NEXT GEN

เผย 3 บทบาทของ “แบรนด์” สนับสนุนผู้บริโภคให้ตัดสินใจเลือกอย่างยั่งยืนมากขึ้น

4 กรกฎาคม 2565…การลดอุณหภูมิน้ำในการซักผ้าหรือล้างจานสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างมาก แต่สําหรับคนที่จะลดอุณหภูมิหรือเลือกทำสิ่งที่เป็นต่อสิ่งแวดล้อม พวกเขาต้องเชื่อมั่นด้วยว่าผ้าหรือจานนั้นจะยังคงสะอาดเอี่ยม – นี่เป็นจุดที่แบรนด์สามารถมีบทบาทสําคัญในการลดคาร์บอน

ผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่มีต่อทั้งผู้คนและโลกเป็นสิ่งที่รู้สึกได้แล้ว ไม่มีเวลาให้เสียเปล่า และทุกคนต้องลงไม้ลงมืออย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจให้ความรู้สึกเหมือนเป็นความจริงที่ไม่มีใครอยากเผชิญ แต่แม้การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็สามารถทําได้ในบ้านของเรา

งานบ้าน ซึ่งในที่นี้ รวมถึงการซักผ้าล้างจานก็มีผลกระทบต่อการปล่อยมลพิษ และ P&G มีภารกิจสนับสนุนผู้บริโภคในการลดสิ่งเหล่านี้ การกําหนดเป้าหมายการปล่อยมลพิษในขอบเขตที่ 3 ต้นน้ำสําคัญเป็นอันดับแรก และบริษัทต่างๆ ต้องเข้าใจว่าองค์ประกอบต่างๆ รวมถึงส่วนผสม การผลิต และบรรจุภัณฑ์มีส่วนทําให้เกิดการปล่อย CO2 อย่างไร เมื่อใช้น้ำยาซักผ้าในบ้าน นั่นเป็นองค์ประกอบใหญ่สุดที่ทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

ที่มา คลิกภาพ

ผลศึกษาการประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (LCA) พบว่าโดยเฉลี่ยในอเมริกาเหนือและยุโรปเกือบ 70 % ของการเกิดคาร์บอนฟุตพรินท์ของกระบวนการซักล้างเกิดขึ้นที่บ้าน ปัจจัยหลักมาจากการทำน้ำให้ร้อน อัตราส่วนนี้เพิ่มเป็น 90 % สําหรับการล้างจาน

จุดนี้หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในกิจวัตรการทําความสะอาดของเรา เช่น การลดอุณหภูมิน้ำที่ใช้ซักผ้าหรือล้างจาน สร้างความแตกต่างอย่างมากในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน แต่สําหรับคนที่ไม่ชอบการหมุนปรับอุณหภูมิหรือเลือกโหมดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พวกเขาต้องเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์จะยังคงทําความสะอาดจานและเสื้อผ้าแล้วยังได้ด้วยผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม นี่คือที่ที่อุตสาหกรรมสามารถมีบทบาทสําคัญในการลดคาร์บอน เช่นเดียวกับการจัดการผลกระทบของการปล่อยมลพิษโดยตรง

บทบาทของแบรนด์ จึงอยู่ใน 3 เรื่องหลักต่อไปนี้ :

1.สร้างสรรค์นวัตกรรมสูตรลดคาร์บอน
ที่ทําความสะอาดได้ด้วยน้ำเย็น

แบรนด์เสื้อผ้าและของใช้ในบ้านชั้นนํา (เช่น P&G’s Tide, Ariel, Cascade หรือ Fairy) มีความรับผิดชอบและความสามารถในการลดการปล่อยมลพิษต้นน้ําและปลายน้ําในขอบเขตที่ 3 โดยการเลือกหรือคิดค้นส่วนผสมคาร์บอนต่ำ หรือแม้แต่คาร์บอนลบที่ไม่กระทบต่อการทําความสะอาดด้วยอุณหภูมิที่เย็นกว่า

