NEXT GEN

ธรรมาภิบาลในทศวรรษใหม่ : การเพิ่มขึ้นของคณะกรรมการ ESG ในห้องประชุม

5-7  มีนาคม 2564…ปัจจุบัน การกํากับดูแลด้าน ESG กลายเป็นความจําเป็นสําหรับบอร์ด และรายงานฉบับใหม่แสดงให้เห็นว่า บรรดาบริษัทต่างๆควรเปิดไฟเขียวในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรของพวกเขามีความยั่งยืน

ทั้งปัญหา COVID-19 สถาบันต่างๆที่สนใจประเด็นการเหยียดผิวมากขึ้น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) กําลังเปลี่ยนแปลงองค์กรและพลวัตของห้องประชุมอย่างรวดเร็ว คณะกรรมการและผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาลจําเป็นต้องปรับตัวเพื่อทําความเข้าใจกับความคาดหวังที่มีมากขึ้นของบอร์ด ซึ่งเป็นผลจากสังคมที่เสมือนมีบาดแผลใหญ่จากประเด็นข้างต้นตลอดศตวรรษที่ 21

ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่เกี่ยวกับการกํากับดูแล ESG และตลาดทุนหลายสิบคน แสดงถึงมุมมองของพวกเขาถึงสาเหตุและวิธีการที่คณะกรรมการควรปรับปรุงการกํากับดูแลของพวกเขาเพื่อจัดการกับการเร่งแนวโน้มด้าน ESG และความเสี่ยงที่เป็นระบบ

ประเด็นหลักที่ควรพิจารณา ประกอบด้วย

-ปัจจุบัน การมีธรรมาภิบาลด้าน ESG กลายเป็นกระแสหลักแล้ว และ Best Practices เรื่องดังกล่าวก็มีอยู่ ทำให้ทั้งบรรดาบอร์ดและที่ปรึกษาสามารถใช้สิ่งที่กล่าวข้างต้น เพื่ออัพเดทรูปแบบการกํากับดูแลของพวกเขาเพื่อสามารถเน้น ESG มากขึ้น

– มีช่วงห่างที่มีนัยสําคัญในความสามารถของคณะกรรมการ ESG ซึ่งสามารถทําได้ผ่านการสรรหากรรมการที่มีความเชี่ยวชาญ ESG และคณะกรรมการที่มีการศึกษาเรื่อง ESG เป็นประจํา

– มีแนวโน้มที่บริษัทจะเคลื่อนจากการสร้างคุณค่าแก่ผู้ถือหุ้นไปสู่การสร้างคุณค่าของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบริษัทต่างๆปรับเป้าหมายทางสังคมให้เข้ากับสิ่งที่พวกเขาทำอยู่

-COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งเรื่อง ESG และปูทางสําหรับนวัตกรรมเรื่อง Business Model และการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น

-การพัฒนากฎระเบียบด้าน ESG ทั่วโลกจะยกระดับมาตรฐานสําหรับบรรดาบริษัทที่ต้องการติดตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เพื่อลดต้นทุนของเงินทุน และสามารถแข่งขันในระดับ Global

บทบาทของคณะกรรมการ และมืออาชีพด้านการกำกับดูแล  

-เน้นพฤติกรรมเชิงรุก และไม่นิ่งเฉย

ก้าวข้ามการลดความเสี่ยงด้าน ESG เพื่อสร้างมูลค่า

-การตัดสินใจควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม

-ให้ความสำคัญเรื่องกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มการกํากับดูแล ESG

-ให้ความสำคัญกับตัวอักษร S ใน ESG — ซึ่งในจำนวนนี้ เน้นเรื่องสิทธิของชนพื้นเมือง, สิทธิมนุษยชน, สิทธิของพนักงาน, ฯลฯ.

สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้บอร์ดมั่นใจได้ว่าบริษัทของพวกเขาสามารถเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคม สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากรายงาน Purpose Governance: A New Role for Boards

ทั้งนี้ งานการกํากับดูแล ESG ตอนนี้ ได้กลายเป็นความรับผิดชอบหลักของบรรดาคณะกรรมการไปแล้ว ยิ่งกว่านั้น ขอบเขตการกํากับดูแลของคณะกรรมการ ก็ดูเหมือนจะขยายไปมากกว่าวัตถุประสงค์ของบริษัท   เหตุผลสนับสนุนนั้นมีอยู่ นั่นก็คือ ยิ่งพื้นที่การดูแล ESG ขยับขยายไปมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มพลังของบอร์ดมากขึ้นเท่านั้น รวมถึงการปลดล็อคข้อจำกัดมูลค่าของสินทรัพย์ทางธุรกิจ ทรัพยากร และแพลตฟอร์มเพื่อสิ่งที่ดีกว่า

ท้ายที่สุด ESG กําลังเปลี่ยนบทบาทจากเน้นลดความเสี่ยงไปเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างคุณค่า  เพื่ออนาคต ทั้งบริษัทและบรรดาคณะกรรมการต้องคิดว่า ESG ไม่เพียงแต่เป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจ แต่เป็นแหล่งทรัพยากรที่เพิ่มมูลค่าได้ในอนาคตด้วย บริษัทต่างๆจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์เชิงบวก ทั้งกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกที่มีต่อการเจริญเติบโตของสังคมในอนาคต

 

ที่มา

You Might Also Like