั่งยืนในไทยมีมากขึ้น และนักลงทุนสนใจ

4 ตุลาคม 2564…นักลงทุนทั่วโลกเตรียมพร้อมมากในการลงทุนธุรกิจสีเขียว ในนโยบาย ESG และปรับกลยุทธ์การลงทุนตามสถานการณ์โลก เพื่อรักษาผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนให้ยั่งยืน

ในงานสัมมนา “BACK TO GROWTH AS WE KNOW IT?” โดย KBank Private Banking และ Lombard Odier ให้มุมมองบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกในอีกหลายไตรมาสและหลายปีต่อจากนี้ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อเข้าสู่การขยายตัวในระดับปกติ หลังจากฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ธนาคารแนะนำถึงการใช้กลยุทธ์การลงทุน

คลิกภาพเพื่อขยาย

1 ในกลยุทธ์ที่น่าสนใจคือเรื่องของการลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งธนาคารมองว่าจะเป็นผลดีในระยะยาว เพราะจากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ฉบับล่าสุด เลขาธิการสหประชาชาติได้ย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นปัญหาสำคัญสำหรับมนุษยชาติ และการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ปลายปีนี้ จะมีการหารือประเด็นนี้เพิ่มเติม

ดังนั้น บริษัทที่สามารถปรับตัวกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จะให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต เพราะ ความเสี่ยงของการไม่ปรับตัว นอกจากจะทำให้โลกร้อนขึ้นแล้ว ยังมีความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องด้วย

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย ให้ทัศนะถึงการลงทุนกับธุรกิจสีเขียวไว้อย่างน่าสนใจว่ามี 4 กลไกที่ต้องเกิดขึ้นเพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวในประเทศไทย คือ

-ภาครัฐ ซึ่งต้องกำหนดนโยบายให้ชัดเจนเข้มแข็งและเด็ดขาด ต้องมีทั้งการสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมรวมทั้งลงโทษธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

“รัฐต้องต้องสนับสนุนคนที่สร้างให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และต้องลงโทษคนที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเรื่องของภาษี การยึดใบอนุญาตรัฐบาลต้องทำ ต้องทำให้ชัดเจน เพราะตอนนี้ทุกคนรู้สึกว่า Cleaner is more expensive ซึ่งจริง ๆ ในต่างประเทศ Cleaner is cheaper ไปแล้วเพราะเขามีการลงโทษคนที่ไม่ทำตามกฏ”

-การพัฒนาเทคโนโลยี วันนี้เกิดเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจสีเขียวเดินหน้า สิ่งสำคัญคือการตามเทคโนโลยีนี้ให้ทัน  “ตอนนี้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ราคาถูกลงมากทำให้การผลิตที่สะอาดถูกลงเช่นเดียวกัน”

-ผู้บริโภค ต้องมีส่วนในการสนับสนุนธุรกิจสีเขียวเพื่อผลักดันให้ธุรกิจสีเขียวเกิดการเติบโตมากขึ้น

“ตอนนี้เราเองต้องไม่ใช่แค่ช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก แต่ต้องร่วมกันแล้วช่วยกันบริโภคสินค้าที่ผลิตจากผู้ผลิตที่รักษ์โลกด้วย อย่างใน EU ปี 2566 เขาจะห้ามนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากบริษัท หรือโรงงานที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก นี่คือการบีบรัฐจากฝั่งของผู้บริโภคที่บังคับให้ภาคธุรกิจต้องดำเนินการ”

-นักลงทุน ต้องมีส่วนสำคัญในการเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีวิธีคิดรวมถึงกระบวนการผลิตที่เป้นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“เราจะเห็นว่านักลงทุนในต่างประเทศเริ่มเอาทิศทางของการนำเงื่อนไข ESG หรือ Environment Social Governance มาจับว่าบริษัทไหนก็ตามที่ก่อมลพิษเขาลงทุนต่อไม่ได้ต้องขายหุ้นออกซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นตกลง ในขณะที่เข้าไปลงทุนกับบริษัทที่เปลี่ยนตัวเองแล้วซึ่งจะทำให้บริษัทเหล่านี้มีมูลค่าที่สูงขึ้น บ้านเราก็เช่นกัน ถ้านักลงทุนประสานเสียงกันลงทุนในกองทุนที่ Sustainability ลงทุนในบริษัทคนดี ต่อไปคนไม่ดีก็จะหายไปเอง เพราะถ้าเขาไม่ทำจะถูกเก็บภาษีหรือยึดใบอนุญาต ถ้าไม่ทำผู้บริโภคและนักลงทุนก็ไม่เอาด้วยเช่นกัน”

ที่มา คลิกที่ภาพ

นี่คือ 4 ส่วนที่มีพลังสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเดินหน้าเรื่อง Sustainability ให้เติบโตไปได้มากขึ้นในอนาคต และจะช่วยให้นักลงทุนทั่วโลกนำเม็ดเงินมาลงทุนกับบริษัทไทยได้มากขึ้นเช่นกัน

ที่มาภาพเปิดเรื่อง (คลิก)

You Might Also Like