ที่มา คลิกภาพ

ปกติน้ํายาซักผ้าจะล้างทําความสะอาดได้ดีที่อุณหภูมิ 30 °C หรือต่ำกว่า วิทยาศาสตร์ชีวภาพช่วยให้ค้นพบส่วนผสมใหม่ ๆ โดยใช้เอนไซม์เพื่อสร้างสูตรที่ทํางานได้ดีในการซักเย็น เอนไซม์ทํางานเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา – ตัวอย่างเช่นเพื่อทําความสะอาดปะการังในมหาสมุทร นักวิจัยได้พัฒนาน้ํายาทําความสะอาดธรรมชาติทรงพลัง ด้วยนวัตกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า Purezyme ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการขจัดดินเหนียวออกจากผ้าแม้ในอุณหภูมิต่ำ นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยลดการซักซ้ำๆ การใช้น้ำยามากเกินไป หรือการใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้น ผู้บริโภคมักหันไปใช้วิธีการข้างต้น เมื่อผงซักฟอกทํางานใช้ได้ไม่ดีดั่งใจ การทำให้ผู้บริโภคตระหนักในพฤติกรรมเหล่านี้เป็นจุดสําคัญในการลดการปล่อยมลพิษในครัวเรือน แต่ต้องเสริมด้วยความมั่นใจในประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่ใช้

2. สร้างความตระหนักรู้ถึงการปฏิบัติ
ให้เกิดความยั่งยืนในชีวิตประจําวัน

สําหรับแบรนด์ต่างๆ ไม่ใช่แค่การช่วยให้ผู้บริโภคยอมรับพฤติกรรม ทำให้เกิดความยั่งยืนเมื่อซักผ้าหรือทําความสะอาด แต่ต้องช่วยให้พวกเขาเข้าใจถึงประโยชน์ และให้ความมั่นใจในการทําเช่นนั้น ผู้บริโภคบางรายอาจไม่ทราบถึงผลกระทบของการใช้น้ําร้อนในกิจกรรมการทําความสะอาดต่างๆ และขึ้นอยู่กับบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ซักรีดและดูแลบ้านสร้างความตระหนัก ตัวอย่างเช่น ปริมาณน้ําที่ใช้ตอนล้างจาน เพราะผู้บริโภคอาจประหลาดใจที่รู้ว่าเครื่องล้างจานประหยัดพลังงานใช้น้ํา 4 แกลลอนต่อ 1 รอบการล้าง เมื่อเทียบกับการล้างด้วยมือ ซึ่งใช้ 4 แกลลอนทุกๆ สองนาที

ที่มา คลิกภาพ

เพื่อให้ผู้บริโภครู้ถึงข้อมูลเหล่านี้ องค์กรธุรกิจสามารถเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้มากขึ้น โดยกล่าวถึงประโยชน์ของการทําสิ่งละอันพันละน้อยในแต่ละวันอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนการซักผ้า 1 รอบ จากใช้น้ำร้อนเป็นน้ำเย็น โดยเฉลี่ย ช่วยประหยัดให้บ้านในสหรัฐอเมริกาใช้ไฟฟ้าได้นานขึ้น 1 ชั่วโมง อุณหภูมิที่ต่ำลงก็มีประโยชน์สําหรับเสื้อผ้าเช่นกัน — การปั่นผ้าที่ 20°C แทนที่การตั้งค่าแบบใช้กับผ้าฝ้ายมาตรฐานที่ 40°C ช่วยให้เสื้อผ้ามีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเดิม 4 เท่า

ในมุมมองของผู้บริโภค แบรนด์ต่างๆ ยังสามารถทําให้เรื่องนี้น่าสนใจยิ่งขึ้นได้โดยเชื่อมโยงประโยชน์ด้านความยั่งยืนเข้ากับการประหยัด — ในอเมริกา มีข้อมูลว่า การซักผ้าโดยใช้น้ำเย็นช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 60% หรือเท่ากับประหยัดถึงปีละ 150 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5,000 บาท)

3. เพิ่มคุณค่ากับบทบาทของความร่วมมือลดคาร์บอน
จากการซักผ้าและดูแลบ้าน

ความร่วมมือเป็นสิ่งสําคัญ – วิกฤตสภาพภูมิอากาศไม่สามารถแก้ไขได้โดยลําพังและ บริษัท ต่างๆจําเป็นต้องทํางานร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชั่นใหม่ ๆ ในอเมริกาเหนือ Tide ได้ร่วมมือกับกองทุนสัตว์ป่าโลก และ Hanes เพื่อช่วยสร้างความตระหนักถึงประโยชน์ในการลดการปล่อยมลพิษของการซักด้วยน้ำเย็น

ความร่วมมือยังสามารถใช้ปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยลดคาร์บอนในการซักล้าง และการทำความสะอาดบ้าน ตัวอย่างเช่น ความร่วมมือในปัจจุบันระหว่าง Tide และ Twelve (fka Opus 12) ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพระดับแนวหน้าของการขจัดคาร์บอนกําลังหาทางใช้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน และทำให้ใช้ได้จริงในสูตรผลิตภัณฑ์ Tide

เรื่องนี้ยังขยายสู่การลดการใช้พลาสติกในห่วงโซ่อุปทานด้วย โดย P&G กําลังทํางานร่วมกับพันธมิตรเช่น PABOCO (“บริษัทขวดกระดาษ”) เพื่อลดการใช้พลาสติก หาวิธีแก้ปัญหาเพื่อเก็บของเหลวด้วยบรรจุภัณฑ์กระดาษ เป้าหมายคือลดการใช้พลาสติกลง 50 % ภายในปี 2030 ขณะที่จะเพิ่มการใช้พลาสติกรีไซเคิลหลังการบริโภคในทุกบรรจุภัณฑ์ด้วย

ที่มา คลิกภาพ

การผสมผสานส่วนผสมจากธรรมชาติช่วยให้ค้นพบวัสดุทางเลือก และนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์แบบ Circular ถูกผลิตขึ้นแล้วจากวัสดุชีวภาพเช่น Ariel PODs ในกล่อง ECOCLIC® กระดาษแข็งใหม่ที่ P&G เพิ่งเปิดตัวในสหราชอาณาจักร LCA ของบรรจุภัณฑ์กระดาษแข็งใหม่นี้แสดงให้เห็นถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์พลาสติกก่อนหน้า มันทําด้วยเส้นใยรีไซเคิลมากกว่า 70 % และสามารถรีไซเคิลได้สมบูรณ์แบบ ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มลงในคอลเลกชันกระดาษที่ใช้เป็นประจำทุกสัปดาห์ในครัวเรือนได้เลย

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแบรนด์ P&G Fabric Care เช่น Tide และ Ariel จะช่วยเร่งความก้าวหน้าของ P&G ไปสู่เป้าหมายที่ทะเยอทะยาน เช่น การลดผลกระทบ CO2 ในบ้านลง 30 ล้านเมตริกตันภายในปี 2030 ณะที่คาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการซักผ้าส่วนใหญ่มาจากขั้นตอนการใช้งาน แบรนด์จึงต้องรับมือกับผลกระทบที่เหลืออีก 40 % เช่นกัน ซึ่งรวมถึงการหาวิธีขนส่งและบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม

ที่มา คลิกภาพ

ตัวอย่างเช่น การขนส่งทางไกลโดยใช้รถไฟและเรือ ช่วยลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่ง เพราะวิธีนี้ปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์น้อยกว่าการใช้รถบรรทุกถึง 75% ทั้งนี้ บรรดาแบรนด์ผลิตภัณฑ์ชำระล้างและทำความสะอาดเหล่านี้ จะเป็นแกนหลักในการมุ่งสู่เป้าหมายบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ “จากแหล่งกําเนิดสู่ชั้นวางของ” ภายในปี 2040 โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นลดลง 40% ภายในปี 2030

การบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจเป็นเส้นทางอีกยาวนาน แต่ก็คืบหน้าไปอย่างมาก เป็นเรื่องหยุดไม่ได้ในตอนนี้ ทั้งนี้ บรรดาแบรนด์ต่าง ๆ จะต้องผลิตผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และยั่งยืนยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภควางใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าที่ตั้งไว้ต่อไป

ที่มา

 

You Might Also Like